การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ

 

Title              :  การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ : Pathway towards Sustainable University: Policy and Practice of Siam University

Researcher       :  1.ศ.ดร.ชนิตา รักษ์พลเมือง, 2.อาจารย์สุวิจักขณ์ บุญมี, 3.อาจารย์นารี รมย์นุกูล และ 4.อาจารย์ประพันธ์ จันทร์เสมา

Department     :  1.ผู้ช่วยอธิการบดี และอาจารย์ประจำสาขาวิชาสันติภาพการศึกษาและการทูต บัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขต
ภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
2.ภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
3.ภาควิชาสังคมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
4.ภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160

E-mail                :  ผู้นำเสนอผลงาน praphan5@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   ความยั่งยืน เป็นนโยบายหลักของมหาวิทยาลัยสยามโดยได้รับการบรรจุเป็นหนึ่งในสามเสาหลักของแผนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย และมีการดำเนินโครงการทั้งในระดับท้องถิ่น และนานาชาติในด้านวิชาการได้มีการปรับปรุงรายวิชาการศึกษาทั่วัไปโดยเปิดรายวิชาที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจและมีความตระหนักถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน ทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และเศรษฐกิจโดยเฉพาะการเปิดรายวิชา 100-101 หลักเศรษฐศาสตร์และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นรายวชิาหลักสำหรับนักศึกษา การเรียนการสอนในรายวิชานี้ไดรับการปรับปรุงเป็นระยะโดยปัจจุบันได้ใช้นวัตกรรมการสอนแบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) และการจัดการเรียนรู้แบบใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) โดยให้ผู้รียนทำโครงการที่จะเกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน รอบมหาวิทยาลัยในเขตภาษีเจริญตามนโยบาย “Sustainable University, Sustainable District” ส่วนในด้านการวิจัยและบริการสังคมได้สนับสนุนโครงการที่ช่วยสร้างความยั่งยืนให้แก่ชุมชน อาทิการจัดตั้งศูนย์วิจัย เพื่อพัฒนาชุมชนที่มีความมุ่งหมายจะพัฒนาพื้นที่สุขภาวะเขตภาษีเจริญ และได้มีการสร้างภาคีเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่สุขภาวะที่ทำงานแบบบูรณาการทั้งภาครัฐ เอกชน ชุมชน ส่วนในระดับนานาชาติมหาวิทยาลยัสยามได้ร่วมกบั Asia e University เป็นผู้นำในการก่อตั้ง ACD University Network (ACD-UN) ซึ่งได้มีการตั้งเครือข่ายการวิจัยหรือ ACD Research Network โดยมีเครือข่ายการวิจัยหนึ่งคือ เครือข่ายการวิจัยด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน/ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

คําสําคัญ             : มหาวิทยาลัยที่ยั่งยืน มหาวิทยาลัยสยาม นโยบายแนวปฏิบัติ


Bibliography     :    ชนิตา รักษ์พลเมือง, สุวิจักขณ์ บุญมี, นารี รมย์นุกูล และ ประพันธ์ จันทร์เสมา. (2559). การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ เครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนประเทศไทย  The1″ Annual Conference of Sustainabel University Network of Thailand “Sustainable Practice on higher Education Conference”. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.


Conference : การประชุมวิชาการระดับชาติเครือข่ายมหาวิทยาลัยยั่งยืนประเทศไทย  The1″ Annual Conference of Sustainabel University Network of Thailand “Sustainable Practice on higher Education Conference” เมื่อวันที่ 28 และ 29 พฤศจิกายน 2559  ณ ห้อง 411 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล  มหาวิทยาลัยมหิดล 

Link to Conference:    http://www.sunthailand.org/news/new-sun-591128.html

Download PDF     :    การก้าวสู่ความเป็นมหาวิทยาลัยที่ยั่งยืนของมหาวิทยาลัยสยาม: นโยบายและแนวปฏิบัติ


 

Quick View

ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (2556)

 

Title              : ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise

Researcher       : อาจารย์พรพิมล ภูมิฤทธิกุล1*คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ชนิดา มัททวางกูร คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์วราภรณ์ คำรศ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ ดร.กุลธิดา จันทร์เจริญ ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
ผศ. (พิเศษ) ดร.เนตร หงษ์ไกรเลิศ สถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล
อาจารย์นารี รมย์นุกูล สำนักสหกิจศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์ฐิติมา อุดมศรี ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม
อาจารย์สมหญิง เหง้ามูล ศูนย์วิจัยเพื่อพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยสยาม

Department     : 1* Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :

Abstract            : The objectives of this study are: first, to study needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities and, second, to investigate factors that associate with the needs and expectations toward exercise activities and exercise facilities of the Pasi Charoen citizen. . 404 people who livein Pasi Charoen district were selected using quota sampling with all sub-district and completed a set of questionnaires regarding exercise needs and expectation, exercise facilities.
Results were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s correlation coefficient was considered statistically association. The results were as follows: 1. the level of needs and expectations toward exercise activities is moderate. But, the level of needs and expectation toward exercise facilities is high. 2. There are 3 factors that positive correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.01. There are perceived information about exercise, health status and level of education. There are 2 factors that negative correlate with needs and expectations toward exercise activities at statistical significance at 0.05 which are age and work duration.
This research has a suggestion to require the participation of the community and its partners in health, finding out how to integrated exercise is part of daily life, as well as supplying facilities and places to exercise, in the community, appropriate and conform to the needs and expectations of the people in the community.

Keywords        :   Needs for the exercise. Expectations for the exercise. Exercise

Donwload PDF  : Need and Expectation of Pasi Charoen Persons toward Exercise


 

Bibliography     :    พรพิมล ภูมิฤทธิกุลม, ชนิดา มัททวางกูร, เพ็ญรุ่ง นวลแจ่ม, วราภรณ์ คำรศ, กุลธิดา จันทร์เจริญ, เนตร หงษ์ไกรเลิศ,…สมหญิง เหง้ามูล. (2556). ความต้องการและความคาดหวังของคนภาษีเจริญต่อการออกกำลังกาย (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.


 

Quick View