การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : The study of relationship between high school substance science learning group grade
point average and learning achievement of pharmacy students, Siam University.

Researcher       : เอื้ออารี กัลวทานนท์* และ สรัญญา ชมฉัยยา
Aue-aree Kanvatanond* and Sarunya Chomchaiya

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ที่ลงทะเบียนในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 จำนวน 49 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกประวัตินักศึกษา และ แบบทดสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์พบว่า ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายไม่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 กับคะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา (r = 0.010, p = 0.945 และ r = -0.004, p = 0.977 ตามลำดับ)

คําสําคัญ             :  ระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คะแนนสอบในวิชาฟิสิกส์ทั่วไป 1 และ ผลการเรียนเฉลี่ยในระดับอุดมศึกษา

Abstract            :  The objectives of this research were investigated of the relationship between learning group’s substance science grade point average in high school and examination scores in General Physics 1 and grade point average in university. The population was 49 pharmacy students who enrolled General Physics 1. Instruments using for the research were personal data questionnaire and examination paper in General Physics 1. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient. The results showed that there were no correlation between high school substance science grade point average and examination scores in General Physics 1 and university grade point average (r = 0.010, p = 0.945 and r = -0.004, p = 0.977 respectively).

Keywords        :    high school substance science learning group grade point average, examination scores, and university grade point average.

Donwload PDF  :  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content


Bibliography     :    เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2558). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนเฉลี่ยของวิชาในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในระดับชั้น มัธยมศึกษาตอนปลายกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 67-70). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.


 

Quick View

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ

 

Title              :  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ: The study of learning achievement in physics on sound and hearing of the first year nursing students, Siam University by audio-visual material of instruction method and regular classroom method.

Researcher       :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา

Department     :   ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :   aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสยาม ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุและจากการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอยั่งที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ในปีการศึกษา 2558 จํานวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่องเสียงและการได้ยิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจงแจงแบบที ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่สอนแบบปกติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

คำสำคัญ             :   การสอนโดยใชโสตทัศนวัสดุการสอนแบบปกติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract            :  The purposes of this research were to study the pre and post physics learning achievement, sound and hearing, of first year nursing students who were taught by audio-visual material of instruction method and regular classroom method. The samples were 102 of the first year nursing students who enrolled Physics for nurses in 2015 academic year. Instrument using for the research was pretest-posttest about sound and hearing. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of the study show that (1) post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by audio-visual material of instruction method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. (2) Post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by regular classroom method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. And (3) physics learning achievement, sound and hearing, of audio-visual material of instruction method was higher than learning achievement of regular classroom method at the 0.01 level of significance.

Keywords         :   Audio-visual material of instruction method, Regular classroom method, Learning achievement


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 116-117). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุกับการสอนแบบปกติ

 

Title              :  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุกับการสอนแบบปกติ : The Comparison of Learning Achievement in Physics for Nurses of the First year Nursing Students in 2016 Academic year, Siam University by Audio-Visual Material of Instruction

Researcher       :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา

Aue-aree Kanvatanond and Sarunya Chomchaiya

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :    aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุและการสอนแบบปกติ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ในปีการศึกษา 2559 จํานวน 98 คน โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่าย ได้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุจํานวน 44 คน และ กลุ่มที่ได้รับการสอนแบบปกติจํานวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียนวิชาวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบแบบที ผลการวิจัยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

คําสําคัญ             :  การสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ การสอนแบบปกติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract            :  The purposes of this research were to compare the physics for nurse learning achievement of first year nursing students who were taught by audio-visual material of instruction method and regular classroom method. The populations were 98 of the first year nursing students who enrolled Physics for nurses in 2016 academic year. Sampling group was selected by the simple random sampling and contains 44 samples each. Instrument using for the research was pretest-posttest. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of the study show that physics learning achievement of audiovisual material of instruction method was higher than learning achievement of regular classroom method at the 0.01 level of significance.

Keywords        :    Audio-visual material of instruction method, Regular classroom method, Learning achievement


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2560). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาลของนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2559 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุกับการสอนแบบปกติ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 680-684). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View