วันรพี 7 สิงหาคม พระบิดาแห่งกฎหมายไทย

วันรพี ตรงกับวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ คือ พระบิดาแห่งกฎหมายไทย[divide icon=”circle” width=”medium”]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ทรงมีพระนามเดิมว่าพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 14 ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งประสูติแต่เจ้าจอมมารดาตลับ ประสูติ ณ วันพุธ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 11 ปีจอ จุลศักราช 1236 ตรงกับวาระทางสุริยคติ 21 ตุลาคม พุทธศักราช 2417 พระองค์ทรงเป็นต้นราชสกุล รพีพัฒน์

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#AA7F4C” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]การศึกษา[/quote]
วันรพี-บิดาแห่งกฎหมายไทย
จากซ้าย: พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ (กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์), พระองค์เจ้าประวิตรวัฒโนดม (กรมหลวงปราจิณกิติบดี), พระองค์เจ้ากิติยากรวรลักษณ์ (กรมพระจันทบุรีนฤนาถ), พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช (กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช)

พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยเป็นครั้งแรกในสำนักพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เมื่อได้ทรงผ่านการศึกษาภาษาไทยเป็นเบื้องต้นแล้ว ทรงเข้าศึกษาภาษาอังกฤษชั้นต้นในสำนักครูรามสามิ และในพุทธศักราช 2426 ทรงเข้าศึกษาภาษาไทยอยู่ในสำนักพระยา โอวาทวรกิจ(แก่น) เปรียญ ต่อมาในปีพุทธศักราช 2427 ทรงเข้าศึกษาในโครงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โดยมีเจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เป็นครูสอน หลังจากนั้นทรงเข้าศึกษาชั้นมัธยมในกรุงลอนดอนเป็นเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมพระองค์ศึกษาวิชาการฝ่ายพลเรือนพระองค์ทรงเลือกเรียนวิชากฎหมาย เนื่องจากเนื่องจากช่วงเวลานั้น เมืองไทยมีศาลกงสุลฝรั่ง ชาวยุโรปและอเมริกันมีอำนาจในประเทศไทยอย่างมาก ซึ่งยากแก่การปกครอง จึงมีพระทัยตั้งมั่นที่จะพยายามขอยกเลิกอำนาจศาลกงสุลต่าง ๆ ที่มาตั้งพิจารณาพิพากษาคดีชนชาติของตนเสีย เพื่อที่ประเทศไทยของเราจะได้มีเอกราชทางการศาลอย่างแท้จริง เพื่อจะได้กลับมาพัฒนากฎหมายของบ้านเมือง กับพัฒนาผู้พิพากษาและราชการศาลยุติธรรมให้ดีขึ้นเพื่อต่างชาติจะได้ยอมรับนับถือ และยอมอยู่ใต้อำนาจของศาลไทย

 

พระองค์ทรงมีพระสติปัญญาเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ในต้นปี 2434 พระองค์ทรงสามารถสอบผ่านเข้าเรียนวิชากฎหมายที่วิทยาลัยไครส์เชิร์ช มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด (Christchurch College Oxford University) เมื่อพระชันษาได้ 17 พรรษา คราวแรกมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับเข้าศึกษาอ้างระเบียบว่าพระองค์จะศึกษาได้ต้องมีพระชันษา 18 พรรษา พระองค์จึงต้องเสด็จไปขอความกรุณาโดยพระองค์ทรงดำรัสว่า “คนไทยนั้นเกิดง่ายตายเร็ว” ทางมหาวิทยาลัยจึงยอมผ่อนผันโดยให้ทรงสอบไล่อีกครั้งหนึ่ง พระองค์ก็ทรงสอบได้อีก และด้วยความที่พระองค์ทรงพระอุตสาหะเอาพระทัยใส่เป็นอย่างมาก ทรงสอบไล่ผ่านทุกวิชา ได้รับปริญญาเกียรตินิยมทางกฎหมาย Bachelor of Arts.Hons (B.A. (Oxon)) ภายในเวลา 3 ปี เมื่อพระชันษาได้เพียง 20 พรรษา เป็นที่พอพระราชหฤทัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงยิ่งนักถึงกับทรงเรียกพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ว่า “เฉลียวฉลาดรพี”

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#AA7F4C” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]ตำแหน่งงานราชการ[/quote]

หลังจากสำเร็จการศึกษาดังกล่าวแล้ว พระองค์ก็ทรงตั้งพระทัยว่า จะทรงเรียนเนติบัณฑิตอังกฤษ (Barrister at law) ที่กรุงลอนดอน แล้วจะเสด็จไปศึกษาต่อที่ประเทศเยอรมนี แต่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จกลับมารับราชการที่ประเทศไทยก่อน

  • ปี 2437 พระองค์ก็ทรงเป็นอธิบดีผู้จัดการโรงเรียนมหาดเล็กหลวงเพื่อสอนความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้เข้ารับราชการพลเรือนในกระทรวงต่าง ๆ และต่อมาพระองค์ทรงสมัครรับราชการทางฝ่ายตุลาการ แล้วทรงฝึกหัดราชการในกรมราชเลขานุการ และทรงศึกษากฎหมายไทยอย่างจริงจัง พระองค์สามารถทำงานในกรมราชเลขานุการได้ทุกตำแหน่ง โดยเฉพาะการร่างพระราชหัตถเลขา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์เป็นองคมนตรีในปีเดียวกันนั้น
  • ปี 2439 รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระองค์เป็นสภานายกพิเศษจัดการตั้งศาลในมณฑลอยุธยา พระองค์ทรงทำการในหน้าที่ด้วยพระปรีชาสามารถ เป็นที่นิยมยินดีของหมู่ชนในมณฑลนั้น
  • ปี 2440 รัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เป็นประธานพร้อมด้วยกรรมการไทยและฝรั่ง ช่วยกันตรวจชำระพระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่และปรึกษาลักษณะการที่จะจัดระเบียบแล้วเรียบเรียงกฎหมายขึ้นใหม่เพื่อเป็นบรรทัดฐาน และในปีเดียวกันนั้นก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม และคงอยู่ในตำแหน่งสภานายกพิเศษจัดการศาลตามเดิมด้วย
    วันรพี-บิดาแห่งกฎหมายไทยในการปรับปรุงกฎหมาย เบื้องต้นมีการนำกฎหมายอังกฤษมาใช้ โดยใช้กฎหมายวิธีสบัญญัติก่อน ทีแรกมีข้อถกเถียงกันว่าจะใช้ระบบกฎหมายแบบอังกฤษ หรือจะใช้ระบบกฎหมายซีวิลลอว์ แบบประเทศยุโรปแล้วรัชกาลที่ 5 ก็ทรงตัดสินพระทัยปฏิรูประบบกฎหมายไทยให้เป็นไปตามแบบประเทศภาคพื้นยุโรป คือ ใช้ระบบ “ประมวลธรรม” แต่อย่างไรก็ดี ก็ยังนำแนวคิดหลักกฎหมายอังกฤษบางเรื่องมาใช้ด้วยประมวลกฎหมายของไทยฉบับแรก คือ ประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 ใช้เวลาร่างทั้งสิ้น 11 ปี โดยสำเร็จลงในปี 2451 พระองค์เจ้ารพีฯ ท่านทรงช่วยแปลต้นร่างที่เขียนเป็นภาษาฝรั่งเศสและอังกฤษมาเป็นภาษาไทย ส่วนประมวลกฎหมายฉบับต่อ ๆ มา ไม่ว่าจะเป็นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง วิธีพิจารณาความอาญา และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพต่าง ๆ พระองค์ท่านก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการยกร่างด้วยในปีเดียวกันนี้ พระองค์เจ้ารพีฯ มีพระดำริว่า “การที่จะยังราชการศาลยุติธรรมให้เป็นไปด้วยดีนั้น มีความจำเป็นที่จะต้องจัดให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นกว่าแต่ก่อนโดยการเปิดให้มีการสอนกฎหมายขึ้นเป็นที่แพร่หลาย” จึงทรงสถาปนาโรงเรียนสอนกฎหมายขึ้น สังกัดกระทรวงยุติธรรม เพื่อให้โอกาสแก่ประชาชนทั้งหลายมีโอกาสรับการศึกษากฎหมาย และพระองค์ทรงแนะนำสั่งสอนด้วยพระองค์เองด้วยและปลายปี 2440 พระองค์ทรงเปิดให้มีการสอบไล่เนติบัณฑิต โดยใช้ศาลาการเปรียญใหญ่ วัดมหาธาตุ เป็นสถานที่สอบ ใช้เวลาสอบทั้งสิ้น 6 วัน วันละ 4 ชั่วโมง ให้คะแนนเป็นเกรด ผู้สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตรุ่นแรกมีทั้งสิ้น 9 คน ผู้สอบได้ลำดับที่ 1 ในครั้งนั้น คือ เจ้าพระยามหิธร (ลออ ไกรฤกษ์) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นเนติบัณฑิตไทยคนแรก
  • ปี 2441 พระองค์เจ้ารพีฯ ทรงเป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกาในคณะกรรมการ มีชื่อว่า “ศาลกรรมการฎีกา” ทำหน้าที่เป็นศาลสูงสุดของประเทศ แต่ไม่สังกัดกระทรวงยุติธรรม และต่อมาได้กลายมาเป็นศาลฎีกาในปัจจุบัน
  • ปี 2442 ได้รับพระราชทานพระสุพรรณบัฏเป็น “กรมหมื่นราชบุรีดิเรกฤทธิ์”
  • ปี 2443 ทรงดำริจัดตั้งกองพิมพ์ลายมือขึ้น ทรงสอนวิธีตรวจเส้นลายมือ และวิธีเก็บพิมพ์ลายมือ สำหรับตรวจพิมพ์ผู้ต้องหาในคดีอาญา เพื่อใช้เป็นหลักฐานเพิ่มโทษผู้กระทำความผิดหลายครั้ง
  • ปี 2453 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นองคมนตรี
  • ปี 2455 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ และในปีเดียวกัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นกรมหลวง มีพระนามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า “พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์คชนาม”
  • ปี 2462 พระองค์เจ้ารพีฯ ทรงประชวรด้วยพระวัณโรค ที่พระวักกะ (ไต) และได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาพักราชการรักษาพระองค์ และได้เสด็จไปรักษาพระองค์ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส แพทย์ได้จัดการรักษาและถวายพระโอสถ อย่างเต็มความสามารถ แต่พระอาการหาทุเลาลงไม่

จนกระทั่งวันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม 2463 พระเจ้าพี่ยาเธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็สิ้นพระชนม์ สิริพระชนมายุ 47 พรรษา

  • เริ่มรับราชการในสำนักราชเลขานุการ และได้รับแต่งตั้งให้เป็นองคมนตรี
  • เป็นสภานายกในกองข้าหลวงพิเศษ เพื่อจัดการแก้ไขธรรมเนียมศาลยุติธรรมหัวเมืองทั้งปวง และสะสางคดีความทั่วราชอาณาจักร
  • เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม
  • เป็นประธานกรรมการตรวจชำระกฎหมาย
  • เป็นกรรมการตรวจตัดสินความฎีกา
  • เป็นกรรมการตรวจตำแหน่งพนักงานในรัฐบาล
  • เป็นกรรมการตรวจร่างกฎหมายลักษณะอาญา
  • เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ

วันรพี-บิดาแห่งกฎหมายไทย

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#AA7F4C” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]พระสมัญญา “พระบิดาแห่งกฎหมายไทย”[/quote]

สมัยพระองค์เป็นเสนาบดีกระทรวงยุติธรรม พระองค์ทรงทุ่มเทให้กับงานราชการอย่างเต็มความสามารถ มิได้ทรงเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย พระยามานวราชเสวีจึงทูลว่า “ไม่เคยเห็นใครทำงานมากอย่างใต่ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าพระบาทมีพระประสงค์อย่างไร” ทรงตอบว่า “รู้ไหมว่า My life is service” ซึ่งหมายความว่า ชีวิตของฉันเกิดมา เพื่อรับใช้ประเทศชาติ และยังทรงเป็นผู้ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริตอย่างยิ่งยวดทรงถือว่าความซื่อสัตย์สุจริต เป็นสิ่งสำคัญสำหรับชีวิตมนุษย์ โดยเฉพาะสำหรับนักกฎหมาย และทรงจัดตั้งโรงเรียนกฎหมายและทรงเป็นผู้สอนวิชากฎหมายด้วยพระองค์เอง เพื่อที่จะให้มีผู้รู้กฎหมายมากขึ้นทรงจัดวางระเบียบศาลยุติธรรมสู่ระบบใหม่ทรงรวบรวมกฎหมาย และคำพิพากษา ฎีกาพร้อมแต่งตำราอธิบายกฎหมายต่าง ๆ มากมายการค้นคว้ารวบรวมและพระนิพนธ์ได้เป็นรากฐานก่อตั้งการศึกษานิติศาสตร์ขึ้นในประเทศไทย

ด้วยคุณาณุปการอันล้นพ้นดังกล่าวข้างต้น เนติบัณฑิตยสภาจึงได้ถวายการยกย่องพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เป็น”พระบิดาแห่งกฎหมายไทย” เมื่อปี ๒๔๙๗ ทั้งเริ่มต้นเรียก วันที่ 7 สิงหาคมของทุกปี เป็น “วันรพี” เพื่อเป็นการน้อมรำลึกถึงวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์

[quote font_size=”18″ color=”#ffdf42″ bgcolor=”#AA7F4C” bcolor=”#ffdf42″ arrow=”yes”]กิจกรรมต่าง ๆ ในวันรพี[/quote]
  1. พิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์
  2. กิจกรรมการแข่งขันตอบปัญหากฎหมาย
  3. กิจกรรมทำบุญตักบาตร
  4. การแข่งขันกีฬา
  5. การจัดแสดงศาลจำลอง

 


  • กระปุกดอทคอม.  (ม.ป.ป.).  วันรพี ประวัติวันรพี 7 ส.ค. วันรำลึกพระบิดาแห่งกฎหมายไทย.  เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/39880
  • วันที่ ๗ สิงหาคม วันรพี.  (ม.ป.ป.).  เข้าถึงได้จาก https://www.coj.go.th/day/rapee/rapee.html
  • ศาลยุติธรรม.  (ม.ป.ป.).  วันที่ ๗ สิงหาคม วันรพี.  เข้าถึงได้จาก https://www.coj.go.th/day/rapee/rapee.html

วันรพี Rapee day

อื่นๆ เกี่ยวกับกระบวนการยุติธรรม

วันสำคัญ