การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร

 

Title              :  การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 

Researcher       :  ผศ.ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ และ ผศ.ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ
Department     :  ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   rcfcd.com@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ภายใต้โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ: กรณีนําร่องพื้นที่บริบทเมือง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนาเครื่องมือเพื่อจัดทำข้อมูลพื้นฐาน และสำรวจพื้นที่เขตภาษีเจริญ 2) ศึกษาบริบท สถานภาพพื้นที่เขตภาษีเจริญ 3) จัดทำข้อเสนอต่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเขตภาษีเจริญ ระยะเวลาดําเนินงาน 12 เดือน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 ถึงพฤษภาคม 2556 มีการดําเนินงาน 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาเครื่องมือและการศึกษาเอกสาร 2) การสํารวจและการศึกษาเชิงคุณภาพ 3) การวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทาํข้อเสนอต่อการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะเขตภาษีเจริญ เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบสํารวจ การสนทนากลุ่ม (focus group) ยืนยันและปรับปรุงข้อมูล โดยใช้หลักการเทคนิคแบบสามเส้า (triangular technique) กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) ตามตำแหน่งหน้าที่ในฐานะแกนนำชุมชน ตัวแทนหน่วยงาน และด้วยความสมัครใจในฐานะสมาชิกชุมชน จํานวนตัวอย่าง คือ การสํารวจแกนนําชุมชน 80 คน การสนทนากลุ่ม ประกอบด้วย แกนนําชุมชน 15 คน สมาชิกชุมชน 15 ชุมชนๆ ละ 30 คน รวม 450 คน ผู้แทนวัด โรงเรียน สถานประกอบการ สถานพยาบาลจาก 7 ชุมชน 60 คน ผู้แทนหน่วยงาน ภาคี 80 คน
ผลการศึกษา สรุปคือ 1) การพัฒนาเครื่องมือในการสํารวจข้อมูล เพื่อจัดทําฐานข้อมูลเรียกว่า “แผนที่ชุมชน” (Community Mapping) มีองค์ประกอบ 4 ประการได้แก่ ข้อมูลพื้นที่สาธารณะ ข้อมูลพื้นที่ใช้ประโยชน์ข้อมูลทรัพยากรบุคคลของชุมชน และข้อมูลการดําเนินกิจกรรมการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ 2) บริบทพื้นที่เขตภาษีเจริญ ตามองค์ประกอบของแผนที่ชุมชน สรุปคือ มีพื้นที่รกร้าง 19 แห่งใน 6 แขวง พื้นที่ชุมชนแออัด 40 พื้นที่ตลาดและตลาดนัด 10 แห่ง สถานศึกษา 37 แห่ง วัด 27 วัด โรงพยาบาล 8 แห่ง ศูนย์บริการสาธารณสุข 2 ศูนย์จุดหาบเร่/แผงลอย 468 แผง ห้างสรรพสินค้า 1 ห้าง โรงแรม 4 แห่ง ร้านอาหาร 257 ร้าน โรงงานที่ขึ้นทะเบียน 690 โรงงาน ลานกีฬาหรือสนามกีฬา 18 แห่ง พื้นที่สีเขียวประเภทสวนหย่อม 60 พื้นที่รวมขนาดพื้นที่ 5,108.75 ตารางเมตร ผู้นำชุมชน 451 คน ปราชญ์ชาวบ้าน 30 คน มีพื้นที่ 7 ชุมชน 4 แขวง เป็นพื้นที่นำร่องเพื่อพัฒนาพื้นที่เพื่อสร้างสรรค์สุขภาวะใน 3 มิติคือ 1) พัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านอาหาร 2) พัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการออกกาํลังกาย 3) พัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมการปรับภูมิทศัน์
ข้อเสนอต่อการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ คือ สำนักงานเขตภาษีเจริญและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรส่งเสริมกระบวนการร่วมคิด ร่วมทําของชุมชน เพื่อยกระดับให้ชุมชนเป็นชุมชนจัดการตนเอง มีการจัดตั้งคณะทาํงานที่ประกอบด้วยผู้แทนชุมชน ผู้แทนจากหน่วยงานทุกภาคส่วน ร่วมกับภาคีเครือข่ายกําหนดผังเมือง และจัดการสภาพแวดล้อมเมืองอย่างจริงจัง ค้นหาแนวทางลดข้อจํากัด หรือปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีพื้นที่สุ่มเสี่ยงต่อสุขภาวะ หามาตรการแรงจูงใจแนวร่วมในการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อสุขภาวะ ส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ของการจัดการพื้นที่สุขภาวะ และจัดทำฐานข้อมูลพื้นที่ตามองค์ประกอบของแผนที่ชุมชนที่มีความครบถ้วนและเป็นปัจจุบัน

คําสําคัญ             :  ชุมชนเมือง, พื้นที่สุขภาวะ, วิจัย, การพัฒนาเมือง

Abstract            :  The context study of urban communities of Pasi Charoen District for healthy space development is mixed of qualitative and quantitative research method. This study is a part of the research project for Healthy Space Development: A Pilot Project in Pasi Charoen District, Bangkok. The objectives of this study are 1) to develop a tool for survey baseline data in the area of Pasi Charoen District 2) to study the context of Pasi Charoen District and 3) to propose the recommendations for healthy space development of Pasi Charoen District. The 3 steps of implementation period started from June 2012 to May 2013 were 1) to develop tools and review the documents, 2) survey and qualitative study using focus group and 3) analyze and synthesize recommendations. Survey and focus group were being used to collect the data through triangular technique to verify and update. Purposive random sampling was being designed to select the respondents from community leaders, representative agency and as a voluntary member of the community. 80 community leaders were being randomized to answer the questionnaire. Focus group was being done by the rest, 15 community leaders, 450 community members from 15 communities, 60 representatives of 7 communities and 80 representatives of member agencies.
The conclusions are the following: 1) data explorer called community mapping was developed with four components namely: information of public area, information of space utilization, information of resource person in the community, and information of activities related to healthy space development, 2) according to community mapping, Pasi Charoen’s context is composed of 19 useless areas in 6 sub-district, 40 congested areas, 10 markets, 35 schools, 1 university, 1 college, 27 temples, 8 hospitals and health centers, 468 outdoor shops, 1 department store, 4 hotels, 257 food shops, 690 factories, 18 exercise fields and 60 green fields with total land area is 5,108.75 square meters. There are 451 community leaders, 30 local wisdoms and 7 communities from 4 sub-districts are the leaders of this first year project to develop the healthy space with 3 components: 1) the development of the area to carry out food activities, 2) to conduct the exercise activities and 3) to develop the area for landscaping activities.
The recommendations are 1) the involved organizations should promote the process of community participation to be self-management communities, 2) should establish a working group which consists of community representatives, representatives from departments in all sectors and collaborates with all related networks to define the concrete plan, and develop the urban environment sustainably, 3) identify the limitations or problems to reduce the risky areas of health, 4) motivate to add more networking to develop healthy space, 5) enhance the learning process as a learning community for the management of healthy space and 6) update the existing database every now and then.


Download PDF         : การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 

Link to Department:    http://rcfcd.com/

Bibliography     :    กุลธิดา จันทร์เจริญ และ เนตร หงษ์ไกรเลิศ. (2556). การพัฒนาชุมชนเขตเมือง: การศึกษาบริบทพื้นที่ชุมชนเมืองเพื่อการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View

ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (2556)

 

Title              : ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise

Researcher       : อาจารย์พรพิมล ภูมิฤทธิกุล1*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ชนิดา มัททวางกูร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์วราภรณ์ คำรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
ผศ. (พิเศษ) ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์นารี รมย์นุกูล สำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ฐิติมา อุดมศรี ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์สมหญิง เหง้ามูล ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม

Department     : 1* Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :

Abstract            : The objectives of this study are: first, to study needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities and, second, to investigate factors that associate with the needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities of the Pasi Charoen citizen. . 404 people who livein Pasi Charoen district were selected using quota sampling with all sub-district and completed a set of questionnaires regarding exercise needs and expectation, exercise facilities.
Results were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient was considered statistically association. The results were as follows: 1. the level of needs and expectations toward exercise activities is moderate. But, the level of needs and expectation toward exercise facilities is high. 2. There are 3 factors that positive correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.01. There are perceived information about exercise, health status and level of education. There are 2 factors that negative correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.05 which are age and work duration.
This research has a suggestion to require the participation of the community and its partners in health, finding out how to integrated exercise is part of daily life, as well as supplying facilities and places to exercise, in the community, appropriate and conform to the needs and expectations of the people in the community.

Keywords        :   Needs for the exercise. Expectations for the exercise. Exercise

Donwload PDF  : Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise


 

Bibliography     :    พรพิมล ภูมิฤทธิกุลม, ชนิดา มัททวางกูร, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, วราภรณ์ คำรศ, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ,…สมหญิง เหง้ามูล. (2556). ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.


 

Quick View