อาลัย สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์พลิกเอกภพ

[box type=”note”]สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ชื่อดัง เจ้าของผลงาน “ประวัติย่อของกาลเวลา” เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 76 ปีที่บ้านในเมืองเคมบริดจ์ สหราชอาณาจักร[/box]

สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์ เจ้าของทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) “เอกภพกำลังขยายตัวออกไปโดยมีความเร่งเร็วขึ้น”

สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์กิง (อังกฤษ: Stephen William Hawking; 8 มกราคม ค.ศ. 1942 – 14 มีนาคม ค.ศ. 2018) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์  เขาเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่นักฟิสิกส์จะพัฒนาทฤษฎีที่จะรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน นั่นคือ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม อันจะนำไปสู่ ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ที่เคยกล่าวกันมา ส่วนเรื่องการขยายตัวของเอกภพนั้น ฮอว์คิงเชื่อว่า เอกภพขยายตัวออกไปโดยมีความเร่ง

การศึกษา

Stephen William Hawking-สตีเฟน ฮอว์กิงชีวิตสมรสจบการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาคณิตศาสตร์และฟิสิกส์ จาก มหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด และจบการศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาจักรวาลวิทยา จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในตอนที่ฮอว์คิงกำลังจะสำเร็จการศึกษาจากอ๊อกฟอร์ด ฮอว์คิงได้คะแนนคาบเกี่ยวกันระหว่างเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง และอันดับสอง ทำให้เขาต้องเข้าสอบสัมภาษณ์กับอาจารย์ว่าเขาสมควรได้อันดับใด ในการสัมภาษณ์ฮอว์คิงได้บอกกับอาจารย์ผู้สัมภาษณ์ว่า หากเขาได้เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เขาจะไปศึกษาต่อที่เคมบริดจ์ แต่หากได้อันดับสอง เขาจะอยู่ที่อ๊อกฟอร์ดต่อไป อย่างไรก็ตามฮอว์คิงได้รับปริญญาเกียรตินิยมอันดับหนึ่งมา

เริ่มป่วย

สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตฮอว์คิงได้เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี 1962 และในปี 1963 ตอนอายุ 21 ปี เขาเริ่มป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และได้รับการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรค Amyotrophic Leteral Sclerosis (ALS) ฮอว์คิงต้องเผชิญกับร่างกายที่อ่อนแอลงของตน และต้องพยายามทำวิทยานิพนธ์ให้สำเร็จเพื่อจบการศึกษาในระดับปริญญาเอก ในช่วงนี้เองที่เขาได้พบกับเจน ไวลด์ นักศึกษาศิลปศาสตร์ และกลายเป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ต่อสู้กับอาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง และเขาก็ได้แต่งงานกับเธอในท้ายที่สุด

การพนัน พลิกจักรวาล

นอกจากหน้าที่ของการเป็นศาสตราจารย์ด้านจักรวาลวิทยา คอยวิเคราะห์ข้อมูลและคาดการณ์สิ่งต่างๆ ในเอกภพ เขายังมีกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวพันกับการคาดการณ์เหตุการณ์ล่วงหน้า อันกลายมาเป็นที่กล่าวขานกันอยู่อีกด้วยคือ “”การพนัน” ในปี 1975 ระหว่างที่ฮอว์คิงได้ไปทำงานที่คาลเท็ค พาซาดีนา แคลิฟอร์เนีย ฮอว์คิงได้พนันกับ คิพ ธอร์น เพื่อนร่วมงานของเขาว่า ในระบบดาวคู่ ซิกนัส X-1 นั้นไม่มีหลุมดำอยู่ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขัดกับแนวทางการศึกษาของฮอว์คิงในขณะนั้นที่ศึกษาเรื่องหลุมดำ หลายปีต่อมาสุดท้ายฮอว์คิงก็ได้ประสบความสำเร็จในการพิสูจน์เรื่องหลุมดำ แต่ผลการพิสูจน์ทฤษฎีของเขากลับทำให้เขาแพ้พนันให้กับเพื่อนของเขาเอง ซึ่งต้องเสียค่าพนันเป็นการสมัครสมาชิกนิตยสาร Penthouse(นิตยสารปลุกใจ)ให้ ธอร์น เป็นเวลาหนึ่งปี นี่คือเรื่องตลกขบขันของฮอว์คิง ที่ได้รับการกล่าวถึงมากที่สุดเรื่องหนึ่งในยุคนั้น

เดิมพันของฮอว์คิงยังคงดำเนินต่อไป ในปี 1997 ครั้งนี้ฮอว์คิงจับมือกับ คิพ ธอร์นพนันในข้างเดียวกัน กับจอห์น แพร์สคิล ในตอนนั้นฮอวค์ และนักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีความเชื่อเกี่ยวกับหลุมดำว่า ไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดหลุมดำออกมาได้ ไม่แม้แต่แสงที่มีความเร็วมหาศาล ซึ่งเป็นทฤษฏีแรกเริ่มที่มีเกี่ยวกับหลุดดำ แต่ในภายหลังกลับกลายเป็นว่า มีนักวิทยาศาสตร์ค้นพบการแผ่รังสีของหลุมดำ ซึ่งนั้นได้เปลี่ยนแปลงความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งใดสามารถหลุดรอดหลุมดำไปได้ แต่ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์ต้องถกเถียงกันว่า รังสี หรือคลื่นที่แผ่ออกมานั้นคืออะไร และก็เป็นฮอว์คิงอีกนั้นแหละ ที่ได้หาคำตอบให้กับข้อถกเถียงนี้ แม้จะยังไม่ใช่ข้อสรุปสุดท้ายที่ชัดเจนและได้รับการยืนยัน แต่ก็มีนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่าเป็นความคิดที่ถูกต้อง จากทฤษฏีของฮอว์คิงนั้น รังสี หรือคลื่นที่แผ่ออกมานั้นคือการระเหยของหลุมดำ ซึ่งทำให้หลุมดำที่เคยมีมวลเป็นอนันต์ตามทฤษฏีเดิมสามารถลดขนาดลงได้ ซึ่งฮอว์คิงได้ตอบคำถามที่ว่า เมื่อถูกดูดเข้าไปในหลุมดำแล้วหายไปไหน ฮอว์คิงได้อธิบายว่า โดยพื้นฐานตามหลักควอนตัมแล้ว ข้อมูลต่างๆจะไม่หายไป แต่เปลี่ยนสภาพไปในรูปแบบอื่น ซึ่งฮอว์คิงมองว่าสภาพของรังสีที่หลุมดำแผ่ออกมานี้คือข้อมูลที่ถูกแปรสภาพให้กลายเป็นข้อมูลเสีย หรือข้อมูลที่นำมาใช้ประโยชน์ได้ยากมากๆ โดยเปรียบเทียบว่า หากเราเผาสารานุกรมไปเล่มหนึ่ง มันจะไม่หายไปหากเราเก็บควันและขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาใหม่นั้นไว้ แต่การจะทำให้มันสามารถอ่านได้เป็นเรื่องที่ยากมากๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งชื่อรังสีนี้เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ฮอว์คิงว่า รังสีฮอว์คิง และจากการแพ้พนันครั้งนี้ ฮอว์คิง และธอร์จำเป็นต้องให้สารานุกรมเบสบอลเล่มหนึ่งให้กับ แพร์สคิลตามที่ได้สัญญาเอาไว้ ฮอว์คิงยังคงเสียดายที่ไม่ได้ให้ขี้เถ้าไปแทน

เริ่มนั่งรถเข็น

สตีเฟน ฮอว์กิง เสียชีวิตหลังจากที่ฮอว์คิงทำงานในฐานะศาสตราจารย์มาได้ระยะหนึ่ง อาการของเขาก็เริ่มย่ำแย่ลงเรื่องๆ เขาไม่สามารถขยับตัวได้ เขาต้องผ่าหลอดลม ซึ่งส่งผลให้เขาไม่สามารถพูดได้ และต้องสื่อสารกับคนอื่นด้วยการยักคิ้ว เมื่อให้ผู้ช่วยสามารถสะกดคำต่างๆที่เขาต้องการพูดให้ฟังได้ ฮอว์กิงต้องนั่งรถไฟฟ้าที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เนื่องจากเขาพูดและขยับตัวไม่ได้ ทำได้เพียงขยับนิ้วและกะพริบตา แต่ก็ยังสามารถสื่อสารกับโลกภายนอกได้ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย ด้วยอุปกรณ์พิเศษที่สามารถสังเคราะห์เสียงพูดได้จากตัวอักษร โดยโปรแกรมที่ชื่อว่า อีควอไลเซอร์ ซึ่งช่วยให้เขาสามารถพิมพ์ข้อความได้ด้วยการสวิตช์ในมือ และต่อมาจึงได้เครื่องสร้างเสียงสังเคราะห์ซึ่งช่วยให้เขาสามารถพูดกับผู้อื่นได้

 

แต่งงาน สองครั้ง

ฮอว์คิงหย่ากับ เจน ไวลด์ ภรรยาของเขาซึ่งมีลูกด้วยกันสามคน ก่อนที่เธอจะไปแต่งงานใหม่ และฮอว์คิงก็ได้พบรักอีกครั้งกับพยาบาลประจำตัว อีเลน เมสัน ซึ่งต่อมาก็ไม่สามารถแบกรับความกดดันในการดูแลเขา และหย่ากันไปอีก สุดท้ายฮอว์คิงใช้ชีวิตอยู่เพียงลำพังกับแม่บ้านของเขา

เรื่องราวในชีวิตของฮอว์คิง คล้ายจะเต็มไปด้วยโศกนาฏกรรม ความสูญเสีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงทำให้เราเชื่อว่าเขาต้องอยู่อย่างทุกข์ทรมาน แต่จริงๆ แล้วเขามีความสุขกับการใช้ชีวิตไม่ได้ต่างไปจากคนปกติเลย ผู้คนสามารถรับรู้ และสัมผัสถึงความสุขนั้นได้จากการบรรยายและงานเขียนของเขา  การพนันครั้งสุดท้ายของฮอว์คิง ก่อนที่จะจากไป ก็คือ การแพ้พนันให้กับ กอร์ดอน เคน เพราะฮอว์คิง ดันไปกล่าวถึงโครงการทดลองค้นหาอนุภาคฮิกส์ที่ชื่อ “เซิร์น”  CERN (European Organization for Nuclear Research) ว่าการทดลองนี้จะไม่มีวันพบอนุภาคฮิกส์

การเสียชีวิต

ฮอว์กิงเสียชีวิตเมื่อตอนเช้าวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2561 ที่บ้านของเขาในเมืองเคมบริดจ์ ประเทศอังกฤษ


[box type=”note”]เกร็ดความรู้เพิ่มเติม : “สตีเฟน ฮอว์คิง”

เกิด (8 มกราคม 1942) ซึ่งไปตรงกับ วันล่วงลับของนักวิทยาศาสตร์ผู้พิสูจน์ได้ว่า “โลกไม่ได้เป็นศูนย์กลางของจักรวาล” นามว่า กาลิเลโอ กาลิเลอี (8 มกราคม 1642)

ตาย (14 มีนาคม 2018) ซึ่งไปตรงกับ วันคล้ายวันเกิดของนักฟิสิกส์เจ้าของทฤษฎีทฤษฎีสัมพัทธภาพ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (14 มีนาคม ค.ศ. 1879 )[/box]

เรื่องราวชีวิตของฮอว์คิง ได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วมากกว่าหนึ่งครั้ง ทั้งในชื่อ Hawking และ The Theory of Everything


แหล่งที่มา: https://storylog.co/story/571f81379b3393e40457b9e6

https://th.wikipedia.org/wiki/สตีเฟน_ฮอว์กิง

สตีเฟน ฮอว์คิง นักฟิสิกส์พลิกจักรวาล เสียชีวิตแล้ว