IE Network Conference 2018

การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้

บทคัดย่อ

ในกรณีศึกษาการปรับปรุงกระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้ในกระบวนการฉีดพลาสติกเพื่อยกระดับประสิทธิผลสูงสุด จากการสำรวจสภาพปัจจุบันพบว่ากระบวนการผลิตบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้มีค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร 28.6 เปอร์เซ็นท์ต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด 76.6 เปอร์เซ็นท์ จากการวิเคราะสาเหตุปัญหาด้วยการวิเคราะห์ Why – Why พบว่าสามาจากการหยุดเพื่อซ่อมบำรุงและการปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อการลดปริมาณของเสียในกระบวนการฉีกพลาสติก จากการศึกษาพบว่าสาเหตุงรากเหง้าของปัญหามาจากความเสียหายชิ้นส่วนโอริงในแหล่งจ่ายน้ำมันไฮดรอลิคที่เสื่อมสภาพตามอายุการใช้งาน ผลจากการปรับปรุงพบว่าสามารถเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรจาก 28.6 เปอร์เซ็นท์เป็น 82.4% รวมทั้งสามารถลดความสูญเสียให้สถานประกอบการ 415,200 บาท/เดือน

คำหลัก : ประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักร กระบวนการฉีดพลาสติก การวิเคราะห์ Why – Why


Abstract

In this case study is orchid packaging process improvement to get the maximum of effectiveness on plastic injection molding. At the current process status, the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 28.6 % which is lower than 78.6 % target from machine downtime and quality improvement. The root cause of phenomena is the hydraulic pump oil seal which is deterioration. After corrective action found that the overall equipment effectiveness of the plastic injection molding process is 82.4% and cost saving 415,200 Bath per month.

Keywords:  Overall Equipment Effectiveness, Plastic Injection Molding, Why – Why Analysis.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

อัมรินทร์ วงศ์เศรษฐี และจุมพล บารุงวงศ์. (2561). การปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมของเครื่องจักรในกระบวนการฉีดพลาสติก กรณีศึกษาบรรจุภัณฑ์กล้วยไม้. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 1092-1096). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


Amarin Wongsetti and Joompon Bamrungwong. (2018). The Overall Equipment Effectiveness Improvement for Plastic Injection Molding Process in Case of the Orchid Packaging. IE Network Conference 2018 (pp. 1092-1096). Ubonratchathani: Department of Industrial Engineering Ubon Ratchathani University.

Quick View
IE Network Conference 2018

การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

บทคัดย่อ

เนื่องด้วยอุตสาหกรรมการผลิตในยุคปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูงมาก และเป็นผลมาจากกลไกของตลาดที่มีการแข่งขันสูงเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่สูงขึ้นภายใต้ทรัพยากรที่มีจำกัด อาทิเช่น ต้นทุนและเวลาในการผลิต เป็นต้น ซึ่งงานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์คือลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรลงจากเดิมคือใช้เวลาโดยเฉลี่ย 96 นาทีต่อครั้ง โดยมีเป้าหมายคือต่ำกว่า 50 นาทีต่อครั้ง จากการวิเคราะห์การทำงานโดยการใช้แผนภูมิกระบวนการไหล แล้วใช้เทคนิค SMED เพื่อเปลี่ยนกิจกรรมภายในให้เป็นกิจกรรมภายนอก จากนั้นจึงทำการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานด้วยเทคนิค ECRS นอกจากนี้ทีมวิจัยยังกำหนดวิธีการ ทำงานดังกล่าวให้เป็นมาตรฐานในการทำงาน (Work instruction) โดยผลของการปรับปรุงงานดังกล่าวทำให้เวลาในการทำงานลดลงโดยเฉลี่ยจาก 96 นาที เหลือเพียง 46 นาที ซึ่งทำได้ดีกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้คือ 50 นาที ผลการปรับปรุงดังกล่าวนี้ ส่งผลให้ Machine utilization เพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยก่อนปรับปรุงอยู่ที่ร้อยละ 84.76 และหลังปรับปรุงค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 92.70 อีกทั้งยังทำให้ค่า Manpower utilization ของพนักงานประจำเครื่องเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน อันส่งผลให้ภาพรวมของผลผลิต เพิ่มขึ้นจากเดิมคือ 37,380 ชิ้นต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็น 40,880 ชิ้นต่อวัน ในการปรับปรุงดังกล่าวนี้มีการลงทุนซื้ออุปกรณ์เพื่อลดเวลาการทำงาน จากการหาจุดคุ้มทุน (BE.) คืออยู่ที่ 814 ชิ้น การปรับปรุงนี้สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลาอันสั้น

คำหลัก: การเพิ่มประสิทธิภาพ, จุดคุ้มทุน, เทคนิคการลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักร, มาตรฐานการทำงาน.


Abstract

At present, situation of manufacturing industry has more competitive, and affected from supporting the customer requirements in the market with limited resources such as cost and production time. The objective of this research was decreased machine setup time by avg. from 96 min./time, so the target was 50 min./time. From operations analysis by using Flow process chart and using SMED technique to convert Internal setup to be External setup. Then, improved operations by using ECRS technique. Furthermore, the research team has created the standardization by Work instruction. The result after improve was decreased machine setup time by avg. from 96 min./time to be 46 min./time. It was better that the target as 50 min./time. Machine utilization was increased from 84.76% to be 92.70%. Manpower utilization was improved also. Finally, increased production rate from 37,380 pcs./day to be 40,880 pcs./day. They have some investment to order the equipment to support this work, and they calculated BE. was only 814 pcs.

Keywords: Increasing Efficiency, Break Even Point, Single Minute Exchange of Die, Work Instruction.


งานที่อ้างถึง/Bibliography

ธนารักษ์ หีบแก้ว และอดิศักดิ์ สมสูตร. (2561). การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต. การจัดประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ.2561 (หน้า 10152-1020). อุบลราชธานี: ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.


Thanarak Heebgaew and Adisak Somsut. (2018). Machine Setup Time Reduction to Increase the Efficiency in Production. IE Network Conference 2018 (pp. 1015-1020). Ubonratchathani: Ubon Ratchathani University.

Quick View