การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น

[mfn]จุฑารัตน์ เนียมหลาง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2559). การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 175-187.[/mfn]   การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น

จุฑารัตน์ เนียมหลาง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น


บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น ผู้วิจัยคัดเลือกจังหวัดที่ศึกษาจากการจัดอันดับจำนวนอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย พ.ศ.๒๕๕๖ สูงสุด ๓ จังหวัดแรกจากกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ แล้วสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ดังนี้ ๑. สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นเพื่อให้ได้อำเภอเขตเมืองกับเขตชนบท และให้ได้ตำบลเขตเมืองกับเขตชนบท ๒. สุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยการจับฉลาก เพื่อให้ได้ตัวแทนตำบลเขตเมือง ๓ ตำบล และตำบลเขตชนบท ๓ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ใช้ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ชุมชนเมืองมีความรู้และทัศนคติด้านเพศสัมพันธ์และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ด้านการคุมกำเนิด ด้านการวางแผนครอบครัว ด้านการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับเรื่องเพศและป้องกันตั้งครรภ์ และด้านแหล่งให้ความช่วยเหลือ แก้ปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นมากกว่าชุมชนชนบท แต่ในทางตรงข้ามชุมชนเมืองมีพฤติกรรมในทุกด้านน้อยกว่าชุมชนชนบท มีผลทำให้ชุมชนเมืองมีโอกาสเสี่ยงในการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นมากกว่าชุมชนชนบท

คำสำคัญ
ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรม, พื้นที่เสี่ยง, การตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น

Abstract

The objective of this research was to study knowledge, attitude, and behaviors of people in the risky communities towards unplanned pregnancy of teenagers. Populations used in this research were people living in 3 provinces which were selected from the top three rank and number of teenage childbearing in 2013 from Center for Information Technology and Communications, Office of The Permanent Secretary for Ministry of Social Development and Human Security. Mulit-stage sampling was used in order to obtain the population, which are 1) Stratified random sampling for urban district and rural district and urban sub-district and rural sub-district 2) Simple Random Sampling by drawing for 3 sub-districts in urban area and 3 sub-districts in rural area. The research instrument was questionnaire and Descriptive statistic was used for data analysis that showed in percentage, mean, and Standard Deviation.
The findings were that urbanites had a better knowledge and attitude about sexual relation, birth-control, family-planning and participation in sexuality and contraception activities and support center for teenage unplanned pregnancy than rustic. While urbanites’ behavior which resulted higher risk of teenage unplanned pregnancy than rustic. The results showed that urbanites had a better knowledge and attitude about sexual relation, birth-control, family-planning and participation in sexuality and contraception activities and support center for teenage unplanned pregnancy than rustic. While urbanites’ behavior in sexual relation, birth-control, family-planning and participation in sexuality and contraception activities and support center for teenage unplanned pregnancy more than rustic which resulted higher risk of teenage unplanned pregnancy than rustic.

Keywords
Knowledge, Attitude, Behaviors, Risky Areasม Teenage Pregnancy