อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาต้านโรคจิต

บทคัดย่อ

ยาต้านโรคจิตจัดเป็นยามาตรฐานสำหรับการรักษาโรคจิตเภท และความผิดปกติทางอารมย์หลายชนิด เช่น โรคอารมย์สองขั้ว โรคเศร้า หรือโรควิตกกังวล ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ เนื่องจากมีพฤติกรรมเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ อ้วน รวมถึงการได้รับยาต้านโรคจิตหลายชนิดก็อาจมีผลทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า หัวใจเต้นเร็ว รวมถึงอาการไม่พึงประสงค์ด้านเมตาบอลิก และภาวะหัวใจผิดจังหวะจากการเกิด QTc interval prolongation โดยยาต้านโรคจิตแต่ละชนิดจะมีความเสี่ยงในการทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางเภสัชพลศาสตร์ของยาต่อตัวรับชนิดต่างๆ ในร่างกาย สำหรับการเกิดความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า และภาวะหัวใจเต้นเร็ว จะพบได้บ่อยจากการใช้ยาต้านโรคจิตรุ่นเก่า…

KEYWORDS: ยาต้านโรคจิต, อาการไม่พึงประสงค์, ระบบหัวใจและหลอดเลือด, ความดันโลหิตต่ำขณะเปลี่ยนท่า, หัวใจเต้นเร็ว,  อาการด้านเมตาบอลิก, weight gain, QTc interval prolongation, myocarditis, cardiomyopathy


งานที่อ้างถึง

ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ และ ถนอมพงษ์ เสถียรลัคนา. (2557). อาการไม่พึงประสงค์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดของยาต้านโรคจิต. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล, 24(1), 48-62.

Cardiovascular Adverse Effects of Antipsychotic Drugs

 วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล ปีที่ 24 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2557
TJHP: Thai Journal of Hospital Pharmacy Volume 24 Number 1 Jan-Apr 2014

Website: http://thaihp.org/extend.php?option=document_list_volume&txtfind=1/24&layout=0