วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-Silpakorn-University-Journal-Thai- Vol34-No3 Sep-Dec-2014

รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ระยะการทำวิจัยตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – เมษายน พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยนอกที่ใช้บริการในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 880 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) สถิติที่ทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิติวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชนประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ และปัจจัยการต้อนรับของแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน โดยปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลมากที่สุด คือ ปัจจัยการต้อนรับของแผนก อายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ ตามลำดับ (2) ปัจจัยความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนในด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการแนะนำบอกต่อลูกค้ารายอื่น

KEYWORDS: การบริการสุขภาพ, ความพึงพอใจ, แผนกอายุรกรรม


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 34(3), 151-170.

 By Rungroje Songsraboon

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-VOL 38 NO 1 (2561)

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป ประกอบด้วย 1) มีความรู้ตรงกับงานที่ทำ 2) มีทักษะในการสังเกต 3) มีการวางแผนธุรกิจได้ดี 4) สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี 5) มีการสื่อสารที่ดี 6) มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม

คำสำคัญ: สมรรถนะ, บัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป


Abstract

The research aimed to study essential professional competencies required of graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration. This study was a qualitative research and used the grounded theory methodology. This methodology was a part of an alternative paradigm. Data were collected, using in-depth interview with semi-structured questions in the interview and non-participant observation. 15 key informants were from 3 groups: 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni. Data analysis based on in-depth interview indicated that professional competencies which were required of the graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration, consisted of 1) knowledge directly relevant to the job, 2) observation skills, 3) efficient business planning, 4) ability to use the software program, 5) effective communication, and 6) honesty and ethics.

KEYWORDS: Essential competencies, Graduates, Department of General Management, Faculty of Business Administration


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 136-154.

Essential professional competencies required of graduates from the department of general management, Faculty of Business Administration

Quick View

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร (2561)

 

Title              :  สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร : Essential Competencies Required of Graduates from the Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking

Researcher       :  ดร. รุ่งโรจน์ สงสระบุญ¹ อาจารย์วิมล ประคัลภ์พงศ์² อาจารย์สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์³

Department     :  ¹อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการทั่วไป คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160
²อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160
³อาจารย์ประจำภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยามกรุงเทพฯ 10160

E-mail                :  ผู้ประสานงานหลัก: rrs101@hotmail.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร ประกอบด้วย 1) ความรู้ด้านการเงิน 2) มีทักษะในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ 3) มีการทำงานเป็นทีม 4) มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี และ 5) มีความซื่อสัตย์

คําสําคัญ             :  1. สมรรถนะ 2. บัณฑิต 3.คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร

Abstract            :  The research aimed to study essential competencies required of graduates from The Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking. This research was a qualitative research and establishing the grounded theory methodology. This methodology was a part of alternative paradigm. Data were collected by in-depth interviews semi
structured questions in interview and non-participant observation. The key informants were 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni with totaling 15
informants. The research result was found that performance required for the professional practice of the graduates, Faculty of Business Administration Department of Finance and Banking consists of 1) knowledge of finance and investment 2) systematic problem solving skills 3) skill of Interpersonal and responsibilities 4) Skills in numerical analysis and 5) moral / ethical skills, honesty

Keywords        :     1. Essential Competencies 2. Graduates 3. Business Administration Department of Finance and Banking

Donwload PDF  :  สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” ศูนย์บริการวิจัย และ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม 2561 ณ ห้องประชุมหอประวัติและพิพิธภัณฑ์ ดร.ไสว สุทธิพิทักษ์ อาคาร 6 ชั้น 7 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :    รุ่งโรจน์ สงสระบุญ, วิมล ประคัลภ์พงศ์  และ สมชัย เอื้อวิบูลย์ทรัพย์. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 13 เรื่อง “Changing Era: What’s happening in Arts & Design in 21St Century? เปลี่ยนผ่านอย่างสร้างสรรค์สู่ศตวรรษที่ 21” (หน้า 82-92). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


 

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-VOL 38 NO 1 (2561)

แบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอองค์ความรู้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย ด้วยข้อมูลของตัวแปรสังเกตได้หลายๆ ตัวแปร ที่สามารถทำนายที่ส่งผลหรือมีอิทธิพลต่อตัวแปรแฝง (latent variable) ที่ตัวแปรแฝงนั้นวัดได้จากตัวบ่งชี้ ได้หลายตัวแปร ขั้นตอนการการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ที่เริ่มด้วยการนำข้อมูลจากโปรแกรม Statistical Package for the Social Science for Windows (SPSS) และทำการวิเคราะห์แบบจำลองสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL หรือ Analysis of Moment Structure: AMOS ที่ต้องมีขั้นตอนสำคัญ ได้แก่ การเตรียมข้อมูลดิบ การระบุ โมเดลหรือวาดภาพโมเดลจากการวิจัย การกำหนดการแสดงผลการวิเคราะห์ การวิเคราะห์โมเดล และการปรับโมเดล โดยค่าสถิติที่ได้จากการแสดงผลของตัวแปรสังเกตได้ที่มีผลต่อตัวแปรแฝง (latent variable)


Abstract

The objective of this article was to present the structural equation modeling for prediction based on observable variables which can predict or have effects on latent variables. The analysis of the structural equation modeling (SEM) starts from retrieving data from statistical package for the social science for Windows (SPSS), analyzing the structural equation modeling (SEM) using LISREL or Analysis of Moment Structure (AMOS). The necessary steps include preparing raw data, constructing a model or picturing a model based on research, deciding model presentation, analyzing the model, and adjusting the model based on the statistics of observable variables which have effects on latent variables.


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2560). แบบจำลองสมการโครงสร้างเพื่อการทำนาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 185-205.

Structural equation modeling for prediction

Quick View