การประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการใช้ยาในงานวิจัยการใช้ยา (2561)
การประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการใช้ยาในงานวิจัยการใช้ยา (2561)
ผู้เขียนบทความ: ภญ. ดารารัตน์ สำเร็จวิทย์
บทคัดย่อ:
งานวิจัยเกี่ยวกับการใช้ยา มีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับการศึกษาทางเภสัชระบาดวิทยาในการประเมินการใช้ยาหรือการสั่งจ่ายยาในกลุ่มประชากร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยเป็นองค์ประกอบของระบบยา งานวิจัยการใช้ยาเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ของการใช้ยา โดยรูปแบบของงานวิจัยแบ่งออกเป็น งานวิจัยรูปแบบตัดขวาง การเก็บข้อมูลระยะยาว หรือรูปแบบเก็บข้อมูลต่อเนื่องระยะยาว ทั้งนี้ การเก็บข้อมูลในงานวิจัยการใช้ยามีหลายประเภท ขึ้นกับปัญหาการใช้ยาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆ เครื่องมือการเก็บข้อมูลการวิจัยมีหลายชนิด ผู้วิจัยควรเลือกวิธีการเก็บข้อมูล และใช้วิธีการแปรผลข้อมูลที่เหมาะสม ทั้งนี้ ในการประเมินติดตามผลการใช้ยา นิยมรายงานผลการเก็บข้อมูลในรูปแบบตัวชี้วัดการใช้ยา โดยชุดตัวชี้วัดแบ่งออกเป็น ตัวชี้วัดหลักและชุดตัวชี้วัดเสริม โดยตัวชี้วัดหลักอธิบายสถานการณ์การใช้ยาในด้าน พฤติกรรมการใช้ยา, การดูแลรักษาผู้ป่วย และด้านสถานพยาบาล โดยองค์การอนามัยโลกแนะนำให้ใช้หลักการ ATC/DDD ในการศึกษาข้อมูลการใช้ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างสถาบัน ภูมิภาค หรือในระดับประเทศได้
คำสำคัญ: การวิจัยการใช้ยา drug utilization studies ตัวชี้วัดการใช้ยา
Link to Academic article: การประยุกต์ใช้ตัวชี้วัดการใช้ยาในงานวิจัยการใช้ยา
การพัฒนาแบบสอบถามเพื่อวัดทัศนคติของนักศึกษาต่อหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (2559)
ISSN: 2465-4221
สารบัญ
บทความวิจัย
Development of questionnaire measuring attitude towards the Pharm. D. curriculum, Faculty of Pharmacy, Siam University
Suwapab Techamahamaneerat , Jainuch Kanchanapoo, Ing on Sonnoy, Arraya Attaphinyo, Nuttha Phankhong and Ruxjinda Wattanalai 29-41
วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559 Siam Pharmacy Journal Vol.1 No.2 Jul-Dec 2016
การรักษาโรคเต้านมอักเสบในปศุสัตว์ (2563)
ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.วิริยาพร ศิริกุล* ภญ.อภิชญา ดวงรัตนประทีป ภญ.อัจฉราภรณ์ สุขเจริญ นศภ.น้ำทอง ชำนิจ
บทคัดย่อ:
โรคเต้านมอักเสบ (mastitis) ในโคนมนั้น เป็นปัญหาสำคัญในทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม เนื่องจากคุณภาพของน้ำนมโคที่ได้นั้นลดต่ำลง ไม่สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของตลาด อีกทั้งต้องสูญเสียค่ารักษาในโคนมที่เป็นโรคนี้อีกด้วย โดยโรคเต้านมอักเสบ คือภาวะของการอักเสบที่เกิดขึ้นในบริเวณเนื้อเยื่อภายในเต้านม ส่งผลให้เต้านมมีลักษณะบวมแดงและน้ำนมโคที่ได้จะมีปริมาณและคุณภาพลดลงเต้านมจะมีลักษณะอักเสบบวมแดงหรือโคนมจะมีอาการซึม เบื่ออาหาร มีไข้ ประกอบกับลักษณะน้ำนมเปลี่ยนแปลงไปจะพบน้ำนมเป็นก้อนหรือเป็นแผ่น หรือสีของน้ำนมเปลี่ยนเป็นใส และจะพบการวิเคราะห์ของน้ำนมผิดปกติไปได้เช่นเดียวกับเต้านมอักเสบแบบไม่แสดงอาการ ในการรักษาเต้านมอักเสบในโคนมปัจจุบันด้วยการบริหารการให้ยาผ่านการฉีดโดยสามารถฉีดได้ทั้งเข้ากล้าม (intramuscular; IM) เข้าหลอดเลือดดำ (intravenous; IV) และการสอดผ่านทางเต้านม (intramammary) และมีการพัฒนารูปแบบที่สามารถควบคุมการปลดปล่อยยา เพื่อลดจำนวนการให้ยาต่อวันและให้ผลในการรักษาดีขึ้น
คำสำคัญ: โรคเต้านมอักเสบ ยาปฏิชีวนะ ยาสอดเต้า
Link to Academic article: การรักษาโรคเต้านมอักเสบในปศุสัตว์
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคนิคดาต้าไมน์นิงเบื้องต้น (2563)
การวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคนิคดาต้าไมน์นิงเบื้องต้น (2563)
ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ. สิริกัลยา เบ็ญจวรรณ์
บทคัดย่อ:
เทคนิคดาต้า ไมน์นิงเป็นกระบวนการทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ เป็นวิธีการค้นหาข้อมูลสำคัญเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เทคนิคนี้เป็นที่ยอมรับและถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายวงการ สำหรับข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพก็มีงานวิจัยมากมายที่ใช้เทคนิคนี้ในการค้นหาคำตอบ หรือข้อสรุปที่เป็นประโยชน์ เทคนิคดาต้า ไมน์นิงถูกนำมาใช้ในการหากฎความสัมพันธ์ (Association Rules Discovery) การแบ่งกลุ่มข้อมูล (Clustering) และการจำแนกประเภทของข้อมูล (Classification) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาเกี่ยวกับเทคนิคดาต้า ไมน์นิงเบื้องต้นควรมีพื้นฐานความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ รูปแบบของข้อมูล และเทคนิคพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะสนับสนุนให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับเทคนิคดาต้า ไมน์นิงได้ดียิ่งขึ้น จากความสามารถของเทคนิคดาต้า ไมน์นิง หากบุคลากรทางการแพทย์มีความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคนี้ก็จะเป็นประโยชน์ในการทำงาน และอาจเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลใหม่ที่เป็นประโยชน์ในอนาคต
คำสำคัญ: ดาต้า ไมน์นิง เหมืองข้อมูล ข้อมูลทางสุขภาพ
Link to Academic article: การวิเคราะห์ข้อมูลทางสุขภาพด้วยเทคนิคดาต้าไมน์นิงเบื้องต้น
การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (2562)
Title : การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University)
Researcher : เสถียร พูลผล (Sathian Phunpon) นฤมล โพธิ์ศรีทอง (Narumol Phosritong) อรวรรณ จิตรวาณิช (Orawan Chitvanich) และ รักษ์จินดา วัฒนาลัย (Ruxjinda Wattanalai)
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม : –
Link to article : Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts) Vol. 12 No. 1 : January – February 2019
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/147798
Journal : Veridian E-Journal Silpakorn University / TCI กลุ่มที่ : none หยุดตีพิมพ์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567
Citation : เสถียร พูลผล, นฤมล โพธิ์ศรีทอง, อรวรรณ จิตรวาณิช, และ รักษ์จินดา วัฒนาลัย. (2562). การศึกษาพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยสยาม (A study of smoking behaviors among undergraduate students at Siam University). Veridian E-Journal Silpakorn University (Humanities, Social Sciences, and Arts), 12(1), 1107-1124.
การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)
การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร (2561)
ผู้เขียนบทความ: อ.ภญ. ผการัตน์ ตั้งเขื่อนขันธ์
บทคัดย่อ:
การใช้ยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หลายชนิดเป็นสาเหตุที่เหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับ สาเหตุของการเกิดพิษต่อตับมาจากกลไกสองประการคือความเป็นพิษต่อตับโดยตรง (direct hepatotoxicity) และแบบ idiosyncratic (idiosyncratic hepatotoxicity) ความเป็นพิษต่อตับโดยตรงเป็นผลมาจากการได้รับยาที่มีความเป็นพิษ (intrinsic toxicity) และความรุนแรงขึ้นกับปริมาณยาที่ได้รับ (dose-dependent) เช่น acetaminophen สำหรับความเป็นพิษต่อตับแบบ idiosyncratic คือความเป็นพิษที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ ไม่ได้เกิดขึ้นโดยทั่วไป มีอาการแสดงออกที่หลากหลาย และความรุนแรงไม่ขี้นอยู่กับขนาดยาที่ได้รับ สำหรับอาการทางคลินิก ลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา และผลทางห้องปฏิบัติการ ที่เกิดขึ้นจากความเป็นพิษต่อตับ เช่น ภาวะตับอักเสบ (hepatitis) มักไม่มีอาการชัดเจน แต่มีค่าเอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สำหรับภาวะน้ำดีคั่ง (cholestasis) จะมีอาการของโรคดีซ่าน มีอาการคัน มีการเพิ่มขี้นอย่างมากของเอนไซม์แอลคาไลน์ฟอสฟาเทส (alkaline phosphatase, ALP) และการเพิ่มขี้นเล็กน้อยของเอนไซม์อะลานีน อะมิโนทรานสเฟอเรส (alanine aminotransferases, ALT) หรือ แบบภาวะผสม (mixed) โดยเกิดร่วมกันทั้งภาวะตับอักเสบและภาวะน้ำดีคั่ง สำหรับเวลาในการฟื้นตัวจากความเป็นพิษต่อตับ จะมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของความเป็นพิษ การตรวจหาให้พบ และหยุดใช้ยา สมุนไพร หรือ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดพิษต่อตับให้เร็วที่สุดคือขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพ และสำคัญที่สุดซึ่งจะช่วยลดความรุนแรงในการเกิดพิษต่อตับ
คำสำคัญ: การบาดเจ็บของตับ ความเป็นพิษต่อตับ Drug-induced liver injury
Link to Academic article: การเหนี่ยวนำให้เกิดพิษต่อตับจากยา สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)
ความคงสภาพของยา (Drug stability) (2561)
ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ. ศศิประภา ชิตรัตถา
บทคัดย่อ:
คำสำคัญ: ความคงสภาพ ยา เภสัชภัณฑ์ ภาชนะบรรจุ
Link to Academic article: ความคงสภาพของยา (Drug stability)
ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)
ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ (2562)
ผู้เขียนบทความ: ผศ.ดร.ภญ. อรวรรณ จิตรวาณิช
บทคัดย่อ:
เภสัชกรในโรงพยาบาลโดยเฉพาะของรัฐ มักจะได้รับใบสั่งแพทย์ให้เตรียมยาหรือต้องจ่ายยาเฉพาะคราว (extemporaneous preparation) หรือยาเตรียมเฉพาะรายในรูปแบบต่างๆ เนื่องจากในท้องตลาด ไม่มีรูปแบบที่ต้องการ ยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ ที่เภสัชกรเตรียมขึ้นนั้นมักขาดข้อมูลของสูตรตำรับและความคงสภาพที่ทำให้มั่นใจได้ว่า ยาเตรียมนั้นยังคงปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการรักษา บทความนี้จึงรวบรวมความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวพร้อมสูตรตำรับจากงานวรรณกรรมแหล่งต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางการกำหนดวันหมดอายุ หรือวันที่ไม่ควรใช้เภสัชภัณฑ์นั้นอีกต่อไป (beyond-use date, BUD) ซึ่งพบว่า นอกจากการเสื่อมสลายของตัวยาสำคัญจากปัจจัยต่างๆ เช่น การเกิด oxidation, hydrolysis, photolysis หรือ thermolysis ยังมีสาเหตุจากการเกิดปฏิกิริยากับส่วนประกอบทั้งในสูตรของรูปแบบที่นำมาเตรียม และที่นำมาช่วยในตำรับยาเตรียมเฉพาะคราว
คำสำคัญ: ยาเตรียมเฉพาะคราว ความคงสภาพ รูปแบบยา
Link to Academic article: ความคงสภาพของยาเตรียมเฉพาะคราวในรูปแบบต่างๆ
ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์ (2567)
Title : ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่สมเหตุผลของประชาชนที่ใช้สื่อออนไลน์
Researcher : ชินวัจน์ แสงอังศุมาลี, กมลวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, พรพรรณ ประจักษ์เนตร, สุญาณี พงษ์ธนานิกร และณัฐกานต์ ทองแท้ – Shinnawat Saengungsumalee, Kamolwan Tantipiwattanasakul, Pornpun Prajaknate, Suyanee Pongthananikorn and Nattakarn Thongtae
ฐานข้อมูลงานวิจัย มหาวิทยาลัยสยาม : https://e-research.siam.edu/kb/factors-associated-with-irrational-antibiotic/
Link to article: วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 33 ฉบับที่ 1 มกราคม – กุมภาพันธ์ 2567 หน้า 27-37 | Journal of Health Science of Thailand Vol. 33 No. 1, January – February 2024 p.27-37
https://thaidj.org/index.php/JHS/article/view/12945
Journal : วารสารวิชาการสาธารณสุข Journal of Health Science of Thailand / TCI กลุ่มที่ : 1
พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว (2563)
ผู้เขียนบทความ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ใจนุช กาญจนภู
บทคัดย่อ:
ระบบไหลเวียนโลหิตมีหน้าที่ในการรักษาความดันโลหิตแดง (arterial blood pressure) เพื่อให้อวัยวะส่วนปลายได้รับเลือดไปเลี้ยงอย่างเพียงพอ ภาวะหัวใจล้มเหลว (heart failure หรือ congestive heart failure) คือ ภาวะที่หัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย American College of Cardiology Foundation/ American Heart Association หรือ ACC/AHA ปี 2013 ให้นิยามของภาวะหัวใจล้มเหลวไว้ดังนี้ “หัวใจล้มเหลวเป็นอาการทางคลินิกที่ซับซ้อน เกิดจากความผิดปกติทางโครงสร้างหรือการทำงานในการเติมเลือด (filling) หรือการสูบฉีดเลือด (ejection) ออกจากหัวใจห้องล่าง” อาการแสดงสำคัญของภาวะหัวใจล้มเหลว ได้แก่ หายใจขัด (dyspnea) และอ่อนล้า (fatigue) ซึ่งทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถออกกำลังกายหรือออกแรงหนักๆได้ และมีการคั่งของน้ำตามที่ต่างๆ ซึ่งนำไปสู่การเกิดภาวะน้ำคั่งในปอด (pulmonary congestion) น้ำคั่งในช่องท้อง (splanchnic congestion) และอาการบวมน้ำ (peripheral edema) ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเหนื่อยหอบขณะออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมต่างๆ โดยไม่มีการคั่งของน้ำร่วม การวินิจฉัยภาวะหัวใจล้มเหลวอาศัยอาการทางคลินิกประกอบกับประวัติและผลการตรวจร่างกายเพื่อช่วยในการวินิจฉัยภาวะดังกล่าว
คำสำคัญ: พยาธิ สรีรวิทยา หัวใจล้มเหลว
Link to Academic article: พยาธิสรีรวิทยาของภาวะหัวใจล้มเหลว