PM2.5: ผลกระทบต่อสุขภาพและกลไกการเกิดพิษ (2562)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภก.วงศกร สุเชาว์อินทร์

บทคัดย่อ:

มลภาวะทางอากาศซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพประชาชนชาวไทยเป็นอย่างมากในขณะนี้คือ PM2.5 หรือฝุ่นละอองขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 2.5 ไมครอน อันเกิดจากการเผาในที่โล่ง โรงงานอุตสาหกรรม การขนส่ง รวมถึงจากที่พักอาศัย โดย PM2.5 มีกลไกที่สำคัญในการเกิดพิษคือก่อให้เกิดภาวะเครียดออกซิเดชันและกระตุ้นกระบวนการอักเสบของร่างกาย ปัจจุบันมีงานวิจัยหลายฉบับซึ่งแสดงถึงผลกระทบของ PM2.5 ในบรรยากาศต่อสุขภาพของมนุษย์ โดยฝุ่นละอองขนาดเล็กนี้มีผลเสียต่อระบบทางเดินหายใจเป็นหลัก รวมถึงระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาทส่วนกลางและเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอดได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลกระทบของ PM2.5 ต่อสุขภาพมนุษย์ในด้านอื่นๆ ในอนาคต เพื่อให้เข้าใจและหลีกเลี่ยงมลภาวะดังกล่าวได้อย่างถูกต้องต่อไป

คำสำคัญ: พีเอ็ม2.5 ฝุ่นพิษ มลภาวะทางอากาศ มะเร็งปอด ภาวะเครียดออกซิเดชัน

Link to Academic article: PM2.5: ผลกระทบต่อสุขภาพและกลไกการเกิดพิษ

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2559

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 19  ชั้น 9
เลขที่  38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหาคร 10160
โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5331, 5401,5416 โทรสาร 0-2868-6665
เว็บไซต์คณะ : https://pharmacy.siam.edu