การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ (2558)

 

[mfn]อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2558). การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ. สยามวิชาการ, 16(1), 74-88.[/mfn]    การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ

อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ  :  งานศึกษาวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพแบบ Granger ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง โดยเป็นความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียว กล่าวคือ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสามารถในการทำนายราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง แต่ในทางกลับกันเราไม่สามารถนำราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่งไปใช้ทำนายราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพในทิศทางใดๆ ระหว่างราคาน้ำมันดีเซลกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง

คำสำคัญ  : ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพ

Abstract:  We have studied Granger causality between the prices of oil and gold or gold products. The major finding is that there is one-way Granger causality between the prices of Gasohol 95 and gold. The change in prices of Gasohol 95 can predict change in prices of gold or gold products. On the other hand, the change in prices of gold or gold products cannot predict change in prices of Gasohol 95. However, we do not find Granger causality between the prices of Gasoline and gold or gold products in any directions.

Keyword  : Granger causality


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 16 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 26 ก.ค.-ต.ค. 2558 Siam Academic Review Vol. 16 No.1 Issue 26 Jul-Oct 2015

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่19ฉบับที่32-มีนาคม-กรกฎาคม-2561

การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน (2561)

[mfn]สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2561). การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน. สยามวิชาการ, 19(1), 1-18.[/mfn]    การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน
สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ     :  บทความนี้สนใจทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน ระเบียบวิธีการศึกษาจะเริ่มต้นจากทดสอบความนิ่ง (Stationary) ของข้อมูลอนุกรมเวลา จากนั้นสร้าง แบบจําลอง Autoregressive Model (AR(p)) โดยใช้ Akaike Information Criterion (AIC) กําหนดค่า p ที่เหมาะสมที่สุด สุดท้ายจึงทดสอบโดยใช้ F-test with n restriction ผล
การศึกษาเชิงเศรษฐมิติสามารถสรุปได้ว่า สมมติฐานนี้เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดรองเท้า หมวดเครื่องใช้และการบํารุงรักษาครัวเรือน และหมวดอุปกรณ์การประมวลผลข้อมูลภาพและเสียง อย่างไร
ตาม สมมติฐานข้างต้นไม่เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดเสื้อผ้า หมวดเครื่องเรือน และหมวดยานพาหนะ

คําสําคัญ    : การทดสอบสมมติฐาน, สินค้าคงทน

Abstract  :  This paper tests the hypothesis “high past durable goods spending leads low present durable goods spending”. We use econometric methods such as the unit root test, selecting
autoregressive model (AR (p)) with Akaike information criterion (AIC), and F-test with n restriction. The hypothesis is accepted for (a) footwear, (b) household equipment and maintenance of the house, and (c) audio-visual, photographic and information processing equipment. The hypothesis is rejected for (d) clothing, (e) furniture, and (f) purchase of vehicles.

Keywords  :  Hypothesis Testing, Durable Goods


 

Quick View