วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม

วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม

วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม

ในปี พ.ศ. 2454 (1911) ได้มีชาวต่างประเทศนำเครื่องบินแบบอองรีฟาร์มังมาแสดงการบิน ในประเทศไทย หลังการแสดงการบินของชาวต่างประเทศในปีเดียวกัน จอมพล สมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงษ์- ภูวนารถกรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ (เสนาธิการ ทหารบก)ได้นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 6) ถึงความจำเป็นและประโยชน์ของเครื่องบินที่ต้องมีไว้เพื่อป้องกันประเทศ หลังนำความขึ้นกราบบังคมทูล กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งให้นายทหารนักบิน จำนวน 3 นาย ซึ่งได้แก่ นายพันโทหลวงศักดิ์ ศัลยาวุธ นายพันตรีหลวงอาวุธสิธกรนายร้อยเอกหลวงทยาน พิมาฎ ไปศึกษาวิชาการบิน ณ ประเทศฝรั่งเศส โดยในระหว่างที่นายทหารนักบินศึกษา วิชาการบินอยู่นั้น กระทรวงกลาโหมได้มีคำสั่งซื้อเครื่องบินจำนวน 8 ลำ หลังนายทหารนักบินทั้ง 3 นาย สำเร็จการศึกษา ได้เดินทางกลับประเทศไทยพร้อมเครื่องบินจำนวน 8 ลำ ที่กระทรวงกลาโหมสั่งซื้อเมื่อเครื่องบินถึงประเทศไทย นายทหารนักบิน ทั้ง 3 นาย ได้ ทดลองเครื่องบินครั้งแรกในวันที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2456 หลังจากนั้นในวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2456 (ขณะนั้นประเทศไทยนับวันที่ 1 เมษายนเป็น วันขึ้นปีใหม่จนถึงปีพ.ศ.2483) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดง การบินครั้งแรกของประเทศโดยนายทหารนักบินไทยจำนวน 3 นาย ที่สำเร็จการศึกษาวิชาการบินจากประเทศฝรั่งเศสและใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยบินถวายหน้าพระที่นั่งซึ่งขณะนั้นประเทศไทยได้เริ่มจัด ตั้งแผนกการบินโดยมีสนามบินและโรงเก็บเครื่องบินที่สนามม้าสระปทุมนับเป็นการริเริ่มกิจการบินของ ประเทศไทยจากเหตุการณ์ดังกล่าวมูลนิธิอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงมีต่อกิจการบิน ของชาติจึงได้นำเรื่องเสนอต่อ คณะรัฐมนตรีเพื่ออนุมัติคณะรัฐมนตรีได้เห็นความสำคัญของเหตุการณ์ ดังกล่าวและได้มีมติเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ.2537 กำหนดให้วันที่ 13 มกราคมของทุกปี เป็น วันการบินแห่งชาติ โดยเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา

[quote arrow=”yes”]ความเป็นมา วันการบินแห่งชาติ[/quote] ความคิดริเริ่มให้มีวันการบินแห่งชาติพัฒนาขึ้นจากการแลกเปลี่ยนความคิดกันในบรรดาผู้ร่วมงาน กับมูลนิธิฯในขณะที่ทำงานบูรณะฟื้นฟูทำการบินเก็บรักษาอนุรักษ์ก็ทำให้มีการศึกษาทบทวนถึงประวัติ- ศาสตร์การริเริ่มและพัฒนากิจการบินของไทยที่บรรพบุรุษไทยได้สร้างไว้ให้พร้อมกับการพัฒนาอากาศยานของอารยประเทศ ในยุโรปและอเมริกา หลังจากที่พี่น้องตระกูลไรท์ประดิษฐ์เครื่องบินสำเร็จเป็นรายแรกของโลกได้เพียง 8 ปี โดยขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคนี้ยังไม่มีโอกาสริเริ่มกิจการบินของตนได้กิจการบินของไทยได้เจริญก้าวหน้าถึงขั้นสามารถสร้างอากาศยานใช้ราชการได้ในช่วงระยะเวลาเดียวกับในยุโรปและอเมริกาแต่ก็มาหยุดชงักไปในสมัยหลังสงคราม โลกครั้งที่ 2 การริเริ่มและพัฒนากิจการบินที่บรรพบุรุษได้ สร้างไว้ก่อให้เกิดความเจริญทางด้านความมั่งคงได้แก่ กิจการบินทางทหารสามารถป้องปรามการล่วงล้ำอธิปไตย และป้องกันประเทศทั้งในสงครามอินโดจีนสงครามมหาเอเชียบูรพาและการปราบปรามการก่อการร้ายมาโดยตลอด ด้านสังคมสามารถให้การช่วยเหลือลำเลียงผู้เจ็บป่วย ส่งไปรษณีย์ อากาศ และช่วยเหลือประชาชน ในท้องถิ่นทุรกันดาร ทั้งในภาวะปกติและเมื่อประสบภัยพิบัติเช่นกรณีเกิดโรคระบาดอุทกภัยฯลฯหลังจาก ได้สถาปนากิจการบินพลเรือนเปิดสายการบินในประเทศขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจและสังคมการเดินทางขนส่งไปรษณีย์สินค้าและทำธุรกิจได้รวดเร็วขึ้นจนพัฒนามาเป็นอุตสาหกรรมการบินขนส่งทางอากาศเป็นสายการบินระหว่างประเทศแต่อุตสาหกรรมด้านกิจการบินทั่วไปสำหรับภาคเอกชนและอุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยานแทบไม่พัฒนาเลยไม่เพียงพอกับความต้องการการขนส่งแลการจราจรจึงทำให้ล้าหลังกว่าประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคทั้งๆที่ เราเริ่มต้น ก่อนเขาเป็นเวลานาน

[quote arrow=”yes”]วันการบินแห่งชาติ[/quote] ประวัติศาสตร์การริเริ่มพัฒนากิจการบินอันเป็นเกียรติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของคนในชาติและ ปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในปัจจุบันดังกล่าวน่าจะได้เผยแพร่ให้เป็นที่ทราบทั่วกันทั้ง ในภาครัฐเอกชนและประชาชนทั่วไปได้ทราบเห็นคุณค่าประโยชน์ช่วยกันแก้ปัญหาพัฒนาและส่งเสริม กิจการบินและอุตสาหกรรมการบินของชาติให้เจริญสืบไป มูลนิธิฯจึงริเริ่มให้มีวันการบินแห่งชาติขึ้นเพื่อ เผยแพร่ดังกล่าว การดำเนินการให้มีวันการบินแห่งชาติมูลนิธิฯ ร่วมกับกองทัพอากาศเชิญชวนส่วนราชการและภาคเอกชน ประชุมหารือ 2 ครั้งที่ประชุมมีมติเห็นสมควรให้วันที่ 13 มกราคม 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า ประชุมมีมติเห็นสมควรให้วันที่ 13 มกราคม 2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทอดพระเนตรการแสดงการบินโดยนักบินไทยและใช้เครื่องบินที่เป็นสมบัติของชาติไทยเป็น ครั้งแรก ซึ่งได้ทรงสถาปนาแผนกการบินขึ้นในกระทรวงกลาโหมเป็นผลให้กิจการบินของไทยเจริญมาโดยลำดับ กองทัพอากาศได้ดำเนินการนำเรียนผู้บัญชาการการทหารสูงสุดเสนอกระทรวงกลาโหมขอความ เห็นชอบ จากกระทรวงที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีมีมติ เห็นชอบเมื่อ 31 พฤษภาคม 2537 กำหนด
ให้วันที่ 13 มกราคม ของทุกปีเป็นวันการบินแห่งชาติ กับให้จัดกิจกรรมต่างๆ ในวันสำคัญดังกล่าว ความมุ่งหมายและขอบเขตในการจัดงานเพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเผยแพร่ให้ประชาชนทราบถึงประวัติความเป็นมาและวิวัฒนาการการบินของไทยเห็นคุณค่าประโยชน์ของกิจการ การบิน สนับสนุนส่งเสริมให้อุตสาหกรรม การบินของชาติเจริญก้าวหน้าสืบไป

ด้วยวันที่ 13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ครั้งเป็นเจ้าฟ้านักบิน  ขอน้อมเกล้าฯ ถวายความจงรักภักดีด้วยเรื่อง “เจ้าฟ้านักบิน” แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารทรงสนพระทัยด้านอากาศยานและการบินตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ทรงเริ่มทำการบินตามหลักสูตรการฝึกบินเฮลิคอปเตอร์ของโรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ เมื่อ 20 ธันวาคม 2522 พระองค์เริ่มทำการบินเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-1 เอช และเฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-1 เอ็น

เมื่อสำเร็จตามหลักสูตรทรงขึ้นรับพระราชทานประดับเครื่อง
หมายแสดงความสามารถในการบินของกองทัพอากาศจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในปีนั้นเองยังทรงสำเร็จหลักสูตรเฮลิคอปเตอร์โจมตีติดอาวุธ (Gunship) ของกองทัพบกรวม 2 เดือนในช่วงปี 2523 ขณะติดตามสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเยือนสหรัฐฯ ทรงเข้ารับการฝึกบิน
เฮลิคอปเตอร์แบบยูเอช-1 เอช ของกองทัพบกสหรัฐฯ ที่นอร์ธแคโรไลนา และปี 2525 เสด็จยังฐานทัพอากาศวิลเลียม รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกาทรงฝึกศึกษาเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูงแบบเอฟ 5 อี/เอฟ และทรงเข้ารับการฝึกบินในหลักสูตรการบินรบชั้นสูง (Advance Fighter Course) กับเครื่องเอฟ 5 ดี/เอฟ ที่กองบิน 1 ฝูง 102 จนสำเร็จตามหลักสูตร มีชั่วโมงบินทุกประเภทรวมกันกว่า 1,000 ชม.

พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน ฝึกสอนทั้งภาควิชาการกับการฝึกบินแก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นพระเมตตา สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร มิได้ทรงละเลยการฝึกบินแบบใหม่ๆ โดยทรงเข้ารับการฝึกบินกับเครื่องบินใบพัดแบบมาร์คเคตตี้ของฝูงขั้นปลาย โรงเรียนการบิน กองทัพอากาศ และฝึกบินกับเครื่องบินไอพ่นแบบที 37 กับแบบที 33 และจบ
หลักสูตรนักบินขับไล่ไอพ่นสมรรถนะสูงกับเครื่องบินขับไล่แบบเอฟ 5 อี/เอฟ ของกองบิน 1 ฝูงบิน 102 รวมชั่วโมงบิน 200 ชั่วโมง ด้วยความสนพระทัยอย่างมาก จนกระทั่งทรงพร้อมรบและครบ 1,000 ชั่วโมง เมื่อ 17 เมษายน 2532 อีกทั้งยังทรงเข้าร่วมการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศประจำปี โดยทรงทำคะแนนได้สูงตามกติกา กองทัพอากาศจึงทูลเกล้าฯ ถวายเครื่องหมายความสามารถในการใช้อาวุธทางอากาศชั้นที่ 1 ประเภทอาวุธระเบิดสี่ดาว อาวุธจรวดสี่ดาว และอาวุธปืนสี่ดาว

ไม่แต่เท่านั้น พระองค์ยังทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบิน ฝึกสอนทั้งภาควิชาการกับการฝึกบินแก่นักบินขับไล่ของกองทัพอากาศ ด้วยพระราชหฤทัยที่เปี่ยมล้นพระเมตตาสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงเป็น “เจ้าฟ้านักบินขับไล่ ไอพ่น” พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ทรงทำการบินกับเครื่องบินของกองทัพอากาศเกือบทุกรูปแบบ และทรงผ่านการฝึกบินหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ และการฝึกบินเครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง (F-5E) จากประเทศสหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าทรงเป็นนักบินที่มีพระวิริยอุตสาหะ และพระปรีชาสามารถด้านการบินอย่างยิ่ง หลังสำเร็จการศึกษาแล้ว ได้ทรงนำความรู้มาจัดทำหลักสูตรการฝึกบิน และทรงปฏิบัติหน้าที่ครูการบินให้นักบินเครื่องบินขับไล่แบบ “18 ข” (F-5E) หน่วยบินเดโชชัย 3 และนักบินของกองทัพอากาศ โดยทรงตั้งพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ว่า จะทรงถ่ายทอดประสบการณ์ ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ต่อกองทัพอากาศและประเทศชาติมากที่สุด

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร ทรงสนพระราชหฤทัยด้านอากาศยาน และการบินมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ทรงทุ่มเทฝึกการบินแบบต่างๆ มาเป็นระยะเวลานาน ทรงฝึกหลักสูตรการบินต่างๆ มากมาย และตั้งพระราชหฤทัยเพื่อจะพัฒนากองทัพอากาศ ทรงสนพระราชหฤทัยในการฝึกบินเปลี่ยนแบบกับเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 เพราะทรงเล็งเห็นว่า เป็นเครื่องบินพระราชพาหนะที่ถวายการบินอยู่ในปัจจุบัน และเป็นเครื่องบินที่การบินไทยใช้งานอยู่ ที่สำคัญยังทรงมั่นพระทัยด้วยว่า ความรู้ที่ทรงได้รับจะสามารถ นำไปใช้ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้อย่างดีเยี่ยม จึงทรงมีพระราชประสงค์ให้การบินไทยจัดหลักสูตรและครูการบิน ถวายการฝึกบินอย่างเต็มหลักสูตร เช่นเดียวกับการฝึกบินของนักบินบริษัทการบินไทยทุกประการ โดยมี “กัปตันอัษฎาวุธ วัฒนางกูร” ผู้อำนวยการฝ่ายฝึกอบรมนักบิน และ “กัปตันอภิรัตน์ อาทิตย์เที่ยง” หัวหน้าครูการบินสำหรับเครื่องบินโบอิ้งรุ่นดังกล่าว เป็นผู้ถวายการฝึก ซึ่งการฝึกภาควิชาการมีขึ้นตั้งแต่ต้นเดือน มิ.ย.2547 เริ่มทำการฝึกบินเมื่อวันที่ 27 ส.ค.2547 และเสร็จสิ้นการฝึกบินได้รับศักย์การบิน ในฐานะกัปตันของเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ในวันที่ 30 มิ.ย.2549

ตลอดเวลาที่ทรงฝึกบินนั้น แม้จะทรงติดพระราชกิจอื่นๆมากมาย รวมถึงการเสด็จฯ ไปปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช แต่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ก็ยังโปรดให้กัปตันทั้งสองนายตามเสด็จไปถวายการบรรยายด้วย โดยทรงใช้เวลาในช่วงกลางคืน 3-4 ชั่วโมง ศึกษาเล่าเรียนอย่างตั้งพระราชหฤทัย และแม้พระองค์จะทรงได้รับศักย์การบินเป็นกัปตันโบอิ้ง 737-400 อย่างเป็นทางการแล้วก็ตาม แต่ก็ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทำการฝึกบินต่อไป เพื่อให้ทรงมีมาตรฐานเดียวกับกัปตันของการบินไทย ด้วยเหตุนี้ ครูการบินจึงได้จัดหลักสูตรถวายเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องบินพระที่นั่ง “บ.ล.11 ข มวก.1/38 หมายเลข 11-111” เป็นหลัก เริ่มจากการบินเส้นทางใกล้ๆเพื่อทำความคุ้นเคยกับเส้นทางบิน จากนั้นจึงทรงทำการบินขึ้นลงที่สนามบินในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งทรงฝึกบินด้วยเทคนิคต่างๆเพื่อสะสมประสบการณ์ด้านการบิน เพื่อให้การฝึกบินมีความสมจริงที่สุด ภายในระยะเวลาการฝึกที่ค่อนข้างจำกัด สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงให้ครูการบินสมมุติสถานการณ์ต่างๆขึ้น เช่นกรณีมีสภาพอากาศแปรปรวน หรือมีข้อจำกัดทางการบิน ส่งผลให้การฝึกบินมีความคืบหน้าอย่างรวดเร็ว ภายในเวลาเพียง 2 ปี ก็ทรงสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ ทางการบินได้เทียบเท่านักบินของการบินไทย ที่ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปี กว่าจะสั่งสมประสบการณ์ถึงขีดความสามารถเดียวกัน!!สำหรับการบินไปยังสนามบินต่างประเทศนั้น นอกจากจะทรงทำการฝึกตามหลักสูตรแล้ว ยังได้ทรงขับเครื่องบินเสด็จฯไปเป็นผู้แทนพระองค์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในโอกาสต่างๆด้วย รวมถึงการเสด็จฯไปพระราชทานสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ณ กรุงอิสลามาบัด ประเทศปากีสถาน และทรงฝึกบินเพิ่มประสบการณ์ไปยังกลุ่มประเทศใกล้เคียง เช่น ประเทศสิงคโปร์, บรูไน, จีน และเวียดนาม

ตลอดระยะเวลาที่ทรงทำการบินนั้น สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงมีพระราชประสงค์จะทำการบินให้ได้ประโยชน์และถูกต้องที่สุดในทุกเที่ยวบิน ถึงแม้ในการบินทั่วไป ความผิดพลาดหรือหลงลืมเล็กๆ น้อยๆ จะเป็นธรรมดาของนักบินทุกคน ดังนั้น ในเครื่องบินโดยสารทุกวันนี้ จึงใช้นักบิน 2 คน ทำงานร่วมกัน เพื่อคอยตรวจสอบซึ่งกันและกัน อย่างไรก็ดี พระองค์ท่านจะทรงพยายามอย่างยิ่งที่จะไม่ให้ เกิดข้อผิดพลาดเลยแม้แต่น้อย จนถึงทุกวันนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ยังทรงทำการฝึกบินอยู่เป็นประจำเกือบทุกวัน โดยมักจะทรงใช้เวลาช่วงเย็น โดยเมื่อเสด็จฯมาถึงอาคารทรงงานหน่วยบินเดโชชัย 3 จะเข้ารับถวายการบรรยายสรุปเกี่ยวกับสภาพอากาศ และประกาศผู้ทำการในอากาศ จากนั้น จะเป็นแผนการบินประจำวัน วัตถุประสงค์ของการบิน โดยใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากนั้นจะเป็นภาคการบิน โดยทรงทำการบินไปยังสนามบินต่างๆ ตามแผนการบินที่ได้วางไว้ราว 3-4 ชั่วโมงในแต่ละวัน เมื่อสิ้นสุดการฝึกแล้ว จะทำการแถลงย่อการบิน โดยทรงซักถามข้อสงสัยต่างๆ จะศึกษาจากประสบการณ์และข้อผิดพลาด โดยทรงจดบันทึกอย่างละเอียดเก็บไว้ในแต่ละวัน พระองค์ทรงจดจำแม่นยำมากว่า เคยทรงทำการฝึกอะไรไปแล้วบ้าง และได้ปรับปรุงไปอย่างไร เรียกได้ว่าทรงรักการบินเป็นชีวิตจิตใจ โดยทรงให้เวลากับการฝึกประมาณครั้งละ 4 ชั่วโมง นับถึงปัจจุบัน ทรงมีชั่วโมงบินรวมเฉพาะแบบกับเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ประมาณ 1,700 ชั่วโมง และจำนวนเที่ยวบินขึ้นลง 2,400 เที่ยว และล่าสุดได้เสด็จฯไปทรงฝึกบินเครื่องบินโบอิ้ง ที่ประเทศสวีเดน

วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม เจ้าฟ้านักบิน

[quote arrow=”yes”]อีกหนึ่งภาพความประทับใจในสายตาของครูการบินทั้งสองคือ การได้ถวายงานในเที่ยวบินมหากุศล ซึ่ง สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงพระกรุณา โปรดเกล้าฯ ทำการบินในฐานะกัปตัน และโปรดเกล้าฯ ให้ครูการบินทำหน้าที่นักบินที่สอง บนเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 ชื่อ “ศรีสุราษฎร์” ของบริษัทการบินไทย[/quote]

 

ซึ่งรายได้นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย และจัดหาเครื่องมือแพทย์ให้โรงพยาบาลใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไม่เพียงแต่จะทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านการบิน ทั้งอากาศยานทางทหาร และอากาศยานพาณิชย์ แต่ยังทรงมีพระวิริยะอุตสาหะ และความมุ่งมั่น ที่จะทรงใช้ความเป็นนักบินให้เป็นประโยชน์สูงสุดต่อประชาราษฎร์ด้วย อย่างเมื่อครั้งเกิดเหตุภัยพิบัติคลื่นยักษ์สึนามิ เมื่อเดือน ธ.ค.2547 ทันทีที่ทรงทราบข่าว พระองค์ท่านก็ทรงขับเครื่องบินโบอิ้ง 737-400 เสด็จฯไปยังสถานที่เกิดเหตุโดยเร็ว เนื่องจากทรงเป็นห่วงเป็นใยผู้ประสบภัยพิบัติเป็นอย่างยิ่ง นับเป็นน้ำพระทัยอันน่าปลื้มปีติ สมดังที่ทรงเป็นแบบอย่างของปวงชนชาวไทย

[quote arrow=”yes”]

เอกสารอ้างอิง

[/quote]

ไญยิกา เมืองจำนง.  (2560, 13 มกราคม).  13 มกราคม วันการบินแห่งชาติ รำลึกพระอัจฉริยภาพ ร.10 ครั้ง เป็นเจ้าฟ้านักบิน
                  และพระมหากรุณาธิคุณ ร.6 กับกิจการบินของเมืองไทย.  ทีนิวส์.  เข้าถึงได้จาก http://www.tnews.co.th/contents/220082

ถิติวิมล  ศิริปัญโญ.  (2547).  Aero club: a passion for flying.  กรุงเทพฯ: สมาคมนักบินไทย.

บุญเลิศ  จิตตั้งวัฒนา.  (2548).  ธุรกิจการบิน.  กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ภฤศ  เรืองพระยา.  (2550).  นักบิน ภาค 1 ศิษย์การบินครับผม.  กรุงเทพฯ: เอสพีเอ็นการพิมพ์.

วันการบินแห่งชาติ (13 มกราคม).  (2558).  เข้าถึงได้จาก http://www.tlcthai.com/education/history-of-thailand/4407.html

สมยศ  วัฒนากมลชัย.  (2557).  ธุรกิจสายการบิน. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

CAMPUS star.com.   (2016).  สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 “เจ้าแห่งฟ้า” พระอัจฉริยภาพ ด้านการบิน เข้าถึงได้จาก https://lifestyle.campus-star.com/knowledge/43390.html

Kapook.com.  (2017).  วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม.  เข้าถึงได้จาก https://hilight.kapook.com/view/96074

 

วันการบินแห่งชาติ 13 มกราคม