ระบบค้นหาร้านอาหารด้วยการวิเคราะห์ส่วนบุคคล

 

Title              :  ระบบค้นหาร้านอาหารด้วยการวิเคราะห์ส่วนบุคคล : Restaurant Search System with Personalized Analysis

Researcher       :  จรรยา แหยมเจริญ, บุญฤทธิ์ รั่วสำราญ และ วรยศ คำลือ

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  boonyarit.rou@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่จะนำมาวิเคราะห์เพื่อแนะนำร้านอาหารให้เหมาะกับบุคคลแต่ละบุคคล (Personalized Recommender) โดยวิเคราะห์จากประเภทความชอบอาหารและวัตถุดิบอาหารที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในแต่ละบุคคลที่เหมือนกัน โดยศึกษาจากข้อมูลทดสอบ (Training Data Set) ที่รวมมาได้จากแบบสอบถามพฤติกรรมในการเลือกรับประทานอาหาร ที่ค่าความเหมือน 1.98-2.00 และพัฒนาระบบค้นหาร้านอาหารด้วยการวิเคราะห์ส่วนบุคคล ที่แบ่งการทำงานออกเป็น 3 ส่วน ประกอบด้วย ส่วนที่ 1 เป็นเว็บแอพพลิเคชัน สำหรับผู้ดูแลระบบในการจัดการข้อมูลข้อมูลหลักที่ใช้ใน ส่วนที่ 2 เป็นแอนดรอยด์โมบายแอพพลิเคชัน สำหรับผู้ใช้ที่เป็นร้านอาหาร และส่วนที่ 3 เป็นแอนดรอยด์โมบายแอพพลิเคชัน สำหรับผู้ใช้ที่เป็นผู้บริโภค สามารถกำหนดข้อมูลส่วนตัว เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ และค้นหาร้านอาหารที่เหมาะสมได้ ในการพัฒนาระบบแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1. Backend System พัฒนาโดยใช้ภาษาจาวาสร้างฟังก์ชันรองรับการทำงานของฝั่งโมบายแอพพลิเคชัน และจัดการฐานข้อมูลด้วย MySql และ 2. Frontend System เป็นโมบายแอพพลิเคชันที่ทำงานบนแพลตฟอร์มแอนดรอยด์ พัฒนาด้วย Android SDK ผ่านโปรแกรม Android Studio

คําสําคัญ             :  ร้านอาหาร, การวิเคราะห์ส่วนบุคคล, การหาค่าความเหมือน

Abstract            :  The objective of this research is to study the variables which will be analyzed to introduce the restaurant to the individual. The personalized recommendation is based on the type of the food preferences and the food ingredients that cause allergic reactions in the same person by the study from training data set is included from questionnaire at the similarity value is 1.98-2.00. And to develop the restaurant search system with personalized analysis. The system consists of three parts: Part one is a web application for administrator to manage the master data, Part two is an Android mobile application for restaurant users, and Part three is an Android mobile application for consumer users to define their personal data for analysis to find the right restaurant. The development of the system is divided into two parts: 1. Backend System developed by using Java to create functions for mobile applications and use MySql to be database management system and 2. Frontend System is a mobile application on the Android platform developed with Android SDK.

Keywords        :    restaurant, personalized analysis, similarity value


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  จรรยา แหยมเจริญ, บุญฤทธิ์ รั่วสำราญ และ วรยศ คำลือ. (2561). ระบบค้นหาร้านอาหารด้วยการวิเคราะห์ส่วนบุคคล. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 487-IT 495). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

ระบบตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของฐานข้อมูล

 

Title              :  ระบบตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของฐานข้อมูล : Database Monitoring and Analysis System

Researcher       :  จรรยา แหยมเจริญ, สหวัสส์ จันทวงศ์ และ วัชรพงษ์ อธิกิจโชติ

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   sah_jan@siam.edu

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของระบบฐานข้อมูลให้เป็นอัตโนมัติ ลดภาระการทำงานของผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลในการแก้ปัญหาของระบบฐานข้อมูลที่เกิดปัญหาเดิมซ้ำๆ กันเป็นประจำ โดยวิเคราะห์จากข้อมูลล็อกไฟล์ ที่ส่งมาจากเครื่องแม่ช่ายฐานข้อมูลที่ต่างแพลทฟอร์มกัน โดยประกอบด้วย Microsoft SQL Server, Oracle, IBM DB2 เป็นต้น
กระบวนการทำงานของระบบจะเริ่มตั้งแต่การตรวจสอบแพลทฟอร์ม เพื่อให้ทราบรูปแบบการจัดเรียงข้อมูลในล็อกไฟล์ และทำการแยกแยะข้อมูลและแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่กำหนด นำไปจัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลของระบบ จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลทีละรายการว่าเป็น ข้อผิดพลาดหรือไม่ ถ้าใช่จะทำการค้นหาเปรียบเทียบกับข้อผิดพลาดที่บันทึกเป็นประวัติในฐานข้อมูล ถ้าพบข้อผิดพลาดที่ตรงกันจะทำการอ่านวิธีการแก้ไขปัญหา ซึ่งจะเป็นสคริปต์ ส่งไปยังเครื่องแม่ข่ายเพิ่อทำการแก้ไขปัญหาข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นข้อผิดพลาดที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนจะส่งไปยังผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และทำการบันทึกแนวทางการแก้ปัญหาสำหรับเป็นข้อมูลอ้างอิงในครั้งถัดไป ในการพัฒนาใช้ภาษา SQL เป็นหลัก โดยสร้าง Store Procedure และ Trigger เพื่อให้การทำงานเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นสำหรับผู้ดูแลระบบในการแจ้งเตือนและบันทึกข้อมูล รวมถึงดูผลการทำงานของเครื่องแม่ข่ายในรูปแบบกราฟด้วย ผลการทดสอบ ผู้ศึกษาได้จำลองระบบให้เสมือนระบบงานจริง และให้ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูลได้ทดสอบประสิทธิภาพของระบบ และเก็บผลการประเมินด้วยแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบ มีระดับความพีงพอใจอยู่ในระดับที่คะแนนเฉลี่ย 3.10

คําสําคัญ             :  ระบบฐานข้อมูล, ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล, การวิเคราะห์ข้อมูล

Abstract            :  The objective of this research is to develop a system for monitoring and analyzing database system. Data administrator have to repeatedly look at report files from different server platforms such as Microsoft SQL Server, Oracle, and IBM DB2. This program can reduce the workload of data administrator. The system process consists of platform detection, data transformation and data analyzes. The system detects errors, and analyzes by using historical data in a database. Then the system will notify the errors to database administrator. The system has been developed by SQL language to create stored procedure, and trigger for performance. Also, the system has web application for database administrator to monitor the server’s performance with graphs. We have already tested the system by installing it in a virtual system and let a database administrator test its performance. After evaluation process from the test, the satisfaction level result is 3.10.

Keywords        :    database system, database administrator, data analysis


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  จรรยา แหยมเจริญ, สหวัสส์ จันทวงศ์ และ วัชรพงษ์ อธิกิจโชติ. (2561). ระบบตรวจสอบและวิเคราะห์การทำงานของฐานข้อมูล. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 310-IT 318). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

 

Title              :  ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต : Application Service System for Drugstore Management via Internet

Researcher       :  เอก บำรุงศรี, จรรยา แหยมเจริญ, ปณชัย นิยมกชกร และ ชาญชิต เลิศวงศ์สุวรรณ

Eak Bamrungsi, Janya Yamcharoen, Panachai Niyomkodachakorn and Chanchit Lerdwongsuwan

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  panachai.ny@gmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สำหรับช่วยการดำเนินงานของร้านขายยาขนาดเล็กถึงขนาดกลาง โดยแอปพลิเคชั่นรองรับงานขายและงานสินค้าคงคลัง ระบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย 1. ระบบงานหลักสำหรับผู้ดูแลระบบ ในการบริหารจัดการร้านขายยาที่สมัครเข้ามาใช้บริการให้สามารถใช้งานระบบได้ และ 2. ระบบงานสำหรับร้านขายยา โดยมีฟังก์ชั่นการทำงานจัดการงานขาย จัดการสินค้าคงคลัง และจัดทำรายงานเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานของร้าน พัฒนาระบบโดยกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบ MVC (Model View Control) ด้วยภาษา C#, JavaScript, CSS และ HTML5 ด้วยโปรแกรม Microsoft Visual Studio 2017 บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วย Microsoft SQL Server 2015 บริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา SQL ผลการดำเนินงานเมื่อให้ผู้ใช้ทดลองใช้งานระบบ พบว่า ระบบสามารถทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดไว้ และจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่าง ๆ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นเภสัชกร จำนวน 5 คน และพนักงานประจำร้าน จำนวน 5 คน ด้วยแบบสอบถามประเมินประสิทธิภาพของระบบ มีระดับความพีงพอใจอยู่ในระดับมาก ที่ระดับคะแนนเฉลี่ย 4.18

คําสําคัญ             :  ร้านขายยา, ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่น, บริหารจัดการร้านขายยา, บริหารร้านยาขนาดเล็กถึงกลาง, เครือข่ายอินเตอร์เน็ต, ระบบให้บริการ

Abstract            :  The objective of this research is to develop an Application Service System for Drugstore Management via Internet. This system will assist the operations of small to medium drugstore by supporting sales and inventory. The system consists of two parts: Part one for the administrator to manage the drugstore registered and Part two for drugstore to support business processes consist of the sales function, inventory function and report function. The system has been developed by C#, JavaScript, CSS, HTML5 as MVC programming with Microsoft Visual Studio 2017, use Microsoft SQL Server 2015 as a database management system. After testing the system, the result is the system can operate by defining functionality. In the evaluation process, the questionnaire applies to pharmacist 5 subjects and store staff 5 subjects. The results show that the level of satisfaction of the users is good.

Keywords        :    drugstore, Application Service provider, Manage Drugstore, Management Drugstore of Small to Medium, Internet Network, Application Service


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  เอก บำรุงศรี, จรรยา แหยมเจริญ, ปณชัย นิยมกชกร และ ชาญชิต เลิศวงศ์สุวรรณ. (2561). ระบบให้บริการแอปพลิเคชั่นบริหารจัดการร้านขายยาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 259-IT 269). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View