การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด (2562)

 

Title              :  การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด

Researcher       : วิภาวัลย์ นาคทรัพย์, ยงยุทธ นาราษฎร์, พกิจ สุวัตถิ์ และ นลินรัตน์ วิศวกิตติ

Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                : wipavan.nar@siam.edu,yongyuth.nar@siam.edu

 


Bibliography    :  วิภาวัลย์ นาคทรัพย์, ยงยุทธ นาราษฎร์, พกิจ สุวัตถิ์ และ นลินรัตน์ วิศวกิตติ. (2562). การควบคุมความเร็วรอบมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงโดยใช้การออกแบบตัวควบคุมพีไอที่มีค่าพุ่งเกินน้อยที่สุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ครั้งที่ 4 (หน้า 51-60). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.


Quick View

การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ

 

Title              :  การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ : Screening and Morphology Characterization of Thermophilic and Halophilic Bacteria from Low Sodium Fish Sauce

Researcher       : ศุภณัฐ หวังรุ่งเรืองกิจ, พชรวัฒน์ ดิลกพัฒน์วานิช, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์* และ ณฐมล จินดาพรรณ
Suppanat Hwangrungruangkij, Pacharawat Dilokpatwanich, Ampun Chaikulsareewath* and Nathamol Chindapan

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: ampun.cha@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ในกระบวนการผลิตน้ำปลาโซเดียมต่ำด้วยวิธีการแยกสารผ่านด้วยเยื่อไฟฟ้าระดับห้องปฏิบัติการ มีความจำเป็นต้องให้ความร้อนกับน้ำปลาโซเดียมต่ำที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาทีเพื่อทำลายจุลินทรีย์ที่ปนเปื้อนในระหว่างกระบวนการกำจัดเกลือ ก่อนการบรรจุขณะร้อนในภาชนะปิดสนิท เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเก็บรักษาได้ที่อุณหภูมิห้อง อย่างไรก็ตามหากต้องการผลิตในเชิงการค้า จำเป็นต้องทราบชนิดและการต้านทานความร้อนของแบคทีเรียที่จะใช้เป็นดัชนีกำหนดกระบวนการฆ่าเชื้อที่ถูกต้อง ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการคัดแยกและแสดงลักษณะสัณฐานวิทยาเบื้องต้นของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญได้ดีที่อุณหภูมิสูงจากน้ำปลาโซเดียมต่ำรวมทั้งศึกษาการต้านทานความร้อนของแบคทีเรียที่คัดแยกได้ โดยทดลองให้ความร้อนแก่น้้ำปลาโซเดียมต่ำที่อุณหภูมิ 90 องศา
เซลเซียส เป็นเวลา 25 นาที จากนั้นนำมาคัดแยกแบคทีเรียด้วยวิธี Pour plate บนอาหารแข็ง Plate Count Agar (PCA) ซึ่งเติมเกลือให้มีความเข้มข้นร้อยละ 3, 5, 14 และ 18 และบ่มที่อุณหภูมิ 55 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง จากการทดลองพบโคโลนีเดี่ยวของแบคทีเรียแตกต่างกัน 3 สายพันธุ์ เจริญได้บนจานเพาะเชื้อ PCA ที่เติมเกลือความเข้มข้นร้อยละ 3 เท่านั้น เมื่อนำมาศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาโดยวิธีการย้อมสีแบบแกรมและย้อมสีเอนโดสปอร์ พบว่าแบคทีเรียทั้ง 3 สายพันธุ์ ติดสีแกรมบวก มีลักษณะท่อน และสามารถสร้างเอนโดสปอร์ได้ นอกจากนี้พบว่าแบคทีเรียชนิดหนึ่งมีค่า D75 , D85 และ D95 เท่ากับ 34.38, 27.03 และ 11.19 ตามลำดับ และมีค่า Z เท่ากับ 40.98

คําสําคัญ             :  น้ำปลาโซเดียมต่ำ แบคทีเรียชอบเกลือ แบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง

Abstract            :  In low-sodium fish sauce production using electrodialysis (ED) in the laboratory-scale, it is necessary to heat the lowsodium fish sauce at temperature 100o C for 10 minute, to destroy microorganism contamination during ED desalination before hot filling in a sealed container, to obtain the shelf stable low-sodium fish sauce. However, if scale-up to the commercial production, it should to know a type and thermal resistance of bacteria used as index for processing establishment.The objective of this research was to study screening and morphology characterization of thermophilic halophilic bacteria from low-sodium fish sauce, and their thermal resistance was also investigated. The low-sodium fish sauce was heated at temperature 90o C for 25 minute. The bacteria were then isolated from the heated low-sodium fish sauce by pour plate on plate count agar (PCA) with salt concentration of 3%, 5%, 14% and 18%, and incubated at temperature 55 o C for 24-48 hour. The result showed that bacteria only grow in PCA with 3% salt concentration, which could be identified in three different single colony of bacteria. Studying morphology of isolated bacteria by Gram staining and endospore staining, they were Gram-positive bacteria, had rod shape and endospore. Moreover, D75 D85 D95 values of one bacteria were equal to 34.38, 27.03 and 11.19 respectively and Z-Value was equal to 40.98. 

Keywords        :    Low sodium fish sauce, Halophilic bacteria, Thermophilic bacteria


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    ศุภณัฐ หวังรุ่งเรืองกิจ, พชรวัฒน์ ดิลกพัฒน์วานิช, อำพรรณ ชัยกุลเสรีวัฒน์ และ ณฐมล จินดาพรรณ. (2558). การคัดแยกและลักษณะสัณฐานวิทยาของแบคทีเรียชอบเกลือและเจริญเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิสูง จากน้ำปลาโซเดียมต่ำ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 487-493). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View

การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก (2559)

 

Title              : การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก : Financial liquidity Management for SMEs Entrepreneurs in World Economic Crisis

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด 

Surachai Pattarabanjird 

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com

บทคัดย่อ              :   บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการ SMEs ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ สถาบันการเงินและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันในการวางแผนและดำเนินการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นกลไกสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านการจ้างงาน การเชื่อมโยงการค้ากับผู้ประกอบการขนาดใหญ่ และการกระจายความเจริญไปยังส่วนภูมิภาคโดยได้กล่าวถึงแนวทางในการนำองค์ความรู้ในการบริการสภาพคล่องทางการเงินในด้านการบริหารเงินสดและการบริหารทุนหมุนเวียนไปปฏิบัติ นอกจากนี้ได้กำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการวางแผนช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจของโลกที่เกิดขึ้นตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นวิกฤติภาวะเงินฝืดของญี่ปุ่นซึ่งเกิดขึ้นมากว่า 20 ปี วิกฤติการณ์ทางการเงินในประเทศไทย ใน ปี พ.ศ. 2540 วิกฤตสินเชื่อซับไพรม์หรือวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ ในปี พ.ศ.2551วิกฤติหนี้สาธารณะของกรีซ ในปี พ.ศ. 2554 วิกฤติเศรษฐกิจของตลาดหุ้นของจีน ในปี พ.ศ. 2557 และวิกฤติภาวะค่าเงินรูเบิลของรัสเซีย ในปี พ.ศ. 2557 วิกฤติการณ์เหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ประกอบการไทย โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs โดยผลกระทบที่สำคัญ คือ ผลกระทบต่อการรักษาสภาพคล่องทางการเงิน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ประกอบการ SMEs ต้องประสบปัญหาในการดำเนินกิจการและบางรายต้องเลิกกิจการไปในที่สุด

ดังนั้นการให้องค์ความรู้ในทางปฏิบัติได้จริงให้กับผู้ประกอบการ SMEs ในการจัดการสภาพคล่องจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ทั้งในด้านการบริหารเงินสดโดยการเร่งเงินสดรับเข้า ชะลอการจ่ายเงินสดและการดำรงรักษาเงินสดขั้นต่ำการบริหารทุนหมุนเวียนผ่านแนวนโยบาย 3 รูปแบบ คือ 1. นโยบายแบบสมดุล 2. นโยบายแบบระมัดระวัง และ 3. นโยบายแบบกล้าเสี่ยง ในขณะที่สถาบันการเงินและหน่วยงานภาครัฐโดยเฉพาะอย่างยิ่ง สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ จะต้องมีมาตรการและนโยบายในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ผ่านทางนโยบายอัตราดอกเบี้ย นโยบายด้านภาษี และมาตรการในการสร้างความเข้มแข็งในระยะยาวอื่นๆ เช่น การสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ SMEs การจัดหาแหล่งทุน การสร้างนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการ SMEs ผ่านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น แนวทางทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นการส่งเสริมและสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการ SMEs ให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้และนำไปสู่การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของประเทศไทยในระยะยาวให้เติบโตอย่างมั่งคั่งและยั่งยืนต่อไป

คำสำคัญ              :  ผู้ประกอบการ SMEs, วิกฤติการณ์เศรษฐกิจโลก, การจัดการสภาพคล่อง, การบริหารเงินสด, การบริหารทุนหมุนเวียน

Abstract            :  The objective of this paper was to find a guideline for SMEs entrepreneurs, LEs entrepreneurs, financial institutions and related government sectors to help SMEs. SMEs are crucial mechanisms to develop Thais economy especially employment, trade networking with LEs entrepreneurs and spread prosperity to regional area. This paper acknowledged SMEs entrepreneurs about financial liquidity management especially on cash management and working capital management. Moreover, it also suggested policy planning for LEs entrepreneurs, Financial institutions and Government sectors in order to assist SMEs entrepreneurs.

World economic crises occurred several times such as the deflation crisis in Japan occurred for more than 20 years, Financial crisis in Thailand in 1997, and the sub-prime crisis in U.S.A in 2007, the public debt crisis in Greece in 2011, the capital market crash in China in 2014 and the Ruble crisis in Russia in 2014. These crises, therefore, have caused severe impacts to many Thai entrepreneurs, especially to SMEs. The major impact was the problem of financial liquidity that caused SMEs to shut down their businesses.

Hence, providing practical knowledge to SME entrepreneurs for managing their liquidity both cash management and working capital management was important. For cash management, this paper recommended to accelerate cash-inflow, decelerate cash-outflow and maintain minimum cash balance, and for working capital management, the paper suggested three policies; 1. Hedging, 2. Conservative, and 3. Aggressive. Simultaneously, the financial institutions and the government sectors must also offer entrepreneurs policies or measures of assistance through interest rate policy, tax policy, and long term strengthening measures namely; building SMEs networking, fund raising for SMEs, and innovation for SMEs by way of R&D policy. All of these policies and measures will promote and strengthen SMEs of Thai entrepreneurs to be able to compete in the world market, and drive Thai economy to grow securely and sustainably.

Keywords         :  SMEs entrepreneurs, world economic crises, financial liquidity, management, cash management, working capital management


Publication        : วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 MBA-KKU Journal Vol.9 No.1 Jan-Jun 2016

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/mbakkujournal/issue/view/5998


Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2559). การจัดการสภาพคล่องทางการเงินสำหรับ ผู้ประกอบการ SMEs ภายใต้วิกฤตเศรษฐกิจโลก. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น,  9(1), 281-303. 


Quick View

การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ (2558)

 

[mfn]อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2558). การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ. สยามวิชาการ, 16(1), 74-88.[/mfn]    การทดสอบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพระหว่าง ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำ

อาภรณ์ นุชาชาติพงศ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ  :  งานศึกษาวิจัยนี ้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพแบบ Granger ระหว่างราคาน้ำมันเชื้อเพลิงกับราคาทองคำในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง โดยเป็นความสัมพันธ์แบบทิศทางเดียว กล่าวคือ ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีความสามารถในการทำนายราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง แต่ในทางกลับกันเราไม่สามารถนำราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่งไปใช้ทำนายราคา น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 ได้ อย่างไรก็ตาม เราไม่พบความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพในทิศทางใดๆ ระหว่างราคาน้ำมันดีเซลกับราคาทองรูปพรรณและราคาทองแท่ง

คำสำคัญ  : ความสัมพันธ์เชิงเหตุภาพ

Abstract:  We have studied Granger causality between the prices of oil and gold or gold products. The major finding is that there is one-way Granger causality between the prices of Gasohol 95 and gold. The change in prices of Gasohol 95 can predict change in prices of gold or gold products. On the other hand, the change in prices of gold or gold products cannot predict change in prices of Gasohol 95. However, we do not find Granger causality between the prices of Gasoline and gold or gold products in any directions.

Keyword  : Granger causality


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 16 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 26 ก.ค.-ต.ค. 2558 Siam Academic Review Vol. 16 No.1 Issue 26 Jul-Oct 2015

Quick View
สยามวิชาการ-siam academic review-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่19ฉบับที่32-มีนาคม-กรกฎาคม-2561

การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน (2561)

[mfn]สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี. (2561). การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน. สยามวิชาการ, 19(1), 1-18.[/mfn]    การทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน
สมชาย เบ็ญจวรรณ์ และ ปรัชญา ปิ่นมณี


บทคัดย่อ     :  บทความนี้สนใจทดสอบสมมติฐาน การบริโภคสินค้าคงทนในอดีต ส่งผลกระทบเชิงลบต่อการบริโภคสินค้าคงทนในปัจจุบัน ระเบียบวิธีการศึกษาจะเริ่มต้นจากทดสอบความนิ่ง (Stationary) ของข้อมูลอนุกรมเวลา จากนั้นสร้าง แบบจําลอง Autoregressive Model (AR(p)) โดยใช้ Akaike Information Criterion (AIC) กําหนดค่า p ที่เหมาะสมที่สุด สุดท้ายจึงทดสอบโดยใช้ F-test with n restriction ผล
การศึกษาเชิงเศรษฐมิติสามารถสรุปได้ว่า สมมติฐานนี้เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดรองเท้า หมวดเครื่องใช้และการบํารุงรักษาครัวเรือน และหมวดอุปกรณ์การประมวลผลข้อมูลภาพและเสียง อย่างไร
ตาม สมมติฐานข้างต้นไม่เป็นจริงสําหรับการบริโภคสินค้าคงทนหมวดเสื้อผ้า หมวดเครื่องเรือน และหมวดยานพาหนะ

คําสําคัญ    : การทดสอบสมมติฐาน, สินค้าคงทน

Abstract  :  This paper tests the hypothesis “high past durable goods spending leads low present durable goods spending”. We use econometric methods such as the unit root test, selecting
autoregressive model (AR (p)) with Akaike information criterion (AIC), and F-test with n restriction. The hypothesis is accepted for (a) footwear, (b) household equipment and maintenance of the house, and (c) audio-visual, photographic and information processing equipment. The hypothesis is rejected for (d) clothing, (e) furniture, and (f) purchase of vehicles.

Keywords  :  Hypothesis Testing, Durable Goods


 

Quick View

การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

 

ชื่อบทความ     :  การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาDevelopment of School Administration Skills for Phrapariyattidhamma School Administrators, General Education Section

เจ้าของผลงาน       :  พระวรธนกร กิตฺติญาโณ แก้วพิลา, สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์ และ ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

บทคัดย่อ                :  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาด้านทักษะการบริหาร ๒) เพื่อพัฒนาทักษะการบริหาร ๓) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๕๕๖ รูป/คน สถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และแบบตรวจสอบกลุ่มตัวอย่าง ๒๐๑ รูป/คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพปัจจุบันปัญหาด้านทักษะการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่ามีการขาดการบริหารอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงแต่การมอบอำนาจในการตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีลำดับชั้นสูงกว่า การจัดการบริหารในภาพรวมไม่เด่นชัดรวมทั้งการบริหารจัดกิจการคณะสงฆ์ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับดี การสั่งการจากบนลงล่างการศึกษาของวัดและของคณะสงฆ์ขาดการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการที่ดี
๒. การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา สำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า ความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
๓. กระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย ๕ ส่วน ดังนี้ ๑) องค์ประกอบของทักษะผู้บริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน
๒) กระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน ๓) ประเภทการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน ๔) องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา ๖ ด้าน และ ๕) กิจกรรมการพัฒนาทักษะ ๕ กิจกรรม อีกทั้งยังพบหลักปาปณิกธรรม ๓ ที่ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บริหารที่ตรงตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ผู้มองการณ์ไกลในการทำงาน (จักขุมา) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน (วิธูโร) และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (นิสฺสยสัมปันโน)

คำสำคัญ                :  การพัฒนา, ทักษะการบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา


 

Publication        : วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2561

                                  Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU Vol.5 No.3  September-December 2018

Link to Publication:    http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/edmcu/issue/archive

Download PDF        :    https://tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/163594

Bibliography  : พระวรธนกร กิตฺติญาโณ แก้วพิลา, สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์ และ สมหมาย จันทร์เรือง. (2554). การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 66-76.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เคเคฟู๊ด จำกัด

 

Title              :  การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เคเคฟู๊ด จำกัด : The Development of Inventory Management System: A Case Study of KK Food Co., Ltd

Researcher       :   วีนา โชติช่วง, ณิชากร โรจนวัชร และ ชนสรณ์ อุทัยเภตรา

 Veena Chotchuang, Nichakorn Rojanawat and Chonsorn Uthaipetra

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  veena.cho@siam.edu, nic_roj@siam.edu, cha_uth@siam.edu

บทคัดย่อ             :   บริษัทเคเคฟู๊ดจำกัด ดำเนินธุรกิจเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าบริโภค อาหารสดและอาหารแปรรูปต่างๆ การบันทึกสินค้าเป็นการจดลงกระดาษ ทำให้เกิดปัญหาหลายประการ ได้แก่ การบันทึกมีการผิดพลาด เกิดความไม่สะดวกในการสั่งสินค้าจากผู้ขายต้องนำข้อมูลที่เป็นลายมือที่จดบันทึกมาพิมพ์เป็นรายงาน เพื่อส่งแฟกซ์รายการสั่งซื้อสินค้ากับผู้แทนจำหน่าย ทำให้เป็นการทำงานที่ซ้ำซ้อน และเสียเวลา
ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัทเคเคฟู๊ดจ ากัดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวก จัดการข้อมูลต่างๆให้เป็นระบบ ช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ซ้ำซ้อน มีการออกรายงานที่ถูกต้อง ระบบนี้พัฒนาตามกรอบแนวคิด SDLC (System Development Life Cycle) โดยใช้ waterfall model ในการดำเนินงานแต่ละขั้นตอน ทำให้สามารถตรวจสอบ และกลับมาแก้ไขในขั้นตอนก่อนหน้าได้ ระบบถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP บนใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL รวมถึงการนำทฤษฎี Operation Research มาจัดการในเรื่องการจัดการสินค้าคงเหลือ และปริมาณการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่ดีที่สุด ทั้งนี้เป็นการลดต้นทุนการขนส่งสินค้ากับธุรกิจ ผู้เกี่ยวข้องกับระบบจะประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้ที่เป็นลูกค้า, เจ้าของร้าน, ผู้แทนจำหน่าย และ พนักงานในร้าน โดยมีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบอยู่ในระดับดี คือ 4.43 จากผลการดำเนินงานสรุปได้ว่า ระบบช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการสินค้าได้อย่างถูกต้อง สามารถลดปริมาณสินค้าที่ไม่มีการเคลื่อนไหวส่งผลให้ต้นทุนสินค้าค้างสต๊อกลดลง มีการจัดสำรองสินค้าไว้ในระบบได้อย่างเหมาะสมเพื่อเป็นการลดปัญหาสินค้าไม่พอจัดจำหน่ายซึ่งอาจทำให้ธุรกิจขาดรายได้ ช่วยให้การทำงานสะดวกขึ้น ลดข้อผิดพลาดในขั้นตอนการดำเนินงาน และฟังก์ชันการใช้งานต่างๆในระบบตรงไปตามความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างสมบูรณ์

คําสําคัญ             :  ระบบบริหารจัดการสินค้า, จัดการสินค้า, บริษัทเคเคฟู๊ดจำกัด

Abstract            :  KK Food Co., Ltd. is a distributor in the food industry. The company provides both fresh and processed products, and it has experienced some difficulties in its inventory management system. Formally, a paper-based system was used; as a result, mistakes were found in the records. Also, the process of placing orders was inconvenient and redundant as the information that was originally written in a paper needed to be entered on a computer before being faxed to manufacturers. This redundancy has wasted valuable time of the company. Therefore, researchers have developed an inventory management system based on the case study of KK Food Co., Ltd. in order to facilitate work process, systemize the data, reduce task redundancy, and enhance data accuracy. This system, written with PHP script on MySQL database system, was developed based on the framework of SDLC (System Development Life Cycle), and the Waterfall Model was used for software development so that revision and verification can be conducted. The Operation Research theory was applied in the inventory management and order quantity adjustment as it will reduce logistics cost when distributing products to customers, shop owners, distributors, and shop staff. The level of user satisfaction was high, with the score at 4.43. The results of system evaluation indicated that this system enhanced the efficiency and accuracy of inventory management. Also, this program helped to reduce excessive stock and inventory cost, and maximized distribution efficiency. The system operated perfectly in terms of what it was designed for; making the work process more convenient, reducing errors and mistakes, and meeting user requirements.

Keywords        :    inventory management system, inventory management, KK Food Co., Ltd


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  วีนา โชติช่วง, ณิชากร โรจนวัชร และ ชนสรณ์ อุทัยเภตรา. (2561). การพัฒนาระบบบริหารจัดการสินค้า กรณีศึกษาบริษัท เคเคฟู๊ด จำกัด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 236-IT 243). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (2562)

ชื่อบทความ     :  การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย : The Training Curriculum Development for Section Chief Vocational Education Institutes based on the Concept of Routine to Research

เจ้าของผลงาน       : เบญจวรรณ บวรกุลภา  รวีวรรณ ชินะตระกูล  และมนต์ชัย เทียนทอง

หน่วยงาน               :  ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  varaporn.lim@siam.edu

บทคัดย่อ                : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม พัฒนาหลักสูตรและ หาประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม มีขั้นตอนวิจัย 9 ขั้นคือ ศึกษาสภาพปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม สังเคราะห์หัวข้อ ร่างรูปแบบ ประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ พัฒนาหลักสูตร ประเมินหลักสูตร นำหลักสูตรไปทดลอง นำไปใช้จริง และติดตามประเมินผล กลุ่มเป้าหมายในขั้นทดลองจำนวน 25 คนและ ขั้นนำไปใช้ มีจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบฝึกหัด แบบทดสอบ และแบบสอบถามขั้นสำรวจมีสถานศึกษาอาชีวศึกษาจำนวน 108 แห่งทั่วประเทศและมีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 788 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า การพัฒนาหลักสูตรได้รูปแบบของพิสิฐ เมธาภัทร หลักสูตรประกอบด้วย เนื้อหา การประเมิน สื่อ กิจกรรมขั้นตอนภายใต้วงจรเดมมิ่ง การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรมประยุกต์ใช้รูปแบบซิป ผลการพัฒนาหลักสูตร พบว่าหัวข้อหลักสูตรประกอบด้วย 5 หัวข้อ 1) การกำหนดปัญหาในการวิจัย 2) การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การออกแบบการวิจัย 4) การเก็บรวบรวมข้อมูลและสถิติในการวิจัย 5) รายงานวิจัยเพื่อพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยและการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ โดยผลการนำไปทดลองมีประสิทธิภาพ 84.21/82.05 และนำไปใช้ เท่ากับ 82.76/81.50 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 การประเมินผล หลักสูตร พบว่า ความพึงพอใจหลังฝึกอบรมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก ผลติดตามวิทยาลัย 4 แห่งอยู่ในระดับดี

คำสำคัญ                : การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย

Abstract              :  This research intended to Develop a Models, the training program and Efficiency evaluation for Section Chief vocational education Institutes based on the concept routine to research, was conducted through 9 research steps, i.e. situation and needs analysis, synthesis of routine to research, development of draft model, evaluation of the model appropriateness, development of the program, evaluation of the program, trial of the program, implementation with the target group, and evaluation. The target group in the trial step consisted of 20 persons while that of the implementation was 25 persons with the qualification according to the set criteria. The questionnaire was used to survey 108 vocational institutes on 788 subjects. Research statistics included frequency, percentage, arithmetic mean, and SD with the results as follows. Model of the training curriculum development for Section Chief vocational education colleges based on the concept routine to research according to Pisit Methapatara Model revealed that the program consisted of analysis steps, synthesis of the topic, modification of the topic, and objectives, developed program consisting of content, evaluation, teaching media, and activities under the Deming Cycle, the developed program was evaluated through CIPP Model. The development of this training program consisted of 5 topics, i.e. 1) define the research problem, 2) review literature and related researches, 3) design the research, 4) collect data, and statistics 5) report the routine to research and results research to apply. It was found that the developed research reached the efficiency of try out was 84.21/ 82.05 and the efficiency of implementation was 82.76/ 81.50 higher than the set criteria at 80/80.The results of the program evaluation by CIPP Model showed that the trainees reported high satisfaction and the follow-up study evaluated by the specialists on 4 colleges was at high level.

Keywords           : Training program development, routine to research


Publication        : วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา  ปีที่ 31 ฉบับที่ 110 เม.ย.-มิ.ย. 2562 Journal of Technical Education Development Vol.31 No.110 Aprril-June 2019

Link to Publication: http://www.ited.kmutnb.ac.th/ejournal/

Bibliography    : เบญจวรรณ บวรกุลภา,  รวีวรรณ ชินะตระกูล  และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2562). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมหัวหน้างานบุคลากรในสถานศึกษาอาชีวศึกษาบนฐานแนวคิด การพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 31(110), 72-79.


Quick View

การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม : Online Classroom Web Application Development: A Case Study in the Department of Computer Science, Siam University

Researcher       :  ธนาภรณ์ รอดชีวิต และ เฉลิมวุธ เที่ยงตรง

Thanaporn Rodcheewit and Chaloemwoot Thiangtrong

Department     :  ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  thanaporn.rod@siam.edu

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบดังกล่าว โดยระบบการเรียนการสอนในปัจจุบันภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยามนั้น อาจารย์ผู้สอนจะทำการเช็คชื่อเข้าเรียนโดยการเรียกชื่อผู้เรียน และทำการบันทึกลงกระดาษรายชื่อของแต่ละรายวิชา การสั่งงานเป็นการสั่งภายในห้องเรียนให้ผู้เรียนเขียนบันทึกลงกระดาษ หรือส่งเป็นดิจิตอลไฟล์ผ่านช่องทาง DropBox หรือ Google Drive เป็นต้น ไม่มีแหล่งในการจัดเก็บการสั่งงานแต่ละชิ้นงานที่ได้มอบหมาย โดยในการทวนคำสั่งของอาจารย์บางครั้งพูดไม่เหมือนเดิมทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจผิด และผู้เรียนไม่สามารถทราบคะแนนการบ้านและรายงานของตน หรือช่องทางในการสนทนาระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง ระหว่างผู้เรียนกับอาจารย์ผู้สอนในแต่ละรายวิชา โดยเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการเป็นสื่อกลางระหว่างอาจารย์และผู้เรียน โดยมีฟังก์ชันการทำงานระบบสามารถเช็คชื่อจากการเข้าใช้ระบบของผู้เรียน อาจารย์สามารถสั่งรายงาน การบ้าน และตรวจงานได้ สามารถแจ้งคะแนนให้ผู้เรียนทราบผ่านระบบ รวมถึงมีการสื่อสารผ่านกระดานสนทนาภายในเว็บโดยแบ่งกลุ่มตามรายวิชาที่ผู้เรียนลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษา พัฒนาด้วย ภาษา PHP HTML JavaScript ด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver cs6 บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วย phpMyAdmin บริหารจัดการข้อมูลด้วยภาษา MySql ผลการดำเนินงานเมื่อให้ผู้ใช้งานทดลองใช้ พบว่าระบบสามารถทำงานได้ตามฟังก์ชันการทำงานที่กำหนดไว้ และจากการประเมินประสิทธิภาพของระบบในด้านต่างๆ โดยใช้แบบสอบถามจากกลุ่มผู้ใช้ที่เป็นอาจารย์ผู้สอนจำนวน 1 คน ผู้ดูแลระบบ จำนวน 1 คน และผู้เรียน จำนวน 28 คน มีระดับความพึงพอใจคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

คําสําคัญ             :  ห้องเรียนออนไลน์ เว็บแอปพลิเคชั่น การเรียนการสอน

Abstract            :  The purpose of this research is to develop web application system for an online classroom using a case study in the department of Computer Science of Siam University, and to evaluate user’s satisfaction for the system. For the teaching system in the Department of Computer Science, Siam University, instructors normally have checked the students’ names and recorded them in a paper list of each course. Additionally, work order was done within the classroom. Then, the students would write their assignments in papers which were sent as digital files via Drop Box or Google Drive. There were no sources for storing work orders. Sometimes, the work orders of the instructors were not the same for each time. This led to the misunderstanding for students. In addition, the students could not either know scores of their assignments or have communicating paths between students and instructors for each subject. Online classroom application could increase efficient communicating paths between instructors and students. In the application system, there was many functions such as name-check, assignment order, score report and communicating path for students enrolled in each semester. This application was developed by PHP, HTML and JavaScript languages using Adobe Dreamweaver CS6, database management with phpMyAdmin applications, as well as data management with MySql language. After trial using this application, results indicated that the system could work well according to the specified functions. Assessment of system proficiency in various areas using questionnaires evaluated by 1 teacher, 1 administrator and 28 students. The result revealed the average score of satisfaction is 4.02, which is regarded as a high level.

Keywords        :    Online Classroom, Web Application, Learning and Teaching


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6  The 6th Academic Science and Technology Conference 2018 วันพุธที่ 6 มิถุนายน 2561  ณ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :  ธนาภรณ์ รอดชีวิต และ เฉลิมวุธ เที่ยงตรง. (2561). การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชั่นห้องเรียนออนไลน์ กรณีศึกษา ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 6 (หน้า IT 496-IT 507). สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.


Quick View

การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน

 

Title              :  การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน : Developing a Web Application for Measuring Aptitude

Researcher       :  นัดชพร นิลสระคู¹ อมรชัย ตันติเมธ² วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์³

Department     :  ¹บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160
²บัณฑิตวิทยาลัย สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160
³บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160

E-mail                :

บทคัดย่อ             :  เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับวัดความถนัดทางการเรียน พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เป็นเครื่องมือในกำรวัดความถนัดในการเรียน และ ความชอบในอาชีพของบุคคล เพื่อใช้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของแต่ละคน เว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับ วัดความถนัดทางการเรียน พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 และ บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม MySQL โดย วัดความถนัดทางการเรียน ด้วยแบบทดสอบ แบบเลือกตอบ จำนวน 15 ข้อ แต่ละข้อจะมีตัวเลือกตอบ 6 ตัวเลือก ตามหลักแนวคิดของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ซึ่งแต่ละตัวเลือกจะถูกแปลผลออกมาเป็นบุคลิกภาพใน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคลิกภาพแบบจริงจังไม่คิดฝัน กลุ่มที่ 2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาและความคิดทางวิชาการ กลุ่มที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ กลุ่มที่ 4 บุคลิกภาพที่ชอบสมาคมสังคมกับผู้อื่น กลุ่มที่ 5 บุคลิกภาพแบบกล้าคิด กล้าท ำ กลุ่มที่ 6 บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน จกกผลการทดสอบ จำนวน 90 คน พบว่า มีความถูกต้อง 85.56%

คําสําคัญ             :  เว็บแอพพลิเคชั่น, ความถนัดทางการเรียน

Abstract            :  In this research, we developed a Web application as an effective tool to measure aptitude (or competency) of users based on the learning and career preferences of individuals matched with their personality type. The proposed Web application for measuring aptitude was developed through Adobe Dreamweaver CS6 and MySQL (as a database administration framework). The competency evaluation exam consists of 15 multiple-choice questions, each of which has six choices (as categorized and suggested by John L. Holland). Each of the choices is corresponding to a single type of human personality, which can be divided into six different groups: 1) realistic, 2) investigate, 3) artistic, 4) social, 5) enterprising, and 6) conventional. In our experiments, 90 people from various professions were randomly selected and tested; and the results were 85.56% correct.

Keywords        :    Web Application , Measuring aptitude

Download PDF:  การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน


Proceeding       : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “พหุวัฒนธรรม : โอกาสและความท้าทาย” ศูนย์บริการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1-1 ชั้น 1 (อาคารสนม สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :    นัดชพร นิลสระคู, อมรชัย ตันติเมธ และ วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “พหุวัฒนธรรม : โอกาสและความท้าทาย (หน้า 234-247). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


Quick View