การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ Parental Involvement in Education to Develop Information and Comunication Technology Skills of Muslim Children in Three Southern Bo
ABSTRACT
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิมในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) เพื่อศึกษาการรับรู้ของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัยเงื่อนไขในการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปกครองมุสลิม จำนวน 51 คน (ปัตตานี 17 คน ยะลา 21 คน และนราธิวาส 13 คน) จากโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัด จำนวน 7 แห่ง การวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ซึ่งแบ่งการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจร่วมกัน ระยะการวางแผนและออกแบบการวิจัย ระยะการนำแผนไปปฏิบัติ และระยะการประเมินและปรับปรุงแผน การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคการสนทนากลุ่มและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม จากการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของเด็กมุสลิม 5 ด้าน ประกอบด้วย การเลี้ยงดูวิถีอิสลาม การจัดการเรียนรู้ในบ้านบูรณาการอิสลาม การร่วมมือกับโรงเรียน การร่วมมือกับชุมชน และการพัฒนาตนเองด้านการศึกษาของผู้ปกครอง ส่วนปัจจัยเงื่อนไขตามการรับรู้ของผู้ปกครองมุสลิม 9 ด้าน ประกอบด้วย ความรู้ด้านการมีส่วนร่วม และไอซีที เวลา ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว การเป็นแบบอย่างที่ดี ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ ความมุ่งมั่น สิ่งแวดล้อมภายในบ้าน ความสัมพันธ์กับโรงเรียน และความสัมพันธ์กับชุมชน
This research is aimed to find out 1) parental involvement in education to develop Information and Communication Technology Skills (ICT) of Muslim children in three southern border provinces, 2) parents’ perceptions about conditions of the involvement in education. Fifty-one parents (Pattani 17 people, Yala 21 people, and Narathiwat 13 people) were purposively selected from 7 Islamic private schools in southern provinces to participate in this study. Participatory Action Research (PAR) which four stages of the process including established relationship and shared understanding stage, planning and research design stage, planning implementation stage, and evaluation and planning development stage, was employed in this research using focus-group discussion and participated observation technique. It was found that parental involvement in education to develop ICT Skills of Muslim children involved five categories namely parenting, home-based learning, collaborating with the school, community involvement, and self-Improvement and parental education. There were nine conditions related to the involvement, namely, knowledge, time, family relationship, role model, continuity, commitment, home environment, parent-school relationship, and parent-community relationship