วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย-ปีที่36-ฉบับที่3

ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของตัวแปรสาเหตุได้แก่ ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อตัวแปรผลได้แก่ ความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย โดยผ่านตัวแปรกลางคือการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ โดยมีตัวแปรแทรกคือสมรรถนะทางเทคโนโลยี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย ที่ประกอบธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคมีผลกระทบทางบวกต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ 2) ความฉลาดทางอารมณ์มีผลกระทบทางบวกต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ 3) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการมีผลกระทบทางบวกต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย 4) สมรรถนะทางเทคโนโลยีไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ  เจนเนอเรชั่นวาย

KEYWORDS: ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค, ความฉลาดทางอารมณ์, การมุ่งเน้น.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2559). ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 37-68.

The effects of Adversity Intelligence and Emotional Intelligence on Success of Generation Y Entrepreneurs

Quick View
วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา-ปีที่26-ฉบับที่51-2561

อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร

Abstract

The purposes of this research were 1) to examine the congruence of structural equation model of readiness to work of retired elderly with empirical data, and 2) to study the direct effect, indirect effect and total effect antecedents on readiness to work of retired elderly. The data were collected from five hundred elders by questionnaire. The data was analyzed in term of structural equation modeling. The results showed as following: the structural equation modeling of readiness to work of retired elderly was congruent with the empirical data (x2 = 646.978, df = 266, p = 0.000, x2/df = 2.432, GFI = 0.903, TLI = 0.925, CFI = 0.933, RMSEA = 0.054, Critical N = 236); work potentiality, social support, self care behaviors and self esteem accounted for the variance of readiness to work of retired elderly by 71 percent. Self care behaviors, self esteem and work potentiality had direct effect on readiness to work of retired elderly respectively. In addition, social support, self care behaviors and work potentiality had indirect effect on readiness to work of retired elderly respectively.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2561). อิทธิพลของศักยภาพในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการเห็นคุณค่าแห่งตนที่มีผลต่อความพร้อมในการทำงานหลังเกษียณของผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 26(51), 46-69.


The Influence of Work Potentiality, Social Support, Self Care Behaviors and Self Esteem on Readiness to Work of Retired Elderly in Bangkok

Quick View