การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์

1เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์. วารสารครุศาสตร์, 44(3), 160-175   การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ 

เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ


 

 Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ Development Of Community-Based Learning For Productive Ageing


ABSTRACT

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์หลักสูตรครุศาสตร/ศึกษาศาสตรบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ประเทศในอาเซียนและนอกอาเซียน ตามกรอบสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาหลักสูตรสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ฯ โดยใช้แบบสอบถามกับครู และผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 383 คน และใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยสมรรถนะ 77 สมรรถนะ  ผลการประเมินความต้องการจำเป็นของสมรรถนะครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21 พบสมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นจำนวน 31 สมรรถนะ ซึ่งสมรรถนะที่นิสิตนักศึกษาครูควรได้รับการพัฒนามากที่สุด 5 อันดับ คือ พัฒนาภาษาต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร รวมทั้งรับหรือขยายความรู้ที่เป็นสากล ผลิตงานวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ นำผลงานวิจัยมาใช้เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ประเมินทักษะการจัดลำดับการคิดระดับสูงของผู้เรียน และ พัฒนาภาษาและวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างความเป็นครูสากล ตามลำดับ ทั้งนี้ผลการวิจัยได้ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาหลักสูตรต้นแบบให้มีรายวิชาจำนวน 39 รายวิชา ที่สนับสนุนสมรรถนะของครูในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในศตวรรษที่ 21

This descriptive research aimed to: 1) analyze the teacher education curriculum of higher education institutions in Thailand, ASEAN countries and countries outside ASEAN based on the competency framework of teachers in Southeast Asia in the 21st century; 2) assess the needs of teacher competency in Southeast Asia in the 21st century; and 3) propose guidelines to develop teacher education curriculums using questionnaires with 383 teachers and school administrators. The data were statistically analyzed by frequency, percentage, mean, Modified Priority Needs Index (PNI) and content analysis.

The results show that teacher competency in Southeast Asia in the 21st century comprised 77 competency items. Needs assessment of teacher competency in Southeast Asia in the 21st century found that there were 31 needed competencies. The top five competencies that deserved the most development included foreign language for communication, gaining or expanding international knowledge, contribution of research for learning development, research adoption for learning development, evaluation of skill on student’s classification of high level thoughts, and language and culture development to strengthen being internationalized teachers, respectively. In addition, the research results proposed guidelines for developing a curriculum model for 39 courses to support teacher competency in Southeast Asia in the 21st century.