วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย-ปีที่6-ฉบับที่1-มค-มิย-2560

พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

 

Title              : พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา: Purchasing Behaviors and Analysis of Marketing Factor Affecting Consumer’s E-Business transactions in Nakhonratchasima Municipality, Nakhonratchasima Province

Researcher       :  บุษยา วงษ์ชวลิตกุล สงวน วงษ์ชวลิตกุล ธนกร ลิ้มศรัณย์ อรอุมา ปราชญ์ปรีชา ทศพล ปราชญ์ปรีชา จอมภัค จันทะคัต
Department      :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 : dr.tanakorn@siam.edu

Abstract            :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เป็นการศึกษาพฤติกรรมการซื้อ และองค์ประกอบของปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ปัจจัยโดยการสร้างตัวแปรใหม่ของกลุ่มตัวแปร ด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบของปัจจัย (Factor Analysis) และสถิติถดถอยพหูคุณ ประชากรในการศึกษานี้ ได้แก่ ผู้ซื้อหรือผู้ที่เคยซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามสัมภาษณ์ผู้บริโภคที่ซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในเขตเทศบาลนครนคราชสีมา จำนวน 400 คน  ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.8 เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตทุกวัน โดยร้อยละ 31.0 ใช้เวลาจำนวน 2 ชั่วโมงขึ้นไป ใช้อินเตอร์เน็ตในสถานที่ทำงาน และสั่งซื้อสินค้าหรือบริการในช่วง 9.01-12.00น. ผู้บริโภคมีความถี่ในการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านทางอินเตอร์เน็ตเดือนละครั้ง  มีค่าเฉลี่ยในการซื้อแต่ละครั้งในช่วง 501- 1,000 บาท ทั้งนี้มากกว่าร้อยละ 75 ของกลุ่มตัวอย่างใช้การค้นหาร้านค้าผ่าน Search Engine เช่น Google เพื่อเข้าสู่หน้าเว็ปไซต์ของร้านค้าโดยตรงเพื่อซื้อสินค้าหรือบริการ โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่นิยมมากที่สุดคือสินค้าแฟชั่นและการจองโรงแรม และชำระเงินด้วยวิธีการโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารของผู้ขาย สาเหตุที่ผู้บริโภคซื้อสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ตเนื่องจากสามารถค้นหาสินค้าหรือบริการได้ง่ายและรวดเร็ว ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ประกอบไปด้วย กลุ่มที่ให้ความสำคัญกับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด กลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัว และ และกลุ่มที่ให้ความสำคัญต่อปัจจัยด้านการให้บริการส่วนบุคคล

Key words         :  พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, พฤติกรรมการซื้อสินค้า, ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด, จังหวัดนครราชสีมา


Publication        : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560

                                  Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand  Vol.6 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:    https://www.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/issue/view/8189

Download PDF  : พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อ การซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภค ในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Bibliography     : บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, สงวน วงษ์ชวลิตกุล, ธนกร ลิ้มศรัณย์, อรอุมา ปราชญ์ปรีชา, ทศพล ปราชญ์ปรีชา และ จอมภัค จันทะคัต. (2560). พฤติกรรมการซื้อและการวิเคราะห์องค์ประกอบปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าหรือบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา.  วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ,  6(1), 95-113. 


Quick View

ลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร : Contact Feature Service and Satisfaction of Serving Foreign Currency Transfer via Western Union in Bangkok Metropolis

Researcher       :  อนุสรา จันทร์กามา และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :   ton_tuy@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถามในการเก็บรวมรวบข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จํานวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 57.7 มีอายุระหว่าง 35-44 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.8 ซึ่งมีสถานภาพสมรสมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59.5 ระดับการศึกษาเป็นกลุ่มปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 45.3 มีอาชีพที่เข้าใช้บริการบ่อยๆ ส่วนมากทําธุรกิจส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 42.6 โดยมีรายได้ส่วนใหญ่อยู่ที่ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.1 นอกจากนี้ผลการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ลักษณะการติดต่อใช้บริการ เกี่ยวกับช่วงเวลาในการติดต่อ ช่วงเวลา 14.31-16.30 น. คือช่วงที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21 มีความถี่ในการใช้บริการประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.4 และ วัตถุประสงค์ของการเลือกใช้บริการเพื่อทําธุรกิจระหว่างประเทศมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.7 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะการติดต่อใช้บริการทางด้านช่วงเวลาในการติดต่อมีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศในทุกๆ ด้าน เรียงลําดับสถิติอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ significant = 0.05 ได้แก่ด้านพนักงาน (significant = 0.000*) ด้านสถานที่ (significant = 0.000*) และด้านระบบการให้บริการ (significant = 0.007*)

คําสําคญั              :  ลักษณะการติดต่อใช้บริการ ความพึงพอใจ เวสเทิร์นยูเนี่ยน

Abstract            :  This research has an objective for study about international influence Contact Feature Service and Satisfaction of serving foreign currency transfer via Western Union in Bangkok Metropolis. By research tool’s the questionnaire data collection from sample group amount 400 persons. The result found that most respondents are male at 57.7%. The mots of Age between 35-44 years old 31.8%. The most of marriage status 59.5%. Education’s level is mostly Bachelor of degree 45.3% there’s an occupation which use service. It’s business’s owner 42.6%. There’re their income between 10,001-20,000 Bath. 35.1%. Beside this there’s additional result found that Contact Feature Service about duration in contact between 02:31 PM – 04:30 PM have the most of customer 21%. The frequency of the service, about 1-2 times a month most. 55.4%. The objective of selection service for make International Business 27.7% The hypothesis testing found that Contact Feature Service in the field of duration of contact have an effect to the satisfactionin serving foreign currency transfer. All of the field. Sort of statistics are a critical level on significant = 0.05 Such as the officer (Significant = 0.000*) The place (Significant = 0.000*) and System service (significant= 0.007*)

Key words         :   Contact Feature Service, Satisfaction, Western Union.


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  อนุสรา จันทร์กามา และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A323-A333). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View