ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล

 

Title              :  ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล : Effect of Solvent Polarity on Antioxidant Capacity of Extracts from Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi Leaves

Researcher       :  พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์
Pornchai Premkaisorn and Wanpen Wasupongpun

Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  pornpre2001@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   สมุนไพรเป็นจํานวนมากถูกนํามาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อการป้องกันโรคต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประเมินฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชโดยวิธี DPPH (2,2-Diphenyl-1-picryhydrazyl radical) radical scavenging และประเมินปริมาณสารหมู่ฟีนอลโดยวิธี FCR (Folin-Ciocalteu reagent) สารตัวอย่างถูกสกัดด้วยการใช้ระบบตัวทําละลายต่างกัน 6 ชนิด ได้แก่ น้ำ, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone และ 80%(v/v) MeOH เพื่อสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากใบพืชสมุนไพรอบแห้งจํานวน 3 ชนิด ได้แก่ ดันหมี (Gonocaryum lobbianum) กำจาย (Caesalpinia decapetala) และพิกุล (Mimusops elengi) พบว่าความแรงของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของตัวทําลายในสารสกัดดันหมีเรียงลําดับได้ ดังนี้ 50%(v/v) acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ น้ำ > acetone > EtOAc ส่วนสารสกัดของกำจาย คือ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > น้ำ และพิกุล เท่ากับ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ น้ํา ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05) ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารสารหมู่ฟีนอลของสารสกัดจากจากดันหมี (r = -0.78, p > 0.1) กําจาย (r = -0.74, p > 0.1) และพิกุล (r = -0.72, p > 0.1) มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง งานวิจัยนี้เสนอว่าในระบบตัวทําละลายผสมโดยเฉพาะเมื่อมีน้้ำป็นตัวทําละลายร่วม ได้แก่ 80%(v/v) MeOH หรือ 50%(v/v) acetone มีแนวโน้มที่จะสกัดสารออกฤทธิ์ในพืช 3 ชนิดนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบตัวทำละลายเพียงชนิดเดียว

คําสําคัญ             :  สมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระ ความมีขั้ว การสกัดด้วยตัวทำละลาย

Abstract            :  Several herbs have been used as an antioxidant for prevention of certain diseases. This work aim to evaluate antioxidant activity of plants by using DPPH radical scavenging method and the phenolic content was evaluated by Folin-Ciocalteu reagent. Three selected samples, Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi dried leaves, were extracted antioxidant compounds by six solvent systems: water, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone and 80%(v/v) MeOH. The results showed that the highest antioxidant activity of Gonocaryum lobbianum follows as: 50% acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ water > acetone > EtOAc. Caesalpinia decapetala gave the lowering order of one by 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > water. Recession for last one of Mimusops elengi was 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ water ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05). The antioxidant activity and phenolic content for Gonocaryum lobbianum (r = -0.78, p > 0.1), Caesalpinia decapetala (r = -0.74, p > 0.1), and Mimusops elengi (r = -0.72, p > 0.1) have had moderate correlation. The study showed that the binary solvent system with a portion of water was added, e.g. 80%(v/v) MeOH or 50%(v/v) acetone, of three herbs, it could be considered superior to a mono-solvent system.

Keywords        :    herb, antioxidant, polarity, solvent extraction


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์. (2560). ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 576-581). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 14 ชั้น 1 ห้อง 14-106
38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
Tel : 02-867-8026, 02-867-8026 ต่อ 5182
Fax : 02-867-8026

Website  : http://science.siam.edu/