การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก (2559)

 

Title              : การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก : Financial liquidity Management for SMEs Entrepreneurs in World Economic Crisis

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด 

Surachai Pattarabanjird 

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com

บทคัดย่อ              :   บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ สถาบันการเงินและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันในการวางแผนและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการจ้างงาน การเชื่อมโยงการค้ากับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และการกระจายความเจริญไปยังส่วนภูมิภาคโดยได้กล่าวถึงแนวทางในการนำองค์ความรู้ในการบริการสภาพคล่องทางการเงินในด้านการบริหารเงินสดและการบริหารทุนหมุนเวียนไปปฏิบัติ นอกจากนี้ได้กำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิกฤติภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นมากว่า 20 ปี วิกฤติการณ์ทางการเงินในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2540 วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี พ.ศ.2551วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซ ในปี พ.ศ. 2554 วิกฤติเศรษฐกิจของตลาดหุ้นของจีน ในปี พ.ศ. 2557 และวิกฤติภาวะค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2557 วิกฤติการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs โดยผลกระทบที่สำคัญ คือ ผลกระทบต่อการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ต้องประสบปัญหาในการดำเนินกิจการและบางรายต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

ดังนั้นการให้องค์ความรู้ในทางปฏิบัติได้จริงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการจัดการสภาพคล่องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการบริหารเงินสดโดยการเร่งเงินสดรับเข้า ชะลอการจ่ายเงินสดและการดำรงรักษาเงินสดขั้นต่ำการบริหารทุนหมุนเวียนผ่านแนวนโยบาย 3 รูปแบบ คือ 1. นโยบายแบบสมดุล 2. นโยบายแบบระมัดระวัง และ 3. นโยบายแบบกล้าเสี่ยง ในขณะที่สถาบันการเงินและหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะต้องมีมาตรการและนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย นโยบายด้านภาษี และมาตรการในการสร้างความเข้มแข็งในระยะยาวอื่นๆ เช่น การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs การจัดหาแหล่งทุน การสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้และนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวให้เติบโตอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ              :  ผู้ประกอบการ SMEs, วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลก, การจัดการสภาพคล่อง, การบริหารเงินสด, การบริหารทุนหมุนเวียน

Abstract            :  The objective of this paper was to find a guideline for SMEs entrepreneurs, LEs entrepreneurs, financial institutions and related government sectors to help SMEs. SMEs are crucial mechanisms to develop Thais economy especially employment, trade networking with LEs entrepreneurs and spread prosperity to regional area. This paper acknowledged SMEs entrepreneurs about financial liquidity management especially on cash management and working capital management. Moreover, it also suggested policy planning for LEs entrepreneurs, Financial institutions and Government sectors in order to assist SMEs entrepreneurs.

World economic crises occurred several times such as the deflation crisis in Japan occurred for more than 20 years, Financial crisis in Thailand in 1997, and the sub-prime crisis in U.S.A in 2007, the public debt crisis in Greece in 2011, the capital market crash in China in 2014 and the Ruble crisis in Russia in 2014. These crises, therefore, have caused severe impacts to many Thai entrepreneurs, especially to SMEs. The major impact was the problem of financial liquidity that caused SMEs to shut down their businesses.

Hence, providing practical knowledge to SME entrepreneurs for managing their liquidity both cash management and working capital management was important. For cash management, this paper recommended to accelerate cash-inflow, decelerate cash-outflow and maintain minimum cash balance, and for working capital management, the paper suggested three policies; 1. Hedging, 2. Conservative, and 3. Aggressive. Simultaneously, the financial institutions and the government sectors must also offer entrepreneurs policies or measures of assistance through interest rate policy, tax policy, and long term strengthening measures namely; building SMEs networking, fund raising for SMEs, and innovation for SMEs by way of R&D policy. All of these policies and measures will promote and strengthen SMEs of Thai entrepreneurs to be able to compete in the world market, and drive Thai economy to grow securely and sustainably.

Keywords         :  SMEs entrepreneurs, world economic crises, financial liquidity, management, cash management, working capital management


Publication        : วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 MBA-KKU Journal Vol.9 No.1 Jan-Jun 2016

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/issue/view/5998


Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2559). การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,  9(1), 281-303. 


Quick View

การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ (2558)

 

[mfn]อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2558). การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ. สยามวิชาการ, 16(1), 74-88.[/mfn]    การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ

อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ  :  งานศึกษาวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพแบบ Granger ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง โดยเป็นความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียว กล่าวคือ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสามารถในการทำนายราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง แต่ในทางกลับกันเราไม่สามารถนำราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่งไปใช้ทำนายราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพในทิศทางใดๆ ระหว่างราคาน้ำมันดีเซลกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง

คำสำคัญ  : ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพ

Abstract:  We have studied Granger causality between the prices of oil and gold or gold products. The major finding is that there is one-way Granger causality between the prices of Gasohol 95 and gold. The change in prices of Gasohol 95 can predict change in prices of gold or gold products. On the other hand, the change in prices of gold or gold products cannot predict change in prices of Gasohol 95. However, we do not find Granger causality between the prices of Gasoline and gold or gold products in any directions.

Keyword  : Granger causality


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 16 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 26 ก.ค.-ต.ค. 2558 Siam Academic Review Vol. 16 No.1 Issue 26 Jul-Oct 2015

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่19ฉบับที่32-มีนาคม-กรกฎาคม-2561

การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน (2561)

[mfn]สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2561). การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน. สยามวิชาการ, 19(1), 1-18.[/mfn]    การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน
สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ     :  บทความนี้สนใจทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน ระเบียบวิธีการศึกษาจะเริ่มต้นจากทดสอบความนิ่ง (Stationary) ของข้อมูลอนุกรมเวลา จากนั้นสร้าง แบบจําลอง Autoregressive Model (AR(p)) โดยใช้ Akaike Information Criterion (AIC) กําหนดค่า p ที่เหมาะสมที่สุด สุดท้ายจึงทดสอบโดยใช้ F-test with n restriction ผล
การศึกษาเชิงเศรษฐมิติสามารถสรุปได้ว่า สมมติฐานนี้เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดรองเท้า หมวดเครื่องใช้และการบํารุงรักษาครัวเรือน และหมวดอุปกรณ์การประมวลผลข้อมูลภาพและเสียง อย่างไร
ตาม สมมติฐานข้างต้นไม่เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดเสื้อผ้า หมวดเครื่องเรือน และหมวดยานพาหนะ

คําสําคัญ    : การทดสอบสมมติฐาน, สินค้าคงทน

Abstract  :  This paper tests the hypothesis “high past durable goods spending leads low present durable goods spending”. We use econometric methods such as the unit root test, selecting
autoregressive model (AR (p)) with Akaike information criterion (AIC), and F-test with n restriction. The hypothesis is accepted for (a) footwear, (b) household equipment and maintenance of the house, and (c) audio-visual, photographic and information processing equipment. The hypothesis is rejected for (d) clothing, (e) furniture, and (f) purchase of vehicles.

Keywords  :  Hypothesis Testing, Durable Goods


 

Quick View

นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ (2560)

Title              : นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ : DIVIDEND POLICY FOR SMEs ENTREPRENEURS IN ECONOMIC CRISIS SITUATION

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด 

Surachai Pattarabanjird 

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com

บทคัดย่อ              :   ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของจํานวนผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ ผลกระทบต่อ SMEs อยู่ในภาวะที่ขาดทุน และผลกระทบที่สําคัญ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ดังนั้นในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจผู้ประกอบการ SMEs ต้องวางแผนในด้านนโยบายการจ่ายปันผลที่จะทําให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อกิจการและยังคงถือหุ้นของ SMEs ต่อไป

ผลการศึกษาจากงานวิจัยและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นปันผลทั้งในและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า หุ้นปันผลเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในระยะยาว หุ้นปันผลจะให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าตลาด และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนรวมสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนตํ่า และผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าการลงทุน ในพันธบัตรระยะยาว ตั๋วเงินคลังและตราสารเงินฝากในตลาดเงิน นอกจากนี้อัตราเงินปันผลตอบแทนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนรวมในสัดส่วนค่อนข้างสูง ดังนั้นหุ้นปันผลจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมและน่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนระยะกลางและระยะยาวในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

สําหรับนโยบายการจ่ายปันผลสําหรับผู้ประกอบการ สามารถจําแนกได้เป็น  1) นโยบายการจ่ายปันผลปกติ (Regular dividend policy) 2) นโยบายการจ่ายปันผลคงที่ ( ั Stable Dividend Policy) 3) นโยบายการจ่ายปันผลไม่คงที่ (Irregular Dividend Policy) 4) นโยบายการไม่จ่ายปันผล (No Dividend Policy) และ 5) นโยบายการจ่ายปันผลแบบกําหนดสัญญาระยะกลางหรือระยะยาว (Medium-WHUP DQG /RQJ-WHUP & RQWUDFWHG ‘LYLGHQG 3ROLF\) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่สําหรับผู้ประกอบการ SMEs อันเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอจ่ายปันผลในช่วงวิกฤติการณ์ โดยมีข้อดีที่สําคัญ เช่น ลดภาระการจ่ายปันผลให้กับผู้ประกอบการ  SMEs ของไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย สามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการและดํารงกิจการอยู่รอดไปได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนําเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายกิจการได้ต่อเนื่อง และช่วยลดภาระหนี้สินระยะสั้นและระยะกลาง เป็นต้น

คำสำคัญ              :  ผู้ประกอบการ SMEs นโยบายการจ่ายปันผล ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นปันผล

Abstract            :  World Economic Crisis has been an effect to Economic Crisis in Thailand from past to present time. These economic crises have a huge impact to Thai entrepreneurs especially SMEs entrepreneurs that has more than 90% of Thai entrepreneurs. These crises make a loss to SMEs entrepreneurs and has an impact to decrease return to equity (ROE) that come from unable to pay dividend. So in these crises, SMEs entrepreneurs must have a plan for dividend policy that will make a confident for its enterprises and shareholders.

Research studies on dividend payment in Thailand and other countries show that stock dividend is a good investment during economic crises especially in the long-term, stock dividend can pay return more than market return. Dividend yield from stock has a greater yield than longterm bond, treasury bill and money market instrument. So investment in stock dividend is a suitable and interesting for a medium-term and long-term investment during economic crises situation.

Dividend policies for SMEs entrepreneurs can be categorized in five approach ; 1) Regular Dividend Policy 2) Stable Dividend Policy 3) Irregular Dividend Policy 4) No Dividend Policy and 5) Medium-term and Long-term Contracted Dividend Policy, the new idea for SMEs entrepreneurs that cannot pay dividend during economic crisis but do not has a critical impact to stock price. This dividend policy has many advantages for SMEs entrepreneurs during economic crisis such as, decrease cash dividend for SMEs entrepreneurs, keep financial liquidity for SMEs entrepreneurs, SMEs entrepreneurs can use capital for another investments and Decrease shortterm debt.

Keywords         :  SMEs Entrepreneurs, Dividend Policies, Economic Crises, Stock Dividend

Download PDF:  นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ


Publication        : วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 Modern Management Journal Vol.15 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:   http://sms-stou.org/pr/index.php/th/?option=com_boonbooks&actiontype=tableofcontents


Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2560). นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. วารสารการจัดการสมัยใหม่,  15(1), 23-34. 


Quick View

เมื่อพร้อมเพย์ก็ควรจะพร้อมออม (2560)

 

Title              :  เมื่อพร้อมเพย์ก็ควรจะพร้อมออม : Prompt Pay should come with Prompt Saving

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด และ มนทิรา อารีพรสมสุข

Surachai Pattarabanjird and Monthira Tantrawanich

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com,  monthira@siam.edu

บทคัดย่อ              :   ระบบพร้อมเพย์ เป็นบริการโอนเงินและรับเงินทางเลือกใหม่ในการธุรกรรมทางการเงิน โดยใช้หมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่แทนที่บัญชีเงินฝากธนาคาร อาทิ การโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการในชีวิตประจำวัน การจ่ายสวัสดิการของภาครัฐ รวมถึงการคืนเงินภาษีแก่ประชาชน โดยเปิดการลงทะเบียนใช้ระบบนี้ผ่านธนาคารต่างๆ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 และลูกค้านิติบุคคลสามารถสมัครได้ตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป ระบบนี้เป็นแนวคิดในการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ตามนโยบายระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ โดยระบบการชำระเงินจะเป็นการผูกบัญชีเงินฝากธนาคารกับหมายเลขบัตรประชาชน หรือหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชน อันจะทำให้การชำระเงินและการโอนเงินเป็นไปได้อย่างสะดวกและรวดเร็วมากขึ้น แต่ระบบนี้อาจส่งผลกระทบด้านภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นและส่งผลกระทบต่อการออม ดังนั้น ผู้เขียนจึงใคร่ขอเสนอการนำระบบพร้อมออมมาใช้ร่วมกับระบบพร้อมเพย์ จะช่วยให้ผู้บริโภคเกิดการออมขึ้นเมื่อมีการใช้จ่าย และระบบพร้อมออมจะช่วยให้ผู้บริโภคมีวินัยและความรอบคอบในการใช้จ่ายให้มากขึ้น

คำสำคัญ              :  พร้อมเพย์, เศรษฐกิจดิจิทัล, พร้อมออม, กองทุนการออมแห่งชาติ, ระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ

Abstract            : Prompt Pay is a new payment system that uses ID-chip card number (Smart Card) or mobile phone number for convenient payment of any goods or services when making a transaction. It also enables a payment from Welfare State and tax redeem. This policy supports the digital economy as stated in the National e-Payment policy. The payment system is tied with a savings account with ID-chip card or mobile phone number that will make a convenient and rapid payment and transfer system. However, this payment system may have an impact on household debt increase and savings decrease. So, the Prompt Saving systemis proposed to be used along with the Prompt Pay system, and that will let consumers save more moneyanytime when a purchase is made, and the Prompt Saving system also helps consumers to have more discipline and prudence on expenditure.

Keywords         :  Prompt Pay, Digital Economy, Prompt Saving, National Saving Fund, National e-Payment


Publication        : วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ปีที่ 37 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 Executive Journal  Vol.37 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/executivejournal/issue/view/7444

Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด และ มนทิรา อารีพรสมสุข. (2560). เมื่อพร้อมเพย์ก็ควรจะพร้อมออม. วารสารนักบริหาร มหาวิทยาลัยกรุงเทพ,  37(1), 27-35. 


Quick View