การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)

การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ. ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์

บทคัดย่อ:

การใช้ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หลายชนิดเป็นสาเหตุที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับ สาเหตุของการเกิดพิษต่อตับมาจากกลไกสองประการคือความเป็นพิษต่อตับโดยตรง (direct hepatotoxicity) และแบบ idiosyncratic (idiosyncratic hepatotoxicity) ความเป็นพิษต่อตับโดยตรงเป็นผลมาจากการได้รับยาที่มีความเป็นพิษ (intrinsic toxicity) และความรุนแรงขึ้นกับปริมาณยาที่ได้รับ (dose-dependent) เช่น acetaminophen สำหรับความเป็นพิษต่อตับแบบ idiosyncratic คือความเป็นพิษที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป มีอาการแสดงออกที่หลากหลาย และความรุนแรงไม่ขี้นอยู่กับขนาดยาที่ได้รับ สำหรับอาการทางคลินิก ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา และผลทางห้องปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นจากความเป็นพิษต่อตับ เช่น ภาวะตับอักเสบ (hepatitis) มักไม่มีอาการชัดเจน แต่มีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับภาวะน้ำดีคั่ง (cholestasis) จะมีอาการของโรคดีซ่าน มีอาการคัน มีการเพิ่มขี้นอย่างมากของเอนไซม์แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (alkaline phosphatase, ALP) และการเพิ่มขี้นเล็กน้อยของเอนไซม์อะลานีน อะมิโนทรานสเฟอเรส (alanine aminotransferases, ALT) หรือ แบบภาวะผสม (mixed) โดยเกิดร่วมกันทั้งภาวะตับอักเสบและภาวะน้ำดีคั่ง สำหรับเวลาในการฟื้นตัวจากความเป็นพิษต่อตับ จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของความเป็นพิษ การตรวจหาให้พบ และหยุดใช้ยา สมุนไพร หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพิษต่อตับให้เร็วที่สุดคือขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงในการเกิดพิษต่อตับ

คำสำคัญ: การบาดเจ็บของตับ ความเป็นพิษต่อตับ Drug-induced liver injury

Link to Academic article: การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2559

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 19  ชั้น 9
เลขที่  38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหาคร 10160
โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5331, 5401,5416 โทรสาร 0-2868-6665
เว็บไซต์คณะ : https://pharmacy.siam.edu