Comparison of the Effectiveness and Safety of Clozapine Between Once-Daily and Divided Dosing Regimen in Patients With Treatment-Resistant Schizophrenia (2023)

Title           : Comparison of the Effectiveness and Safety of Clozapine Between Once-Daily and Divided Dosing Regimen in Patients With Treatment-Resistant Schizophrenia

Researcher       :  Thanompong Sathienluckana, Thaksin Jansing,Supakan Srisuriyakamon, Aunchalee thonkhunthod, Parsiri Sangsuwanto, Pholphat Losatiankij and Suttha Supanya

Link to article: Annals of Pharmacotherapy, 2023 Sep 24;10600280231201708. https://doi.org/10.1177/10600280231201708

Citation  : Sathienluckana T, Jansing T, Srisuriyakamon S, Thonkhunthod A, Sangsuwanto S, Losatiankij P and Supanya S. (2023). Comparison of the effectiveness and safety of clozapine between once-daily and divided dosing regimen in patients with treatment-resistant schizophrenia. Annals of Pharmacotherapy, 10600280231201708. https://doi.org/10.1177/10600280231201708


Journal : Annals of Pharmacotherapy  / in Scopus


ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม  : https://e-research.siam.edu/kb/comparison-of-the-effectiveness/

Quick View

Therapeutic drug monitoring of intravenous busulfan in Thai children undergoing hematopoietic stem cell transplantation: A pilot study (2021)

Title           :  Therapeutic drug monitoring of intravenous busulfan in Thai children undergoing hematopoietic stem cell transplantation: A pilot study

Researcher       Thaksin Jansing, Kleebsabai Sanpakit, Trai Tharnpanich, Thanjira Jiranantakan, Vachira Niphandwongkorn, Busba Chindavijak & Thanarat Suansanae

Link to article: Pediatric Hematology and Oncology, Volume 38, 2021 – Issue 4, pp.346-357. https://doi.org/10.1080/08880018.2020.1871136

Citation  : Jansing, T., Sanpakit, K., Tharnpanich, T., Jiranantakan, T., Niphandwongkorn, V.,  Chindavijak, B., & Suansanae, T.  (2021). Therapeutic drug monitoring of intravenous busulfan in Thai children undergoing hematopoietic stem cell transplantation: A pilot study. Pediatric Hematology and Oncology, 38(4), 346-357. https://doi.org/10.1080/08880018.2020.1871136


Journal : Pediatric Hematology and Oncology / in Scopus


ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม  : https://e-research.siam.edu/kb/therapeetic-drug-monitoring-of-intravenous-busulfan-in-thai-children-undergoing-hematopoietic-stem-cell-transplantation-a-pilot-study/

Quick View
วารสารเภสัชกรรมไทย-ทักษิณ จันทร์สิงห์.

ความรู้ทั่วไปสำหรับเภสัชกรเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในเด็ก (2562)

บทคัดย่อ

การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (hematopoietic stem cell transplantation: HSCT) มีจุดมุ่งหมายเพื่อทดแทนเซลล์ที่ผิดปกติในไขกระดูกหรือเพิ่มศักยภาพในการรักษาโรคร้ายชนิดต่าง ๆ ในเด็กให้มีโอกาสหายขาด เช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งชนิดก้อน โรคโลหิตจางธาลัสซีเมียระดับรุนแรง โรคไขกระดูกฝ่อชนิดรุนแรง และกลุ่มโรคทางภูมิคุ้มกันบกพร่องตั้งแต่ กำเนิด ก่อนการทำ HSCT เซลล์ต้นกำเนิดดั้งเดิมในไขกระดูกของผู้ป่วยจำเป็นจะต้องถูกทำลายเสียก่อนโดยการให้ยาเคมีบำบัดขนาดสูง (อาจใช้ร่วมกับการฉายรังสี) ที่เรียกว่า preparative regimens โดยใช้เวลาประมาณ 5-10 วันแล้วแต่สูตรการรักษา เซลล์ ต้นกำเนิดเม็ดเลือดที่ปลูกถ่ายให้แก่ผู้ป่วยมีแหล่งที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่ ไขกระดูก กระแสเลือด หรือสายสะดือของผู้บริจาค จากนั้นจะนำมาบริหารให้แก่ผู้ป่วยหลังจากได้รับสูตรยา preparative regimens เสร็จสิ้นแล้ว กระบวนการปลูกถ่ายเซลล์ต้น กำเนิดอาจมีรายละเอียดแตกต่างกันในผู้ป่วยเด็กแต่ละราย ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค สภาพความพร้อมทางร่างกาย ชนิดของการปลูกถ่าย แหล่งของเซลล์ต้นกำเนิด ชนิดของสูตรยา preparative regimens และยาที่ใช้ในการป้องกันภาวะเซลล์ต้น กำเนิดใหม่ต่อต้านร่างกาย (graft-versus-host disease: GVHD) เภสัชกรมีบทบาทหน้าที่ในการตรวจสอบความถูกต้องของใบสั่ง ยา ผสมยาเคมีบำบัด และช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากยา preparative regimens ได้เช่น การใช้ยา ป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัด การป้องกันเยื่อบุในช่องปากอักเสบ การใช้ยาป้องกันการชักจากยา busulfan การ ใช้ mesna ในการป้องกันการอักเสบและมีเลือดออกในกระเพาะปัสสาวะจากยา cyclophosphamide การช่วยติดตามและปรับระดับยาในเลือดของยา busulfan หรือยากดภูมิคุ้มกันชนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามเป้าหมาย อีกทั้งยังช่วยป้องกันอันตรกิริยา ระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยจากการใช้ยา คำสำคัญ: เภสัชกร มะเร็งในเด็ก การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด ยาเคมีบำบัดขนาดสูงก่อนปลูกถ่าย

งานที่อ้างถึง

ทักษิณ จันทร์สิงห์. (2562). ความรู้ทั่วไปสำหรับเภสัชกรเกี่ยวกับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือดในเด็ก. วารสารเภสัชกรรมไทย, 11(1), 194-214.

Quick View

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง และการจัดการโดยใช้ยาตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา (2563)

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง และการจัดการโดยใช้ยาตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา (2563)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.ทักษิณ จันทร์สิงห์

บทคัดย่อ:

ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia) มักพบในผู้ป่วยมะเร็งระยะท้าย เป็นกลุ่มอาการที่มีความซับซ้อน โดยจะพบการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อโครงร่างอย่างต่อเนื่อง และ/หรือร่วมกับการสูญเสียไขมันในร่างกาย การจัดการภาวะ cancer cachexia เป็นไปในลักษณะของพหุสาขา โดยอาศัยหลาย ๆ วิธีร่วมกัน ทั้งการรักษาโรคมะเร็ง การจัดการภาวะแทรกซ้อนจากการรักษามะเร็ง การให้คำปรึกษาเรื่องโภชนาการ และการใช้ยารักษาภาวะ cancer cachexia ปัจจุบันยังไม่มีรายการยาที่ได้รับอนุมัติข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะ cancer cachexia แต่รายการยาที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา ปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ อนุพันธ์ของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน เช่น megestrol acetate ขนาด 200-600 มิลลิกรัม/วัน ขนาดยาดังกล่าวมีผลเพิ่มความอยากอาหาร และน้ำหนักตัว และ corticosteroids เช่น dexamethasone ขนาด 3-4 มิลลิกรัม/วัน (หรือยาอื่นที่ทัดเทียม) มีผลเพิ่มความอยากอาหาร แต่การพิจารณาการใช้ยาแต่ละชนิดควรประเมินความปลอดภัยร่วมด้วย จำกัดการใช้ในรายที่ได้ประโยชน์มากกว่าผลข้างเคียงที่ได้รับ

คำสำคัญ:

Link to Academic article: ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากโรคมะเร็ง และการจัดการโดยใช้ยาตามแนวทางของมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งสหรัฐอเมริกา

Quick View