การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร

 

1ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2560). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 171-183.    การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร  Using the Code of Line Stickers for Communication

เจ้าของผลงาน       :  รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร

บทคัดย่อ                :  บทความนี้มีจุดประสงค์ เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษา เรื่องการใช้รหัสต่าง ๆ ที่ปรากฏในตัวคาแรกเตอร์ ของสติกเกอร์ไลน์สำ หรับใช้ในการสื่อสารโดยทำการรวบรวมข้อมูลสติกเกอร์ไลน์ในกลุ่ม Creator Market อันดับขายดี (TOP 5) โดย LINE Official Website ประเทศไทยระหว่างเดือนกรกฎาคม – ธันวาคม 2558 – 2559 เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลในการวิเคราะห์ตามกรอบแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งได้จำ นวนทั้งหมด 14 แบบ รวม 544 ตัว จากผลของการศึกษาพบว่าสติกเกอร์ไลน์แต่ละตัวถูกสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบของการ์ตูน ซึ่งใช้รหัสการ์ตูน ในการสร้างสรรค์ และรหัสการ์ตูนนั้นจะมีรหัสแยกย่อยอีก 2 รหัสคือ รหัสนำ เสนอ และ รหัสภาพแทน ซึ่งแต่ละรหัสจะมีรหัสแยกย่อยลงไปอีก อาทิ รหัสของการแสดงสีหน้า รหัสของการแสดงท่าทาง รหัสเสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย รหัสของมุกตลก รหัสภาษา รหัสเชิงสังคม และสัญญะอันเป็นส่วนหลักในการจัดการกับเครื่องหมายต่าง ๆ ให้เกิดความหมายจนส่งก่อให้เกิดความเข้าใจในการสื่อสารผ่านไลน์ทั้งทั้งความหมายตรง ความหมายแฝง ทั้งนี้ผู้ใช้จะต้องเข้าใจในการเข้ารหัสและถอดรหัสจากรหัสแบบเดียวกัน ความหมายจึงจะเกิดขึ้นและไม่หนีไปจากที่ควรจะเป็น และความหมายของสติกเกอร์ไลน์แต่ละตัวสามารถผันแปรไปตามบริบทของเรื่องที่เกิดขึ้นระหว่างการสนทนาของส่วนบุคคลส่วนท้ายผู้วิจัยได้นำ เรื่องวัจนกรรมเข้ามาผูกโยงกับสติกเกอร์ไลน์เพราะข้อความที่ปรากฏพร้อมคาแรกเตอร์เป็นส่วนสำคัญที่ทำ ให้ความหมายเกิด แต่ข้อความเหล่านี้ได้แฝงวัตถุประสงค์ เจตนา หรือวัตถุประสงค์จากฝั่งผู้ส่งที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นข้อความที่แฝงเจตนาให้ผู้รับกระทำตาม หรือแฝงการขอร้อง รวมถึงการแฝงคำสั่งที่แทรกอยู่ในรหัสภาษาเหล่านั้น

คำสำคัญ                :  รหัส, สติกเกอร์ไลน์, การสื่อสาร

Abstract              :  This article aims to study the code that present in the Line Stickers for communication. Line Stickers were collected by Top 5 Creator Market by Link Official Website from July, 2015 – December, 2016 there are 14 sets and 544 characters. From the study, Line Stickers were presented in cartoon form which using cartoon code to create which compose of two code which are presentational code and representational code—these two sub codes were separated into other codes such as facial code, body language code, clothing code, humorous code, language code, social code and signs which are the main component to conduct the meaning including connotation and denotation. Therefore, the user must have the same encoding and decoding to interpret the same meaning. Also, the meaning of each Line Stickers can be flexible depends on the context . Finally, Speech Acts is related to the Line Stickers because both text and character is main component to conduct the meaning that hidden the purpose and intention such as message that hidden the purpose to expect the receiver to follow, or hidden some requests and including the order that hidden in the text.

Keywords           :  Code, Line Sticker, Communication

Download PDF :  การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร


Publication        :   วารสารนิเทศสยามปริทัศน์ ปีที่ 16 ฉบับที่ 21 ปี 2560   Siam Communication Review Vol.16 N21 2017

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/siam-communication-review-vol16-no21-2017/

Bibliography     : ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2560). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 171-183.


คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

ผลงานวิชาการอื่นๆ  :    รศ.ดร.ศิริชัย  ศิริกายะ

ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2561). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์เพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 17(22), 97-105.

ศิริชัย ศิริกายะ และ กฤษณ์ ทองเลิศ. (2560). ทวิลักษณ์ในงานภาพกับลายลักษณ์อักษร ที่ซึ่งจินตนาการและสุนทรียภาพอุบัติพร้อม. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 7-10.

ศิริชัย ศิริกายะ และ สมเกียรติ ศรีเพชร. (2560). การใช้รหัสของสติ๊กเกอร์ไลน์ในการสื่อสาร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 171-183.

ศิริชัย  ศิริกายะ และ ลัทธสิทธิ์ ทวีสุข. (2560). การสื่อสารด้วยลายเส้นเพื่อบ่งบอกถึงลักษณะดีหรือร้ายของตัวการ์ตูนเฉพาะเรื่องที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 23-34.

ศิริชัย  ศิริกายะ, สุธี พลพงษ์ และ เจตน์จันทร์ เกิดสุข. (2560). จังหวะของการสื่อสารในรายการโทรทัศน์ประเภทเรียลลิตีเกมส์โชว์ที่คัดสรร. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 16(20), 57-65.

ศิริชัย ศิริกายะ. (2559). ทฤษฎีควอนตัมฟิสิกส์กับการควบรวมและการแปลงรูปองค์ประกอบการสื่อสารในยุคดิจิทัล. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 15(19), 7-9.


วารสารนิเทศสยามปริทัศน์  Siam Communication Review 

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
เลขที่ 38 ถนนเพชรเกษม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
โทร.0-2867-8088, 0-2868-6000 ต่อ 5409
แฟกซ์ 0-2457-3982, 0-2467-3174
E-mail: siam.communication.review@gmail.com