ระบบค้นหาคําศัพท์ภาษามือบนแพลทฟอร์มแอนดรอยด์

 

Title              :  ระบบค้นหาคําศัพท์ภาษามือบนแพลทฟอร์มแอนดรอยด์ : Basic Sign Language Search System on Android Platform

Researcher       : เอก บํารุงศรี และ สุรเชษฐ์ แซ่ลี้

Bamrungsi E. and Saelee S.

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   eak.bam@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบค้นหาคําศัพท์ภาษามือบนแพลทฟอร์มแอนดรอยด์สําหรับผู้บกพร่องทางการได้ยินและบุคคลปกติทั่วไปนําไปใช้ได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีความจําเป็นในการสื่อสารกับผู้บกพร่องทางการได้ยิน ระบบสามารถค้นหาศัพท์ภาษามือพื้นฐานทั้งภาษามือไทยและภาษามืออังกฤษ โดยแสดงผลการค้นหาเป็นรูปภาพและคําอธิบายการแสดงภาษามือส่วนประกอบของระบบมี 3 ส่วนคือ (1) ระบบค้นหาคําศัพท์ภาษามือโดยวิธีการใช้คําค้น (search) (2) ระบบค้นหาคําศัพท์ภาษามือโดยวิธีการค้นหาตามหมวดหมู่ตัวอักษร (3) ระบบสําหรับติดต่อผู้พัฒนาระบบ ระบบพัฒนาโดยใช้ภาษาจาวาในการเขียนชุดคําสั่ง และใช้ Eclipse ที่มี Plug in Android SDK เป็นเครื่องมือพัฒนา ระบบช่วยให้การสื่อสารกับผู้บกพร่องทางการได้ยินทําได้สะดวกและรวดเร็วยิ่งขึ้น ส่งผลให้ผู็บกพร่องทางการได้ยินได้รับความช่วยเหลือจากบุคคลปกติทั่วไปได้รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น

คําสําคัญ             :   ภาษามือ ระบบค้นหา แอนดรอยด์

Abstract            :  This research is the development ofBasic Sign LanguageSearch system on Android Platform.Everyone is available anytime, anywhere to communicate with hearing impaired.The system can search Basic Thai andEnglish Sign Language.The system displays images and descriptions of gestures.The system consists of Word search system,Search by categoryand Contact developer system.Developers using Java and Eclipse with Android SDK as development tools.The system enables communication with the hearing impaired convenient and faster. As a result, hearing impaired people receive faster and more accurate help.

Keywords        :    Basic Sign Language, Search system, Android


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    เอก บํารุงศรี และ สุรเชษฐ์ แซ่ลี้. (2560). ระบบค้นหาคําศัพท์ภาษามือบนแพลทฟอร์มแอนดรอยด์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 1382-1391). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View

ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

Title              :  ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : Application Service System for Drugstore Management via Internet

Researcher       :  เอก บำรุงศรี, จรรยา แหยมเจริญ, ปณชัย นิยมกชกร และ ชาญชิต เลิศวงศ์สุวรรณ

Eak Bamrungsi, Janya Yamcharoen, Panachai Niyomkodachakorn and Chanchit Lerdwongsuwan

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  panachai.ny@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับช่วยการดำเนินงานของร้านขายยาขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยแอปพลิเคชั่นรองรับงานขายและงานสินค้าคงคลัง ระบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย 1. ระบบงานหลักสำหรับผู้ดูแลระบบ ในการบริหารจัดการร้านขายยาที่สมัครเข้ามาใช้บริการให้สามารถใช้งานระบบได้ และ 2. ระบบงานสำหรับร้านขายยา โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานจัดการงานขาย จัดการสินค้าคงคลัง และจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของร้าน พัฒนาระบบโดยกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ MVC (Model View Control) ด้วยภาษา C#, JavaScript, CSS และ HTML5 ด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2017 บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft SQL Server 2015 บริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา SQL ผลการดำเนินงานเมื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานระบบ พบว่า ระบบสามารถทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดไว้ และจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นเภสัชกร จำนวน 5 คน และพนักงานประจำร้าน จำนวน 5 คน ด้วยแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบ มีระดับความพีงพอใจอยู่ในระดับมาก ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.18

คําสําคัญ             :  ร้านขายยา, ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่น, บริหารจัดการร้านขายยา, บริหารร้านยาขนาดเล็กถึงกลาง, เครือข่ายอินเตอร์เน็ต, ระบบให้บริการ

Abstract            :  The objective of this research is to develop an Application Service System for Drugstore Management via Internet. This system will assist the operations of small to medium drugstore by supporting sales and inventory. The system consists of two parts: Part one for the administrator to manage the drugstore registered and Part two for drugstore to support business processes consist of the sales function, inventory function and report function. The system has been developed by C#, JavaScript, CSS, HTML5 as MVC programming with Microsoft Visual Studio 2017, use Microsoft SQL Server 2015 as a database management system. After testing the system, the result is the system can operate by defining functionality. In the evaluation process, the questionnaire applies to pharmacist 5 subjects and store staff 5 subjects. The results show that the level of satisfaction of the users is good.

Keywords        :    drugstore, Application Service provider, Manage Drugstore, Management Drugstore of Small to Medium, Internet Network, Application Service


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  เอก บำรุงศรี, จรรยา แหยมเจริญ, ปณชัย นิยมกชกร และ ชาญชิต เลิศวงศ์สุวรรณ. (2561). ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 259-IT 269). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View