วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย-ปีที่36-ฉบับที่3

ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา Rungroje Songsraboon

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นโรคไม่ติดต่อ จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุด้วยวิธี Stepwise

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 45 – 59 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ และเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ปัจจัยตามแนวทางพุทธศาสนาที่มีผลต่อการมีสุขภาพดีมากที่สุด ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังต่อไปนี้

การมีสุขภาพดี = .308การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์+.156การออกกำลังกาย+.144การปฏิบัติตนตามนาฬิกาชีวิต+.108การสวดมนต์+.104การนั่งสมาธิ: R2 = 0.658, SE = 0.378


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร  ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 133-144.

Factors Affecting Therapy of the Non-Communicable Diseases (NCDs) According to Buddhism By Rungroje Songsraboon

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย-ปีที่36-ฉบับที่3

ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของตัวแปรสาเหตุได้แก่ ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อตัวแปรผลได้แก่ ความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย โดยผ่านตัวแปรกลางคือการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ โดยมีตัวแปรแทรกคือสมรรถนะทางเทคโนโลยี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย ที่ประกอบธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคมีผลกระทบทางบวกต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ 2) ความฉลาดทางอารมณ์มีผลกระทบทางบวกต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ 3) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการมีผลกระทบทางบวกต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย 4) สมรรถนะทางเทคโนโลยีไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ  เจนเนอเรชั่นวาย

KEYWORDS: ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค, ความฉลาดทางอารมณ์, การมุ่งเน้น.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2559). ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 37-68.

The effects of Adversity Intelligence and Emotional Intelligence on Success of Generation Y Entrepreneurs

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-Silpakorn-University-Journal-Thai- Vol34-No3 Sep-Dec-2014

รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ระยะการทำวิจัยตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – เมษายน พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยนอกที่ใช้บริการในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 880 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) สถิติที่ทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิติวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชนประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ และปัจจัยการต้อนรับของแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน โดยปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลมากที่สุด คือ ปัจจัยการต้อนรับของแผนก อายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ ตามลำดับ (2) ปัจจัยความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนในด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการแนะนำบอกต่อลูกค้ารายอื่น

KEYWORDS: การบริการสุขภาพ, ความพึงพอใจ, แผนกอายุรกรรม


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 34(3), 151-170.

 By Rungroje Songsraboon

Quick View