ระบบรักษาความปลอดภัยที่อยู่อาศัยด้วยโปรแกรมประยุกต์บนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์
Title : ระบบรักษาความปลอดภัยที่อยู่อาศัยด้วยโปรแกรมประยุกต์บนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ : Resident Security System with Application on Android Platform
Researcher : จรรยา แหยมเจริญ และ วิวัฒน์ สถิรชาติ
Department : ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : janya008@gmail.com
บทคัดย่อ : ระบบรักษาความปลอดภัยที่อยู่อาศัยด้วยโปรแกรมประยุกต์บนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ เป็นการประยุกต์ความรู้ทางเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) บ้านอัจฉริยะ (Smart Home)คลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) และอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย มาพัฒนา เนื่องจากที่อยู่อาศัยหรือบ้านเป็นปัจจัยที่สําคัญสําหรับมนุษย์และเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง และภายในบ้านประกอบด้วยทรัพย์สินที่มีค่าต่างๆ เพื่อเป็นการรักษาความปลอดภัยให้กับทรัพย์สินภายในบ้าน จึงได้พัฒนาอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์ต้นแบบ ประกอบด้วยArduino ESP8266 NodeMCU 280 ทําหน้าที่แม่ข่ายให้บริการเว็บ (Web Server)
และเป็นตัวกลางในการติดต่อสื่อสารกับ PIR Motion Sensor ทําหน้าที่ตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตและ PassiveBuzzer Module ทําหน้าที่แสดงเสียงแจ้งเตือน และพัฒนาเนทีฟแอพพลิเคชั่นที่ทํางานบนอุปกรณ์แอนดรอยด์เพื่อควบคุมการทํางานของอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์จากระยะไกลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และมีฟังก์ชั่นการแจ้งเตือนเมื่อตรวจพบผู้บุกรุก โดยการส่งผ่านข้อมูลระหว่างอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์และแอพพลิเคชั่นผ่านฐานข้อมูลที่เก็บอยู่บนคลาวด์คอมพิวติ้ง ในการเขียนโปรแกรมทางฝั่งอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์จะเขียนชุดคําสั่งผ่าน SDK ของ Arduino และฝั่งแอพพลิเคชั่นจะเขียนชุดคําสั่งด้วยAndroid SDK จัดเก็บข้อมูลลงในฐานข้อมูล SQLite ผลการทดสอบระบบสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของสิ่งมีชีวิตได้เท่านั้น กรณีเป็นสิ่งของเคลื่อนที่ผ่านตัวตรวจจับจะไม่สามารถตรวจจับได้ และเมื่อตรวจพบผู้บุกรุกแอพพลิเคชั่นบนอุปกรณ์แอนดรอยด์จะแสดงการแจ้งเตือนแบบทันทีทันใด ทําให้เจ้าของบ้านทราบและสามารถโทรแจ้งตํารวจได้ทันทีสําหรับการนําไปใช้งานจริงควรจะมีการศึกษาและเลือกใช้อุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น และมีการเชื่อมต่อกับระบบกล้องวงจรปิดเพื่อให้สามารถดูภาพจากบ้าน ณเวลานั้นได้เลย
คําสําคัญ : บ้านอัจฉริยะ สิ่งของกับอินเทอร์เน็ต คลาวด์คอมพิวติ้ง ไมโครคอนโทรลเลอร์ ระบบรักษาความปลอดภัยที่อยู่อาศัย แอนดรอยด์
Abstract : Resident Security System with Application on Android Platform has adopted the knowledge and technology, such as Internet of Things (IoT), Smart Home, Cloud Computing and Mobile Wireless Device, wherewith the resident or home is the important factor for life and is the high value asset. Therefore, to secure the assets has developed microcontroller prototype which consist of Arduino ESP8266 NodeMCU 280 to be web server and communication central between PIR Motion Sensor module and Passive Buzzer module. Include to develop the native application which runs on Android platform for controlling the microcontroller by remote control via the Internet network and involve notification function when the sensor has detected the intruder. The microcontroller installed at home and the application communicate by data recorded on cloud computing. To program on microcontroller side has coding with Arduino SDK and Android application side has coding with Android SDK and record the data to SQLite DBMS. The results of the testing system is able to detect only the movement of organisms. When the movement of organisms has detected, the Android application will notify the homeowner immediately. For adoption in the future, should be studied more about powerful devices and connect to close circuit camera to visualize at that time.
Keywords : Smart Home, Internet of Things, Cloud Computing, Microcontroller, Resident Security System, Android
Proceeding : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
Link to Proceeding: https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content
Bibliography : จรรยา แหยมเจริญ และ วิวัฒน์ สถิรชาติ. (2560). ระบบรักษาความปลอดภัยที่อยู่อาศัยด้วยโปรแกรมประยุกต์บนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 1111-1119). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.