ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

 

[mfn]กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.[/mfn]   ความพึงพอใจในการซื้อ เครื่องประดับเงินของ นักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร

ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง


บทคัดย่อ:  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจํานวน
400 คน ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 56 และ 44 ตามลําดับ มีอายุมากกว่า 50 ปีมากที่สุด คือร้อยละ 19.8 มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดที่มากกว่า 2000 ยูโร คิดเป็นร้อยละ 45.5 มีสถานภาพสมรสมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 54.5 มีอาชีพทําธุรกิจส่วนตัวมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 23.3 และเป็นนักท่องเที่ยวจากประเทศอังกฤษมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 25.8 ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยส่วนบุคคลด้านรายได้ และสถานภาพ มีผลต่อความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05
คําสําคัญ: ความพึงพอใจในการซื้อ, นักท่องเที่ยวชาวยุโรป, เครื่องประดับเงิน

Abstract :  This research aims at examining silver jewellery buying satisfaction of European tourists in Bangkok. The study tool is a questionnaire for 400 samplings. The research findings indicated that the respondents are female more than male with 56 percent and 44 percent. The respondents are aged above 50 years (19.8 percent). Most have their average income per a month at 2000 EURO (45.5 percent). In the context of status, most are married (54.5 percent). Most have their own-business at 23.3 percent and most respondents are English tourists at 25.8 percent. The hypothesis finding indicated that the personal data in term of income and status is impacted on buying satisfaction of European tourists with positively significant at p = 0.05.
Keywords: Buying Satisfaction, European Tourists, Silver Jewellery


Bibliography:  กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ความพึงพอใจในการซื้อเครื่องประดับเงินของนักท่องเที่ยวชาวยุโรป ในกรุงเทพมหานคร. สยามวิชาการ, 17(1), 51-61.


สยามวิชาการ ปีที่ 17 เล่มที่ 1 ฉบับที่ 28 มี.ค. 2559 – ก.ค. 2559 Siam Academic Review Vol. 17 No.1 Issue 28 Mar 2016 – Jul 2016

 

Quick View

ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร : Saving Factors for After Retirement Planning Affect Saving Behaviours of People in Bangkok

Researcher       :  ชลธิชา มูลละ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  memory_may34@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาพฤติกรรมการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณของประชาชน ในกรุงเทพมหานคร และ 2) ศึกษาปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการ ออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ (Accident Sampling) จํานวน 400 ตัวอย่าง ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 73.5 (294 คน) และ 26.5 (106 คน) ตามลําดับ มีอายุ 31-40 ปีมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 64 (256 คน) และส่วน ใหญ่สมรสแล้วที่ร้อยละ 43.5 (174 คน) รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากที่สุดคือ มากกว่า 30,000 บาทขึ้นไป คิดเป็น ร้อยละ 37.5 (150 คน) มีอาชีพส่วนใหญ่เป็นพนักงานบริษัทเอกชน ร้อยละ 57.8 (231 คน) โดยพฤติกรรม การออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุทั่วไป พบว่า ระยะเวลาการออมอยู่ในช่วง 1-5 ปีมากที่สุด ร้อยละ 44.5 (178 คน) จํานวนเงินออมโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 1,001-5,000 บาทต่อเดือน มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 47.3 (189 คน) และมีวัตถุประสงค์การออมเพื่อเก็บไว้ใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรและตนเอง มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50.3 (201 คน) และนิยมรูปแบบการออมในแบบกองทุนสํารองเลี้ยงชีพมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 51.5 (206 คน) ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านรายได้มีผล ต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออมอย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติ (Significant .002) แต่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านรูปแบบการออม (Significant .255) วัตถุประสงค์การออม (Significant .176) และระยะเวลาการออม (Significant .137) ตามลําดับ นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมมีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนในกรุงเทพมหานคร ในด้านปริมาณการออม (Significant .000) และด้านระยะเวลาการออม (Significant .003) อย่างมีระดับนัยสําคัญทางสถิติในทางกลับกัน ปัจจัยการออม เพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุด้านผลิตภัณฑ์การออมไม่มีผลต่อพฤติกรรมการออมของประชาชนใน
กรุงเทพมหานคร ในด้านวัตถุประสงค์การออม (Significant .453) และด้านรูปแบบการออม (Significant .226) ตามลําดับ

คําสําคญั              : ปัจจัยการออม พฤติกรรมการออม กรุงเทพมหานคร

Abstract            :  The objectives of this study were 1) to study saving for retirement plans of individuals in Bangkok and 2) to study the saving for retirement plan factors affecting savings behavior of people in Bangkok. The tool used in this research was questionnaire. The 400 samples were selected based on accident sampling. From the results, it was found that most respondents were female at 73.5 % (n=294) and male at 26.5% (n=106), most were between 31- 40 years at 64 % (n= 256), and most were married, 43.5 % (n= 174), most had monthly income more than 30,000 THB 37.5 % (n=150). The majority of those who worked were private company staffs at 57.8 % (n= 231). Concerning general saving for retirement plan, it was found that the time period for savings in the range of 1-5 years was the most at 44.5 % (n= 178), the savings at an average of 1001-5000 THB per month was the most at 47.3 % (n= 189), the intention for the savings to be used for the cost of their children education and their own spending at 50.3 % (n= 201), and the most popular form of savings was Provident fund at 51.5% (n= 206). From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .002, but did not affect the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of form of savings with statistical significance at .255, the intention for the savings with statistical significance at .176, and savings period statistical significance at .137, respectively. From the hypothesis testing, it was found that the saving for retirement plan factors affected the savings behavior of people in Bangkok in the aspect of the amount of savings with statistical significance at .000 and savings period with statistical significance at .003. Conversely, saving for retirement planning, life and savings products did not affect the savings of people in Bangkok in the savings with statistically significant at .453 and form of savings with statistically significant at .226, respectively.

Key words         :  Saving Factors, Savings Behavior, Bangkok


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     : ชลธิชา มูลละ และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยการออมเพื่อการวางแผนชีวิตหลังเกษียณอายุที่มีผลต่อพฤติกรรมการออม ของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A61-A69). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View

ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร : Factors of Production to Enhancement of Garment for Exports in Bangkok

Researcher       :  นางสาวสาวิตรี ปานเดย์ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  rinapandey144@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ประกอบการธุรกิจเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการผลิตเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ประกอบการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร จํานวน 400 คน ทําการสุ่มตัวอย่างเป็นแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติไคสแควร์  ผลการวิจัย พบว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 41–50 ปีมีระดับการศึกษาระดับอนุปริญญา และมีระยะเวลาดําเนินกิจการ 15 ปีขึ้นไป นอกจากนี้ผู้วิจัยยังพบว่า ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานครมากที่สุด คือ ด้านแรงงาน รองลงมา คือ วัตถุดิบ และด้านเงินทุนมีความสําคัญน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุระดับการศึกษา และระยะเวลาการดําเนินการ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการผลิต ได้แก่ วัตถุดิบ เครื่องจักร แรงงาน และเงินทุน มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูปในกรุงเทพมหานคร ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

คําสําคญั             :  ปัจจัยด้านการผลิต ศักยภาพการส่งออก เสื้อผ้าสําเร็จรูป

Abstract            :  This research aims 1) to study the individual factors of entrepreneurs of garment for exports in Bangkok. 2) to study factors of production of garment for exports in Bangkok. 3) to study factors of production to enhancement of garment for exports in Bangkok. The samples used for this study were 400 samples. Sampling was purposive sampling. Questionnaires were used to collect data. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results showed that the majority of entrepreneurs of garment for exports in Bangkok were man, aged between 41–50 years old. Their highest educations were Diploma’s degree. The periods of work were more than 15 years. Moreover, it was also found that the factor of production affecting the enhancement of garment for exports in Bangkok most was Labor. The second most was raw material and the least was capital. The hypothesis testing revealed that individual factors related to enhancement of garment for exports in Bangkok were gender, age, education and periods of work. In addition, the researcher found that factor of production: raw materials, machinery, labor and capital related to enhancement of garment for exports in Bangkok at 0.05 level of significant

Key words        :  factors of production, enhancement of export, garment


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  สาวสาวิตรี ปานเดย์และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยด้านการผลิตที่มีผลต่อการเพิ่มศักยภาพการส่งออกเสื้อผ้าสําเร็จรูป ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A275-A283). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View

ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภค ที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์

 

Title              :  ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภค ที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ : Marketing Factors Affecting to Jewelry Buying Behavior of Customers at Jewelry Trade Center

Researcher       :  ลักษมี ปานเดย์ และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  pinky.p135@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ของผู้ที่มาเลือกซื้ออัญมณีที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์และ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่ จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ที่มาเลือกซื้ออัญมณีที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์จํานวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์เพื่อทดสอบสมมติฐาน  ผลการวิจัย พบว่า ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 31-50 ปีสถานภาพสมรส มีการศึกษาระดับปริญญาตรี มีอาชีพทํางานบริษัทเอกชน และมีรายได้เดือนละ 50,000 บาทขึ้นไป โดยผู้ที่มาเลือกซื้อแหวนมากที่สุด มีเหตุผลเพราะความสวยงาม และมีความถี่ในการใช้อัญมณี 3-5 ครั้งต่อเดือน นอกจากนี้ผู้วิจัย ยังพบว่าปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์มากที่สุด คือ ด้านราคา รองลงมาคือด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคลากรผู้วิจัยให้ความสําคัญน้อยที่สุด การทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะประชากรศาสตร์ที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ได้แก่ เพศ อายุสถานภาพสมรส ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ต่อเดือน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยทางการตลาด ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านลักษณะทางกายภาพ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภคที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05

คําสําคัญ             : ลักษณะประชากรศาสตร์ปัจจัยการตลาด พฤติกรรมการเลือกซื้อ อัญมณ

Abstract            :  This research aims 1) to study the demographic of customers at jewelry trade center. 2) to study service behavior of customers at jewelry trade center. 3) to study the marketing mix affecting the behavior of customers at jewelry trade center. The samples used for this study are 400 samples. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results showed that the majority of customers were married women, aged between 31-50 years old. Their highest education is bachelor’s degree. They work in private organizations and earn more than 50,000 baht per month. They chose to buy the ring. The reason was a beautiful and used jewelry 3-5 time per month. Moreover, it was also found that the marketing mix factors affecting the consumer behavior most is price. The second most is product and the least is staff The hypothesis testing revealed that demographic related to behavior of customers at jewelry trade center were gender, age, marital status, level of education, occupation, and income. In addition, the researcher found that marketing mix factors: product, price, place, promotion, people, process and physical evidence related to behavior of customers at jewelry trade center at 0.05 level of significant.

Key words        :   demographic, marketing factors, buying behavior, Jewelry


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  ลักษมี ปานเดย์ และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้ออัญมณีของผู้บริโภค ที่จิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A214-A223). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View

ลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร

 

Title              :  ลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร : Contact Feature Service and Satisfaction of Serving Foreign Currency Transfer via Western Union in Bangkok Metropolis

Researcher       :  อนุสรา จันทร์กามา และ ดร.กานต์จิรา ลิมศิริธง
Department     :  Master of Business Administration, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :   ton_tuy@hotmail.com

บทคัดย่อ             :   การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลระหว่างลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร ซึ่งใช้เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถามในการเก็บรวมรวบข้อมูล จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จํานวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 57.7 มีอายุระหว่าง 35-44 ปี มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 31.8 ซึ่งมีสถานภาพสมรสมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 59.5 ระดับการศึกษาเป็นกลุ่มปริญญาตรีเป็นส่วนใหญ่คิดเป็นร้อยละ 45.3 มีอาชีพที่เข้าใช้บริการบ่อยๆ ส่วนมากทําธุรกิจส่วนตัวคิดเป็นร้อยละ 42.6 โดยมีรายได้ส่วนใหญ่อยู่ที่ 10,001-20,000 บาท คิดเป็นร้อยละ 35.1 นอกจากนี้ผลการศึกษาเพิ่มเติมพบว่า ลักษณะการติดต่อใช้บริการ เกี่ยวกับช่วงเวลาในการติดต่อ ช่วงเวลา 14.31-16.30 น. คือช่วงที่มีผู้ใช้บริการมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 21 มีความถี่ในการใช้บริการประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 55.4 และ วัตถุประสงค์ของการเลือกใช้บริการเพื่อทําธุรกิจระหว่างประเทศมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 27.7 ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ลักษณะการติดต่อใช้บริการทางด้านช่วงเวลาในการติดต่อมีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศในทุกๆ ด้าน เรียงลําดับสถิติอย่างมีนัยสําคัญที่ระดับ significant = 0.05 ได้แก่ด้านพนักงาน (significant = 0.000*) ด้านสถานที่ (significant = 0.000*) และด้านระบบการให้บริการ (significant = 0.007*)

คําสําคญั              :  ลักษณะการติดต่อใช้บริการ ความพึงพอใจ เวสเทิร์นยูเนี่ยน

Abstract            :  This research has an objective for study about international influence Contact Feature Service and Satisfaction of serving foreign currency transfer via Western Union in Bangkok Metropolis. By research tool’s the questionnaire data collection from sample group amount 400 persons. The result found that most respondents are male at 57.7%. The mots of Age between 35-44 years old 31.8%. The most of marriage status 59.5%. Education’s level is mostly Bachelor of degree 45.3% there’s an occupation which use service. It’s business’s owner 42.6%. There’re their income between 10,001-20,000 Bath. 35.1%. Beside this there’s additional result found that Contact Feature Service about duration in contact between 02:31 PM – 04:30 PM have the most of customer 21%. The frequency of the service, about 1-2 times a month most. 55.4%. The objective of selection service for make International Business 27.7% The hypothesis testing found that Contact Feature Service in the field of duration of contact have an effect to the satisfactionin serving foreign currency transfer. All of the field. Sort of statistics are a critical level on significant = 0.05 Such as the officer (Significant = 0.000*) The place (Significant = 0.000*) and System service (significant= 0.007*)

Key words         :   Contact Feature Service, Satisfaction, Western Union.


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” วันศุกร์ที่ 29 กรกฎาคม 2559 ณ อาคารหอประชุม สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

Link to Proceeding:    https://conference.pim.ac.th/thai/proceeding/

Bibliography     :  อนุสรา จันทร์กามา และ กานต์จิรา ลิมศิริธง. (2559). ลักษณะการติดต่อใช้บริการและความพึงพอใจในการใช้บริการรับส่งเงินตราระหว่างประเทศ ผ่านบริการเวสเทิร์นยูเนี่ยนในกรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ปัญญาภิวัฒน์ ครั้งที่ 6 “นวัตกรรมเพื่อการส่งเสริมเศรษฐกิจไทยสู่โลกอนาคต” (หน้า A323-A333). กรุงเทพฯ: สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์.


Quick View