ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย (2563)

ชื่อบทความ     : ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย: Challenges on Collecting Land and Building Tax in Thailand

เจ้าของผลงาน       :   ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง, อาจารย์ยุทธนา ศรีสวัสดิ์, และอาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์

บทคัดย่อ                : ภาษี คือ หน้าที่หรือภาระหรือความรับผิดชอบที่ประชาชนต้องนําส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมาย กําหนด เพื่อสนับสนุนกิจการของรัฐ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกจ้างนั้นเป็นภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สิน ประเภทหนึ่ง ปัจจุบันพบว่า การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มคนที่มีฐานะร่ํารวย ซึ่งได้มีการถือครองไว้เป็นจํานวนมาก ในขณะที่คนส่วนมากไม่มีที่ดินหรือบ้านเป็นของตนเอง จึงแสดง ให้เห็นว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่มีการจัดเก็บอย่างไม่เป็นธรรมและไม่เป็นจริงตามระบบ การจัดเก็บภาษีที่ควรจะเป็น ทําให้เกิดปัญหาในทางโครงสร้างของการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยจึงแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ และตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยหวังว่าจะทําให้การจัดเก็บอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้กับต่างประเทศพบว่ามีจุดสังเกต ที่น่าสนใจ เช่น ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสใช้เกณฑ์รายได้และเกณฑ์อายุประกอบการพิจารณาเก็บภาษีด้วยประเทศออสเตรเลีย กําหนดให้คนต่างชาติต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มอีก ร้อยละ 2 จากภาษีปกติ ประเทศแคนาดากําหนดให้ผู้เช่าตามสัญญาเช่าระยะยาวเป็นผู้เสียภาษีแทนที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ การบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ยังมีจุดสังเกตบางประการ ซึ่งควรนํามาบูรณาการเพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ของไทยมีประสิทธิภาพและ เป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น

คำสำคัญ    : ภาษี, ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง


Publication        : วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU Journal of Law) ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563   

Link to Publication:   https://lawjournal.stou.ac.th/Page/Home.aspx

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง, ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ และเมธาวี บัวสมบูรณ์. (2563). ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย.วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(2), 95-110.


วารสารฉบับพิมพ์ที่มีในห้องสมุด

Row Hit Heading
1 1 oวารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (Sukhothai Thammathirat Law Journal)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

แนวคิดภาษีเงินได้สำหรับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษี

 

Title              :  แนวคิดภาษีเงินได้สำหรับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษี: CONCEPT OF US PARTNERSHIP INCOME TAX AND ANTI-ABUSE RULES

Researcher       :  อาจารย์ ยุทธนา ศรีสวัสดิ์
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  yutthana.sri@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ภาษีเงินได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกามีจุดเด่นที่สําคัญคือห้างหุ้นส่วนของสหรัฐฯ ไม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีดังนั้นเงินได้ของห้างหุ้นส่วนจะกลายเป็นเงินได้ของหุ่นส่วนโดยตรงเพื่อสะท้อนฐานภาษีที่แท้จริงของบุคคล แต่เนื่องจากข้อกําหนดห้างหุ้นส่วนสามารถกําหนดได้อย่างยืดหยุ่นมากดังนั้น เพื่อป้องกันการอาศัยความยืดหยุ่นนี้ เพื่อเลี่ยงภาษีที่อาจเกิดขึ้นในกรณีต่างๆกฎหมายภาษีสหรัฐฯ ในส่วนนี้จึงเรียกได้ว่ามีความซับซ้อนที่สุดเมื่อเทียบกับกฎหมายภาษีในส่วนอื่นๆ อาทิการเข้าหุ้นจะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีแม้จะเป็นการแลกเปลี่ยนทรัพย์สินทั้งที่มีรูปร่างและไม่มีรูปร่าง (แต่ไม่รวมถึงการให้บริการ) โดยกฎหมายจะมีวิธีการกําหนดต้นทุนในการถือประโยชน์สําหรับหุ้นส่วนเป็นตามต้นทุนของทรัพย์สินที่นํามาแลก ซึ่งในทุกขั้นตอนจะมีบทบัญญัติเพื่อความเป็นธรรมและป้องกันการเลี่ยงภาษีที่อาจเกิดขึ้นด้วยเสมอ แนวคิดเกี่ยวกับภาษีเงินได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกาจึงเป็นต้นแบบที่น่าศึกษาสําหรับแนวคิดที่ต้องการให้นิติบุคคลไม่มีสถานะเป็นหน่วยภาษีซึ่งผลที่ตามมานั้นจําเป็นต้องออกกฎหมายเพื่อรองรับอีกเป็นจํานวนมากจึงอาจก่อให้เกิดความซับซ้อนของระบบภาษีในประเทศที่นําไปใช้ได้ ดังนั้นการนําแนวคิดนี้มาปรับใช้จึงต้องมีการศึกษาเตรียมพร้อมอย่างรัดกุมเพื่อไม่เปิดโอกาสให้เกิดการเลี่ยงภาษีด้วยช่องโหว่ของกฎหมาย ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการหากมีการศึกษาแนวทางการนําหลักการใช้นิติบุคคลที่ไม่เป็นหน่วยภาษีมาใช้ในอนาคต

คำสำคัญ             :   ภาษีเงินได้, ห้างหุ้นส่วน, การป้องกันการเลี่ยงภาษี

Abstract            :  US partnership income tax determines that partnerships are nontaxable entity. Partnership’s gross income passes though directly to partners in the partnership. This will clearly reflect partner’s income. Due to high flexibility of the partnership agreement, however, partnership income tax law becomes highly. For example, partners do not have to recognize gains from contributing property to the partnership in exchange for the partnership interest. The property can be either tangible or intangible, except services. Also, the law will determine tax basis of the partnership interest for each contribution by partners. Each step has its own anti-abuse rules to maintain fairness and prevent tax avoidance. US partnership income tax is a good model in applying nontaxable entity concept into a certain country. Implementing the pass-through entity concept consumes a number of resources to ensure that the system is properly functional. It needs sophisticated regulations to prevent tax avoidance. Therefore, pass-thru entities are academically valuable to study if a country seriously considers non-taxable entity theory as a form of taxation in the near future.

Keywords         :   : Income tax, partnership, anti-tax avoidance


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  ยุทธนา ศรีสวัสดิ์. (2559). แนวคิดภาษีเงินได้สำหรับห้างหุ้นส่วนของประเทศสหรัฐอเมริกา กับมาตรการป้องกันการเลี่ยงภาษี. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 217). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View