ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา

 

Title              :  ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา: Knowledge and Attitude of the Elderly Caregivers: A Case Study of Thammapakorn Phoklang and Watmuang Elderly
Care Center Nakhonratchasima Province

Researcher       :  ดร. บุษยา วงษ์ชวลิตกุล,วิรัช สงวนวงศ์วาน,สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา,ดร. ธนกร ลิ้มศรัณย์,สิริวดี ไทยสมัครและคณิต เรืองขจร
Department      :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 : dr.tanakorn@siam.edu

Abstract            :  The purposes of this research were (1) to explore the knowledge of the elderly caregivers (2) to explore thepersonal’s positive attitude and negative attitudeof the elderly caregivers in the ThammapakornPhoklang and Watmuang Elderly Care Center Nakhonratchasima.Purposive sampling was adopted in this research study, by selected 60 elderly caregivers of these two places, who work at least 1 year. There were 53 respondents, and 51 set of questionnaires returned to the researchers or 96.23 percent. The researchers used descriptive statistics such as frequency percentage average and standard deviation to analyze and interpret the data. The finding has shown as follows; the majority group of respondents incorporated was female, aged between 31-40 years old and study under bachelor degree. Most of respondents had worked in these two places less than 20 years. The elderly caregivers knowledge were in the medium level or 50 – 79 percentin the understanding of aging processes and suitable physical environment for older people. In addition, the sample group had high level of personal’s positive attitude and low level ofpersonal’s negative attitude toward the elderly people. Thus, Nakhonartchasima Provincial Administration Organization (NakhonRatchasima PAO) and the related organization should urgently improve the knowledge for the caregivers of elderly people and consistency. Moreover, these organizations should develop positive attitude and decrease the negative attitude for caregiver of elderly peopleby establish activities or workshops in order to get into the Ministry of Public Health standard. Finally, these organizations should empower the team cooperation, support to the exchange or share knowledge and positive attitude for the caregivers of elderly people.

Key words         :  Elderly, Knowledge of caregivers for the elderly people, Attitude and Caregivers for the elderly people.


Publication        : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559

                               Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand  Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016

Link to Publication:    http://www.vu.ac.th/apheitvu/journal_v5n2.html

Download PDF  : ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา

Bibliography     :   บุษยา วงษ์ชวลิตกุล, วิรัช สงวนวงศ์วาน, สิริรัตน์ ฉัตรชัยสุชา, ธนกร ลิ้มศรัณย์, สิริวดี ไทยสมัคร และ คณิต เรืองขจร. (2559). ความรู้และทัศนคติของผู้ดูแลผู้สูงอายุ กรณีศึกษาผู้ดูแลผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์โพธิ์กลาง และสถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์วัดม่วงจังหวัดนครราชสีมา.  วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ,  5(2), 74-92. 


Quick View
จุฬาลงกรธุรกิจปริทัศน์-ปีที่38-ฉบับที่148-เมย-มิย-2558

ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย

[mfn]สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข (2559). ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(148), 64 – 104. [/mfn]   ความสามารถในการจัดการความหลากหลายที่มีต่อผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารในประเทศไทย
สมพร ปานยินดี, วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ และ จันทนา แสนสุข 


ผลงานวิชาการ ดร.สมพร ปานยินดี – Somporn Panyindee

Quick View

ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

 

Title              : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร MARKETING MIX FACTORS AFFECTING DECISION MAKING TO TRAVEL TO FLOATHING MARKET OF THAI YOUTH IN BANGKOK

Researcher       : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง

Department      :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ติดต่อได้ที่:

บทคัดย่อ              :  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเยาวชนไทยที่มีอายุไม่เกิน 24 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนามาจากการค้นคว้าทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบสอบถามครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติ t-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มจากการสำรวจข้อมูลเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400คน พบว่ามีผู้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ จำนวน 367คน คิดเป็นร้อยละ 92 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำ พบว่า เยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ และด้านราคา ตามลำดับ โดยด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง การประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องกิจกรรมพิเศษในช่วงเทศกาล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ทัศนียภาพที่สวยงามมากที่สุด รองลงมาคือ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตลาดน้ำ และความสะดวกในการเดินทาง ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง สินค้าที่มีรูปแบบทันสมัยมากที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจำหน่ายยาก และการบริการด้วยอัธยาศัยไมตรี และด้านราคา เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ราคาสินค้ามีความเหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุดรองลงมาคือ การติดป้ายราคาอย่างชัดเจน โดยราคาและการบริการควร มีความเหมาะสมกับคุณภาพผลการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือก76วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2556)ท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยใช้สถิติ ttestกรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการศึกษาและรายได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เยาวชนไทยที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนเยาวชนไทยที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกัน

คำสำคัญ              :  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจ การท่องเที่ยว ตลาดน้ำ

Abstract            :  This research aimed to study the factors that affect the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets. The target group for this research was Thai young adults who were not over 24 years old, living in Bangkok, and having traveled to floating markets in Bangkok or nearby. The sam-ple size for this research consisted of 400 Thai young adult tourists. The researcher used a questionnaire to collect all the data and the convenience sampling method was used. The questionnaire was developed from theories and other related research. Also, the researcher used descriptive statistical analysis, which included statistical distribution, frequency, percentage, average, and standard deviation. An inferential statistical analysis was also included to find T-Test and F-Test scores to compare differences between the averages of the two groups.

From the questionnaire, the researcher found that among the 400 samples, only 367 ques tionnaires or 92 percent were completed. The sample also showed that in terms of gender, 56.70 percent were female and 43.30 percent were male. The average age of respondents was 18 – 24 years. 90.70 percent of the respondents were single. High school students made up 94.60 percent of all respondents to the questionnaires. Primarily, most of the sample had an income under 10,000 THB per month. The results of questionnaire show that 95.40 percent of the respondents valued the topic of this research. The important factors of concern were advertising, distribution channel, products and services, and price. The most important factor that affected the respondents’ decision making process was advertising. The res pondents value promotions through various media channels and special events. The second most important
factor was the distribution channel. The enviro ment and uniqueness of floating markets alongside the comfort of transportation were seen as important factors. The third important factor was found to be products and services. Modern packaging of products, local products and a service minded staff were valued. The last factor was price. Respondents valued reasonable prices. Clearly price tags and service charges must be in line with the quality of service.
The results of this research found factors affecting the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets exist. The distinguishing variables were gender, age, level of education, occupation and income. The researcher used T-Test scores for comparing the differences of gender, age and occupation. F-Test scores were used to compare the differences of levels of education and income. The statistical results showed that Thai young adults can be divided into different demographics by gender, age, occupation, and income. The results are almost the same as the factors that affected their decision to travel to any particular floating market. However, Thai young adults who have a different educational backgrounds are found to have different values in relation to traveling to floating markets.

Keywords         :  Marketing strategy, decision, tourism, floating market.

Download PDF  :    ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร


Publication        : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.8 No.2 (July-December 2013)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/2026


Bibliography     :  ชลลดา มงคลวนิช, รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย,  8(2), 75-90. 


Quick View

ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา

 

Title              :  ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา: Success of management Primary World-Class Standard school

Researcher       : พรรณวดี ปามุทา สุภัทรา เอื้อวงศ์ และ ชญาพิมพ์ อุสาโห

Department     :  Graduate School of Education, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  phansom2510@gmail.com

บทคัดย่อ             :  บทความนี้อธิบายถึง ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา ซึ่งเป็นโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนมาตรฐานสากลทุกโรงเรียน มีการบริหารจัดการด้วยระบบคุณภาพ ตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Thailand Quality Award : TQA) ความสำเร็จของโรงเรียนในการดำเนินงานตามโครงการโรงเรียนมาตรฐานสากลจะพิจารณาจากคุณภาพของผู้เรียนที่เพิ่มขึ้นตามเป้าหมายที่แต่ละโรงเรียนกำหนด โรงเรียนจะประสบความสำเร็จ ในหลายๆด้าน ต้องอาศัยปัจจัยเกื้อหนุนและส่งเสริมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ที่เห็นได้ชัด ได้แก่ ลักษณะของนโยบายการบริหาร และการปฏิบัติการจัดสรรงบประมาณเพียงพอต่อการดำเนินการพัฒนาคุณภาพการศึกษา บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ นโยบายของโรงเรียนมีการตอบสนองต่อปัญหาคุณภาพการศึกษาและความต้องการของผู้เกี่ยวข้อง จากบทความนี้ผู้บริหาร ครู อาจารย์ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา และการทำวิจัยต่อไป

คำสำคัญ             :  โรงเรียนมาตรฐานสากล การบริหารจัดการ ความสำเร็จ

Abstract            :  This article describes to Success of management Primary World-Class Standard school. The school is affiliated with the Office of Basic Education Commission. All International Schools Managed by the quality system. According to the Thailand Quality Award (TQA) School success in the implementation of INTERNATIONAL STANDARD SCHOOL PROJECTS. Considering the quality of the learner’s increased goals for each school. Schools are successful in many aspects, and need supportive factors both inside and outside the school. Factors Affecting Success in International School Management. These include the nature of management policies and practices. The budget allocation is adequate for the development of educational quality. Personnel with good knowledge and professional attitude. School policy is responding to quality education issues. The needs of those involved. From this article, the administrators and the teachers can take advantage of the development of educational quality. And further research

Keywords         :  Management ,World-Class Standard school , Success

Download PDF:  ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา 


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  พรรณวดี ปามุทา, สุภัทรา เอื้อวงศ์ และ ชญาพิมพ์ อุสาโห. (2560). ความสำเร็จในการบริหารจัดการโรงเรียนมาตรฐานสากล ระดับประถมศึกษา. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 536-547). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

คู่มือการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับธุรกิจ ประเภทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบ WISEPAQ FWD SHIP

Title: คู่มือการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับธุรกิจ ประเภทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบ WISEPAQ FWD SHIP

อาจารย์ผู้สอน:   อาจารย์ อรนุช อินทวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม


[dflip id="8161"][/dflip]

Bibliography :   อรนุช อินทวงศ์. (2567). คู่มือการบันทึกข้อมูลเพื่อจัดทำเอกสารสำหรับธุรกิจ ประเภทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ ในระบบ WISEPAQ FWD SHIP. คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View

ทัศนคติและความตั้งใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร (2557)

 

[mfn]เบญจวรรณ บวรกุลภา. (2558). ทัศนคติและความตั้งใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 15(2), 68-79.[/mfn]   ทัศนคติและความตั้งใจซื้อรถยนต์ประหยัดพลังงานของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร The Attitude and Intention of Consumers in Buying Economic Cars in Bangkok Area

ผศ.เบญจวรรณ บวรกุลภา


วารสารสยามวิชาการ ปีที่ 15 เล่มที่ 2 ฉบับที่ 25 พ.ย. 2557 – ก.พ. 2558 Siam Academic Review Vol. 15 No.2 Issue 25 Nov 2014 -Feb 2015

Quick View

นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ (2560)

Title              : นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ : DIVIDEND POLICY FOR SMEs ENTREPRENEURS IN ECONOMIC CRISIS SITUATION

Researcher       : สุรชัย ภัทรบรรเจิด 

Surachai Pattarabanjird 

Department      :  Faculty of Business Administration , Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  spsmart99@hotmail.com

บทคัดย่อ              :   ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในประเทศอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่มีสัดส่วนกว่าร้อยละ 90 ของจํานวนผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ ผลกระทบต่อ SMEs อยู่ในภาวะที่ขาดทุน และผลกระทบที่สําคัญ คือ ผู้ประกอบการ SMEs ไม่สามารถจ่ายปันผลได้ ดังนั้นในช่วงภาวะวิกฤติเศรษฐกิจผู้ประกอบการ SMEs ต้องวางแผนในด้านนโยบายการจ่ายปันผลที่จะทําให้ผู้ถือหุ้นมีความเชื่อมั่นต่อกิจการและยังคงถือหุ้นของ SMEs ต่อไป

ผลการศึกษาจากงานวิจัยและบทความต่างๆ ที่เกี่ยวกับหุ้นปันผลทั้งในและต่างประเทศแสดงให้เห็นว่า หุ้นปันผลเป็นทางเลือกหนึ่งในการลงทุนในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ โดยในระยะยาว หุ้นปันผลจะให้ผลตอบแทนรวมสูงกว่าตลาด และกลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนสูงจะสามารถสร้างอัตราผลตอบแทนรวมสูงกว่ากลุ่มหลักทรัพย์ที่มีองค์ประกอบด้วยหุ้นปันผลที่มีอัตราเงินปันผลตอบแทนตํ่า และผลตอบแทนดังกล่าวสูงกว่าการลงทุน ในพันธบัตรระยะยาว ตั๋วเงินคลังและตราสารเงินฝากในตลาดเงิน นอกจากนี้อัตราเงินปันผลตอบแทนมีผลต่ออัตราผลตอบแทนรวมในสัดส่วนค่อนข้างสูง ดังนั้นหุ้นปันผลจึงถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสมและน่าสนใจอย่างยิ่งในการลงทุนระยะกลางและระยะยาวในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ

สําหรับนโยบายการจ่ายปันผลสําหรับผู้ประกอบการ สามารถจําแนกได้เป็น  1) นโยบายการจ่ายปันผลปกติ (Regular dividend policy) 2) นโยบายการจ่ายปันผลคงที่ ( ั Stable Dividend Policy) 3) นโยบายการจ่ายปันผลไม่คงที่ (Irregular Dividend Policy) 4) นโยบายการไม่จ่ายปันผล (No Dividend Policy) และ 5) นโยบายการจ่ายปันผลแบบกําหนดสัญญาระยะกลางหรือระยะยาว (Medium-WHUP DQG /RQJ-WHUP & RQWUDFWHG ‘LYLGHQG 3ROLF\) ซึ่งเป็นแนวคิดใหม่สําหรับผู้ประกอบการ SMEs อันเป็นนโยบายที่จะช่วยให้ราคาหุ้นไม่ได้รับผลกระทบจากการชะลอจ่ายปันผลในช่วงวิกฤติการณ์ โดยมีข้อดีที่สําคัญ เช่น ลดภาระการจ่ายปันผลให้กับผู้ประกอบการ  SMEs ของไทยในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs ของไทย สามารถรักษาสภาพคล่องของกิจการและดํารงกิจการอยู่รอดไปได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ผู้ประกอบการ SMEs สามารถนําเงินปันผลไปลงทุนหรือขยายกิจการได้ต่อเนื่อง และช่วยลดภาระหนี้สินระยะสั้นและระยะกลาง เป็นต้น

คำสำคัญ              :  ผู้ประกอบการ SMEs นโยบายการจ่ายปันผล ภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ หุ้นปันผล

Abstract            :  World Economic Crisis has been an effect to Economic Crisis in Thailand from past to present time. These economic crises have a huge impact to Thai entrepreneurs especially SMEs entrepreneurs that has more than 90% of Thai entrepreneurs. These crises make a loss to SMEs entrepreneurs and has an impact to decrease return to equity (ROE) that come from unable to pay dividend. So in these crises, SMEs entrepreneurs must have a plan for dividend policy that will make a confident for its enterprises and shareholders.

Research studies on dividend payment in Thailand and other countries show that stock dividend is a good investment during economic crises especially in the long-term, stock dividend can pay return more than market return. Dividend yield from stock has a greater yield than longterm bond, treasury bill and money market instrument. So investment in stock dividend is a suitable and interesting for a medium-term and long-term investment during economic crises situation.

Dividend policies for SMEs entrepreneurs can be categorized in five approach ; 1) Regular Dividend Policy 2) Stable Dividend Policy 3) Irregular Dividend Policy 4) No Dividend Policy and 5) Medium-term and Long-term Contracted Dividend Policy, the new idea for SMEs entrepreneurs that cannot pay dividend during economic crisis but do not has a critical impact to stock price. This dividend policy has many advantages for SMEs entrepreneurs during economic crisis such as, decrease cash dividend for SMEs entrepreneurs, keep financial liquidity for SMEs entrepreneurs, SMEs entrepreneurs can use capital for another investments and Decrease shortterm debt.

Keywords         :  SMEs Entrepreneurs, Dividend Policies, Economic Crises, Stock Dividend

Download PDF:  นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ


Publication        : วารสารการจัดการสมัยใหม่ ปีที่ 15 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2560 Modern Management Journal Vol.15 No.1 Jan-Jun 2017

Link to Publication:   http://sms-stou.org/pr/index.php/th/?option=com_boonbooks&actiontype=tableofcontents


Bibliography     :  สุรชัย ภัทรบรรเจิด. (2560). นโยบายการจ่ายปันผล สำหรับผู้ประกอบการ SMEs ในภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ. วารสารการจัดการสมัยใหม่,  15(1), 23-34. 


Quick View

บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า

 

Title              :  บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า: Unlawful Act in Contravention of Administrative Contract by a Public Officer: The Case of the Licensing for the Installation of Wind Generators on Sor Por Kor (Agricultural Land Reform) Land

Researcher       :  อาจารย์ ลัดดาวัลย์ อุทัยนา
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  laddawanuthaina@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หมายถึงการปรับปรุงสภาพการถือครองที่ดิน สถาบันทางการเกษตร สถาบันสนับสนุนการบริการทางการเกษตรและสถาบันอื่นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาชนบท โดยมีภาระกิจการจัดขนาดการถือครองที่ดินให้เพียงพอแก่การครองชีพ การปรับปรุงระบบการเช่าที่ดินมิให้มีการเอารัดเอาเปรียบกันจนเกินไป และให้ความมั่นคงในการถือครองที่ดินตลอดจนการจัดรูปที่ดินให้เหมาะสมกับความเป็นอยู่และเกษตรกรรม ปรับปรุงการใช้แรงงานในการเกษตรและส่งเสริมองค์ความรู้ทางการเกษตรแผนใหม่ การจัดระบบภาษีที่ดิน การให้สินเชื่อเพื่อเกษตรกรรม การรวมกลุ่มเป็นสหกรณ์เพื่อการเกษตรและการครองชีพ การจัดการอุตสาหกรรมในชนบทและการจำหน่ายผลิตผลทางการเกษตร รวมตลอดถึงการพัฒนาการศึกษาและสาธารณะประโยชน์ต่างๆในชนบทด้วย ดังนั้น พระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2518 และที่แก้ไขเพิ่มเติม จึงเป็นส่วนหนึ่งในกฎหมายหลายๆ ฉบับที่ต่างก็มีภารกิจในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ด้วยเหตุนี้การดำเนินการของฝ่ายปกครองเพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายดังกล่าว ย่อมก่อให้เกิดความเชื่อถือและไว้วางใจ ในเอกชนผู้เข้าร่วมดำเนินการทางปกครองหรือตกอยู่ภายใต้การดำเนินการทางปกครอง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดข้อพิพาทขึ้น อาทิเช่น คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญาทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า กรณีเป็นคดีพิพาทที่เกี่ยวกับบริษัทเอกชนได้ยื่นคำขอรับการจัดที่ดินหรืออสังหาริมทรัพย์เพื่อใช้สำหรับกิจการที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เพื่อดำเนินการกิจการกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า ซึ่งในคดีนี้มีประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิเคราะห์ว่าการดำเนินการของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) เป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ ตลอดจนวิเคราะห์ถึงหลักการและการให้เหตุผลในการวินิจฉัยคดีของศาล ว่าเป็นไปตามหลักกฎหมายปกครองและสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือไม่ อย่างไร

คำสำคัญ             :   การติดตั้งกังหันลมในที่ดินของสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม

Abstract            :  Agricultural land reform refers to the development in land usage and ownership, the process of which is undertaken by various agricultural, agricultural services, and other relevant rural development agencies. Their missions comprise of as follows: reallocation of land occupation for the purpose of ensuring subsistence; regulation of land leasing for the purposes of preventing unfair practices, and ensuring security in land occupation; consolidation of land to promote agricultural and dwelling uses; improvement in the use of labour in agriculture; provision of support in accumulating body of knowledge concerning new agricultural plan; restructuring of land tax and agricultural loans; provision of support for the establishment of agricultural cooperatives; regulation of industrial works in rural area; distribution of agricultural products; and improvement of educational system and provision of public utilities in rural area. The Land Agricultural Reform Act B.E. 2518 (1975) along with its amendments are one of the various body of laws whose common objective concerns reform to agricultural land. It follows, therefore, that the works undertaken by administrative agencies pursuant to the aforementioned laws are imperative in establishing the trust and confidence between the public sector and the private organisations who participate in administrative process or whose undertakings are regulated by administrative law. However, such environment may create disputes. The Supreme Administrative Court’s Judgement No. Or.1728/2559 (2016) concerning the issue of permission granted by public officers for the establishment of a wind farm on Sor Por Kor (Agricultural land reform) land is one example of such. The ruling involves the application from a private firm for the usage of Sor Por Kor (Agricultural land reform) land to establish a wind farm for the purpose of generating electricity redundant. The case raises interesting issues for the purposes of analysing the law fulness of the Agricultural Land Reform Office (ALRO)’s acts; and the Court’s reasoning, particularly whether the Court’s ruling follows administrative law. Future, consideration is whether such activity is consistent with the intention of the law on agricultural land reform.

Keywords         :   The establishment of a wind farm on Sor Por Kor (agricultural land reform) land

Download PDF:  บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  ลัดดาวัลย์ อุทัยนา. (2560). บทวิเคราะห์คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.1728/2559 เรื่อง คดีพิพาท เกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา ทางปกครอง : กรณีขออนุญาตใช้ที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก.) ติดตั้งกังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้า. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 1232-1250). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย

 

Title              :  ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย: Efficiency of Total Quality Management in Thai Iron Foundry Organizations

Researcher       :  ดร.บุรินทร์ สันติสาส์น
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  burin007@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย วิธีการศึกษาประกอบด้วย การวิจัยแบบเชิงปริมาณ โดยการสุ่มตัวอย่างจาก โรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็ก ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดในภาคกลาง ที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ประเภทโรงงานหล่อหลอมเหล็ก เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 268 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Enter Multiple Regression) ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรต้น ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ การจัดการลูกค้าสัมพันธ์ การทำงานเป็นทีม การสื่อสารในองค์การ และความผูกพันกับองค์การ สามารถพยากรณ์ตัวแปรตาม คือประสิทธิภาพการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การของโรงงานหล่อหลอมเหล็กของไทยที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

คําสําคัญ             : ประสิทธิภาพ  การบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ  โรงงานหล่อหลอมเหล็กของไทย

Abstract            :  The objective of the study was to study factors affecting efficiency of Total Quality Management in Thai iron foundry organizations. The study employed quantitative research. The research instrument was questionnaire collected from 268 cases. The statistical techniques utilized to analyze data included mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient and multiple regressions (Enter method). The results showed that the independent variables included Leadership, Organization culture, Customer relation management, Team work, Organization communication and Organization commitment could predict the dependent variable, efficiency of Total Quality Management in Thai iron foundry organizations, at statistically significant level of .01.

Key words        :   Efficiency, Total Quality Management, Thai Iron Foundry Organizations


Publication      : วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ปีที่ 8 ฉบับที่ 1  ตุลาคม 2557 – มกราคม 2558  Journal of Social Academic  Vol.8 No.1  2015

Link to Publication:    https://www.tci-thaijo.org/index.php/social_crru/issue/archive


Bibliography   :  บุรินทร์ สันติสาส์น. (2558). ประสิทธิภาพของการนำแนวคิด TQM ไปปฏิบัติในโรงงานอุตสาหกรรมหล่อหลอมเหล็กของไทย. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ สำนักวิชาสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(1), 29-47.


Quick View

ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร : Saving Factors for After Retirement Planning Affect Saving Behaviours of People in Bangkok

Researcher       :  ชลธิชา มูลละ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  memory_may34@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accident Sampling) จํานวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.5 (294 คน) และ 26.5 (106 คน) ตามลําดับ มีอายุ 31-40 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64 (256 คน) และส่วน ใหญ่สมรสแล้วที่ร้อยละ 43.5 (174 คน) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดคือ มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 37.5 (150 คน) มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 57.8 (231 คน) โดยพฤติกรรม การออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุทั่วไป พบว่า ระยะเวลาการออมอยู่ในช่วง 1-5 ปีมากที่สุด ร้อยละ 44.5 (178 คน) จํานวนเงินออมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,001-5,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.3 (189 คน) และมีวัตถุประสงค์การออมเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรและตนเอง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.3 (201 คน) และนิยมรูปแบบการออมในแบบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.5 (206 คน) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านรายได้มีผล ต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออมอย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติ (Significant .002) แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านรูปแบบการออม (Significant .255) วัตถุประสงค์การออม (Significant .176) และระยะเวลาการออม (Significant .137) ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมมีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออม (Significant .000) และด้านระยะเวลาการออม (Significant .003) อย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติในทางกลับกัน ปัจจัยการออม เพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนใน
กรุงเทพมหานคร ในด้านวัตถุประสงค์การออม (Significant .453) และด้านรูปแบบการออม (Significant .226) ตามลําดับ

คําสําคญั              : ปัจจัยการออม พฤติกรรมการออม กรุงเทพมหานคร

Abstract            :  The objectives of this study were 1) to study saving for retirement plans of individuals in Bangkok and 2) to study the saving for retirement plan factors affecting savings behavior of people in Bangkok. The tool used in this research was questionnaire. The 400 samples were selected based on accident sampling. From the results, it was found that most respondents were female at 73.5 % (n=294) and male at 26.5% (n=106), most were between 31- 40 years at 64 % (n= 256), and most were married, 43.5 % (n= 174), most had monthly income more than 30,000 THB 37.5 % (n=150). The majority of those who worked were private company staffs at 57.8 % (n= 231). Concerning general saving for retirement plan, it was found that the time period for savings in the range of 1-5 years was the most at 44.5 % (n= 178), the savings at an average of 1001-5000 THB per month was the most at 47.3 % (n= 189), the intention for the savings to be used for the cost of their children education and their own spending at 50.3 % (n= 201), and the most popular form of savings was Provident fund at 51.5% (n= 206). From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .002, but did not affect the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of form of savings with statistical significance at .255, the intention for the savings with statistical significance at .176, and savings period statistical significance at .137, respectively. From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .000 and savings period with statistical significance at .003. Conversely, saving for retirement planning, life and savings products did not affect the savings of people in Bangkok in the savings with statistically significant at .453 and form of savings with statistically significant at .226, respectively.

Key words         :  Saving Factors, Savings Behavior, Bangkok


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     : ชลธิชา มูลละ และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A61-A69). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View