เภสัชเศรษฐศาสตร์ (2560)

เภสัชเศรษฐศาสตร์ (2560)

ผู้เขียนบทความ: อ.ภก.พิธาน โฆษิตชัยวัฒน์

บทคัดย่อ:

ประเทศไทยมีความต้องการในการใช้ทรัพยากรด้านสุขภาพสูงขึ้นเรื่อยๆ ในสถานการณ์เช่นนี้เราจะต้องหาวิธีการเพื่อช่วยจัดสรรทรัพยากรทางด้านสุขภาพที่มีอยู่อย่างจำกัด วิธีการหนึ่งที่เภสัชกรสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยจัดสรรทรัพยากรดังกล่าวได้แก่การนำความรู้ด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้การเปรียบเทียบต้นทุนและผลได้ของผลิตภัณฑ์และการบริการทางเภสัชกรรมมาเป็นเครื่องมือวัดและประเมินเพื่อหาทางเลือกที่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์มากที่สุด แต่ไม่ใช่เพื่อหาวิธีที่ถูกที่สุดหรือมีประสิทธิผลที่สุด บทความนี้แนะนำความรู้พื้นฐานที่สำคัญด้านเภสัชเศรษฐศาสตร์แก่เภสัชกรและวิธีการประเมินทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่นำมาใช้อย่างแพร่หลายซึ่งมีสี่วิธี ได้แก่การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำสุด (CMA) การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (CBA) การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผล (CEA) และ การวิเคราะห์ต้นทุนอรรถประโยชน์ (CUA) รวมถึงข้อดีและข้อเสียของการประเมินทั้งสี่วิธี นอกจากนี้บทความยังแนะนำมาตรฐานทางเภสัชเศรษฐศาสตร์ที่สำคัญและกล่าวถึงข้อจำกัดของเภสัชเศรษฐศาสตร์ และการนำเภสัชเศรษฐศาสตร์ไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพเภสัชกรรม

คำสำคัญ:  เภสัชเศรษฐศาสตร์, การวิเคราะห์ต้นทุนต่ำสุด (CMA), การวิเคราะห์ต้นทุนผลได้ (CBA)

Link to Academic article:   เภสัชเศรษฐศาสตร์ 

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2559

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 19  ชั้น 9
เลขที่  38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหาคร 10160
โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5331, 5401,5416 โทรสาร 0-2868-6665
เว็บไซต์คณะ : https://pharmacy.siam.edu