การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง

[mfn]ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์. (2559). การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง. วารสารครุศาสตร์, 44(2), 202-219.[/mfn]   การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง

ศิริลักษณ์ กมลรัตน์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ สุจิตรา สุคนธทรัพย์


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา ตามแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง


ABSTRACT

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  1) วิเคราะห์การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา 2)   วิเคราะห์เปรียบเทียบการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริม      สุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างผู้บริหารสถาบันการพลศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 19 คน ได้แก่ อธิการบดีสถาบันการพลศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ฝ่ายกิจการพิเศษและกิจการนักศึกษา รองอธิการบดีสถาบันการพลศึกษา ประจำวิทยาเขต 17 วิทยาเขตทั่วประเทศ  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความข้อมูลแบบอุปนัย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชนของสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 ช่วงเวลา ดังนี้  (1) การรับรู้บทบาทของวิทยาลัยพลศึกษา ก่อนปี พ.ศ. 2548 และ (2) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบัน พบว่า การดำเนินงานตามพันธกิจของวิทยาลัยพลศึกษาและสถาบันการพลศึกษา สามารถแบ่งได้ 2 รูปแบบ ประกอบด้วย การบริการวิชาการภายใน คือ การเปิดสถานที่ให้แก่ชุมชนออกกำลังกาย เล่นกีฬา และจัดการแข่งขันกีฬาระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ การบริการวิชาการภายนอก คือ การสนับสนุนบุคลากรเป็นวิทยากรให้ความรู้แก่ประชาชนในเรื่องพลศึกษา กีฬา สุขศึกษา นันทนาการ และเผยแพร่การละเล่นพื้นบ้าน เมื่อเป็นสถาบันการพลศึกษามีการให้ความรู้โดยใช้นวัตกรรมการออกกำลังกายแบบผ้าขาวม้าลมปราณและผ้าขาวม้ามันตรา การบริการวิชาการภายนอกมีโครงการความร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำหรับความคาดหวัง พบว่า ควรมีการใช้สื่อสารมวลชนและกิจกรรมรณรงค์เชิญชวนให้ออกกำลังกาย การเป็นศูนย์กลางการกีฬาในท้องถิ่น ควรมีการสร้างเครือข่ายสุขภาพที่เข้มแข็งที่ประสานงานกันอย่างต่อเนื่อง ควรมีการเน้นกระบวนการที่ดีในการสร้างเสริมสุขภาวะชุมชน และควรมีการสร้างรูปแบบความร่วมมือเริ่มจากการประสานงาน วางแผนงานร่วมกัน เป้าหมายร่วมกัน ร่วมกันดำเนินงาน ร่วมกันประเมินโครงการ

2) การเปรียบเทียบการรับรู้บทบาทและความคาดหวังในการสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการพลศึกษากับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง พบว่า ก่อน พ.ศ. 2548 และตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ถึงปัจจุบันมีการดำเนินงานตามการรับรู้บทบาทที่สอดคล้องกับแนวคิดยุทธศาสตร์ไตรพลัง ดังนี้ พลังปัญญา คือ มีองค์ความรู้อย่างพอเพียงของสถาบันเอง ความรู้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและบริบท และมีการพัฒนาความรู้ที่ทันสมัยและต่อเนื่อง ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่มองค์ความรู้อย่างพอเพียงจากทุกภาคส่วน และมีกระบวนการเรียนรู้กับของฝ่ายต่าง ๆ เสริมพลังปัญญาสู่ทิศทางเดียวกัน  พลังนโยบายคือ มีนโยบายส่งผลกระทบกับคนในวงกว้างและมีผลสืบเนื่องยาวนานกว่าการณณรงค์ ความคาดหวัง มีความสอดคล้องกับการรับรู้บทบาทและพลังสังคม คือ มีบทบาทการรณรงค์และการเฝ้าระวังในการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง การสร้างเครือข่ายภาคีทางสังคมและทุกภาคส่วนและทุกช่วงวัย ความคาดหวังครบทุกประเด็นโดยเพิ่ม การมีกระบวนการ การบูรณาการ การพัฒนาทักษะการทำงานร่วมกันในลักษณะเครือข่าย

The purpose of this research is to: 1. analyze and recognize the role of perceptions and expectations of the community health promotion of the Institute of Physical Education; 2. conduct comparative analysis of the action of the perceptions and expectations of the community health promotion of the Institute of Physical Education and the strategy of the triangle that moves the mountain concept. The data were collected through structured interviews of 19 executives of  the Institution of Physical  Education nationwide (pPresident/vice president of Institute of Physical Education/special charge Aaffaires), and 17 vice presidents of Institution of  Physical Education nationwide. Data were analyzed by data interpretation, inductive and content analysis.

The results of research are: 1) The perceptions and expectations of the community health promotion of the Institution of Physical Education had to be divided into 2 periods: before 2005 and after 2005 to present which we found that these operation mission of a community health promotion of the Institute of Physical Education can be separated by 2 forms which are:  A) Internal outreach who provide the place, organizing sports competition for local, provincial, regional up to national level.  B) External outreach by supporting the staff coach to provide their knowledge about exercise, sport, hygiene, recreation, and disseminate to the public according to their folk amusement. After changing the status to the Institute of Physical Education, we can provide more knowledge about the innovation of exercise such as loincloth breath, Mantra loincloth. Also, the external service organized the project collaboration between the Institute and local organizations.  For Institution expectations of community health promotion, we found that it is helpful to use many kind of media and campaigns to create activities.  Creating the Institute of Physical Education to be the center for local sports, it should have a strong enough network to coordinate continuously. The good process of creating community health promotion should be highlighted.  Also, a collaborative model, starting with mutual coordination, sharing plan, common goal, joint operation and common assessment program should be created.

2) The comparison between the perceptions and expectations of the community health promotion of Institute of Physical Education and the triangle that moves the mountain concept found that before the year 2005 and from the year 2005 to present, the action according to the perception corresponds to the triangle that moves the mountain concept as follows:   Intellectual power is to have the sufficient knowledge of institute itself. Knowledge corresponds to each target group and context. Development of modern knowledge is continuous.  The  expectation  for  intellectual  power  are increasing as follows:  sufficiency of the body of knowledge of all sectors. Learning process with other sectors for strengthening the intellectual power in the same direction. Policy power is to have a policy which can affect the public in broad and long-lasting consequences more than only by campaigning. The expectation is same as the perception.  Social  power  is  to  have  importance  on campaigns  and surveillance on health  promotion  continuously  creating  a network  of civil  society  of  all sectors  and  all  ages.  The   integration   process,  skill development  with  working  together  as  network  system  and  coherent  work  can  reach  and enrich   common  goals.