แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

[mfn]สมหมาย จันทร์เรือง. (2557). แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. กระแสวัฒนธรรม, 15(28), 17-26.[/mfn]   แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร. สมหมาย จันทร์เรือง

บทคัดย่อ                : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาเจาะจง จำนวน 14 คน และกระบวนการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5 คน นำมารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช คือการปกครอง ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาในการปกครอง ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการเมืองการปกครองไทยในปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่งทศพิธราชธรรม ได้นำมาประยุกต์กับการบริหารองค์การภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง สำหรับการปกครองของประเทศไทยด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสอดคล้องกับหลักธรรมราชาหรือราชาธิปไตย ที่ผู้นำการปกครองต้องกอปรด้วย คุณธรรมจริยธรรมตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยความซื่อสัตย์สุจริต และความกล้าหาญเป็นคุณสมบัติที่สังคมไทยต้องการมากที่สุด นอกจาก ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำเสนอแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธผ่านทางนวนิยายและบทความในหนังสือพิมพ์แล้วยังได้แสดงบทบาทดำรงตนและดำรงความเป็นผู้นำทางการเมืองตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา อันถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักการเมืองและการบริหารบ้านเมืองไทยในทุกยุคทุกสมัย

คำสำคัญ                :  แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธ,  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

Abstract              :  The objective of this research is study the Buddhist Approach on Political Concepts of M.R. Kukrit Pramoj. The research methodology employed this research is qualitative, including several qualitative methods of (1) documentary research, (2) in-depth interview with fourteen informants selected by purposive sampling method and (3) focus group interview with five qualifying experts, in which descriptive approach of data analysis were employed. The result of the study was that the Buddhist political Concepts of M.R. Kukrit Pramoj resembles Buddhist principles of governance which include: desa-raja-dhamma (Ten Duties of the King), sanga-ha-vatthu (Principles of Service and Social Integration), and cak-ka-vatti-vat (Duties of the Great rulers). All these principles were being widely adapted to modern Politics and Governance in Thailand, especially the desa-raja-dhamma (Ten Duties of the King) that being applied in managing public and private sectors nationwide. Consequently, the democratic form of governance in Thailand with the King as the head of the state stipulates the condition of dhamma-raja in which the head of the state must uphold their virtue and moral according to the Buddhist principles. Ultimately, honesty, integrity, and courage are leadership characteristics mostly demanded by Thai public and society. Apart from the fact that M.R. Kukrit Pramoj had presented his Buddhist political ideology via his several outstanding masterpieces including novels and newspaper articles, he also consistently live and committed to his role status as a faithful Buddhist-principle-guided Thai political leader, thus, being a great role model for both politics and governance circles in Thailand until nowadays.

Keywords           :  Political Concepts on Buddhist Approach, M.R. Kukrit Pramoj

Download PDF  :  แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj


Publication        :  กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 28 ก.ค.-ธ.ค. 2557   Cultural Approach  Vol.15 No.28 Jul-Dec 2014

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/journal-of-cultural-approach-2014-vol15-no28-jul-dec/

Bibliography     :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2557). แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. กระแสวัฒนธรรม, 15(28), 17-26.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 28 ก.ค.-ธ.ค. 2557   Cultural Approach  Vol.15 No.28 Jul-Dec 2014

ภาควิชาการโรงแรมและการท่องเที่ยว คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
ห้องสยามทัวร์จำลอง อาคาร 5 ห้อง 5201
เลขที่  38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหาคร 10160
โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5211 โทรสาร 0-2868-4351
Email : hotel@siam.edu
Facebook: www.facebook.com/hotel.siam