การรักษาโรคเต้านมอักเสบในปศุสัตว์ (2563)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.วิริยาพร ศิริกุล* ภญ.อภิชญา ดวงรัตนประทีป ภญ.อัจฉราภรณ์ สุขเจริญ นศภ.น้ำทอง ชำนิจ

บทคัดย่อ:

โรคเต้านมอักเสบ (mastitis) ในโคนมนั้น เป็นปัญหาสำคัญในทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากคุณภาพของน้ำนมโคที่ได้นั้นลดต่ำลง ไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อีกทั้งต้องสูญเสียค่ารักษาในโคนมที่เป็นโรคนี้อีกด้วย โดยโรคเต้านมอักเสบ คือภาวะของการอักเสบที่เกิดขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อภายในเต้านม ส่งผลให้เต้านมมีลักษณะบวมแดงและน้ำนมโคที่ได้จะมีปริมาณและคุณภาพลดลงเต้านมจะมีลักษณะอักเสบบวมแดงหรือโคนมจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ ประกอบกับลักษณะน้ำนมเปลี่ยนแปลงไปจะพบน้ำนมเป็นก้อนหรือเป็นแผ่น หรือสีของน้ำนมเปลี่ยนเป็นใส และจะพบการวิเคราะห์ของน้ำนมผิดปกติไปได้เช่นเดียวกับเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ ในการรักษาเต้านมอักเสบในโคนมปัจจุบันด้วยการบริหารการให้ยาผ่านการฉีดโดยสามารถฉีดได้ทั้งเข้ากล้าม (intramuscular; IM) เข้าหลอดเลือดดำ (intravenous; IV) และการสอดผ่านทางเต้านม (intramammary) และมีการพัฒนารูปแบบที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยา เพื่อลดจำนวนการให้ยาต่อวันและให้ผลในการรักษาดีขึ้น

คำสำคัญ: โรคเต้านมอักเสบ ยาปฏิชีวนะ ยาสอดเต้า

Link to Academic article: การรักษาโรคเต้านมอักเสบในปศุสัตว์

Quick View