การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม : A COMPARISON THE STUDYING ACHIEVEMENT BETWEEN LECTURE AND AUDIOVISUAL METERIAL METHODS IN A GENERAL CHEMISTRY COURSE OF THE STUDENTS, SIAM UNIVERSITY

Researcher       : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยสยาม

E-mail                :  wanpwas@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยายจํานวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุจํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.714 จากนั้นนําแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independent ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย

คำสำคัญ             :   การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ

Abstract            :  This work studies on a comparison to the studying achievement general chemistry course between lecture and audio-visual material methods of engineering students, faculty of engineering, Siam university. A population is the 1st-year students who registered 123-101 general chemistry of a 1st- semester, 2015. Sampling group was selected by the purposive sampling and contains 30 samples each. A reliability of instrument, with testing the Cronbach’s -coefficient reliability method, is 0.714. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data were collected and statistically analyzed by independent t-test using by computer software. The results showed that the achievement of these two groups is significantly different at 0.05 level. In addition, it is also indicates that the learning practice method has had a higher studying achievement than that of the lecture method.

Keywords         :   Lecture method, audio-visual material methods


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 59-60). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล

 

Title              :  ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล : Effect of Solvent Polarity on Antioxidant Capacity of Extracts from Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi Leaves

Researcher       :  พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์
Pornchai Premkaisorn and Wanpen Wasupongpun

Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  pornpre2001@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   สมุนไพรเป็นจํานวนมากถูกนํามาใช้ประโยชน์ เช่น ใช้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระเพื่อการป้องกันโรคต่าง ๆ ในงานวิจัยนี้ได้ทำการประเมินฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากพืชโดยวิธี DPPH (2,2-Diphenyl-1-picryhydrazyl radical) radical scavenging และประเมินปริมาณสารหมู่ฟีนอลโดยวิธี FCR (Folin-Ciocalteu reagent) สารตัวอย่างถูกสกัดด้วยการใช้ระบบตัวทําละลายต่างกัน 6 ชนิด ได้แก่ น้ำ, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone และ 80%(v/v) MeOH เพื่อสกัดสารต้านอนุมูลอิสระจากใบพืชสมุนไพรอบแห้งจํานวน 3 ชนิด ได้แก่ ดันหมี (Gonocaryum lobbianum) กำจาย (Caesalpinia decapetala) และพิกุล (Mimusops elengi) พบว่าความแรงของฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของตัวทําลายในสารสกัดดันหมีเรียงลําดับได้ ดังนี้ 50%(v/v) acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ น้ำ > acetone > EtOAc ส่วนสารสกัดของกำจาย คือ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > น้ำ และพิกุล เท่ากับ 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ น้ํา ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05) ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารสารหมู่ฟีนอลของสารสกัดจากจากดันหมี (r = -0.78, p > 0.1) กําจาย (r = -0.74, p > 0.1) และพิกุล (r = -0.72, p > 0.1) มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง งานวิจัยนี้เสนอว่าในระบบตัวทําละลายผสมโดยเฉพาะเมื่อมีน้้ำป็นตัวทําละลายร่วม ได้แก่ 80%(v/v) MeOH หรือ 50%(v/v) acetone มีแนวโน้มที่จะสกัดสารออกฤทธิ์ในพืช 3 ชนิดนี้ได้มีประสิทธิภาพมากกว่าระบบตัวทำละลายเพียงชนิดเดียว

คําสําคัญ             :  สมุนไพร สารต้านอนุมูลอิสระ ความมีขั้ว การสกัดด้วยตัวทำละลาย

Abstract            :  Several herbs have been used as an antioxidant for prevention of certain diseases. This work aim to evaluate antioxidant activity of plants by using DPPH radical scavenging method and the phenolic content was evaluated by Folin-Ciocalteu reagent. Three selected samples, Gonocaryum lobbianum, Caesalpinia decapetala and Mimusops elengi dried leaves, were extracted antioxidant compounds by six solvent systems: water, acetone, MeOH, EtOAc, 50%(v/v) acetone and 80%(v/v) MeOH. The results showed that the highest antioxidant activity of Gonocaryum lobbianum follows as: 50% acetone > 80%(v/v) MeOH > MeOH ≈ water > acetone > EtOAc. Caesalpinia decapetala gave the lowering order of one by 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ MeOH > acetone > EtOAc > water. Recession for last one of Mimusops elengi was 50%(v/v) acetone ≈ 80%(v/v) MeOH ≈ water ≈ MeOH ≈ acetone > EtOAc (p < 0.05). The antioxidant activity and phenolic content for Gonocaryum lobbianum (r = -0.78, p > 0.1), Caesalpinia decapetala (r = -0.74, p > 0.1), and Mimusops elengi (r = -0.72, p > 0.1) have had moderate correlation. The study showed that the binary solvent system with a portion of water was added, e.g. 80%(v/v) MeOH or 50%(v/v) acetone, of three herbs, it could be considered superior to a mono-solvent system.

Keywords        :    herb, antioxidant, polarity, solvent extraction


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5  The 5th Academic Science and Technology Conference 2017 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (Science and Technology as a Key Driver towards Thailand 4.0) วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม 2560  ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์คอนเวนชั่น กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    พรชัย เปรมไกรสร และ วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์. (2560). ผลของความมีขั้วของตัวทำละลายต่อฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระของสารสกัดจากใบดันหมี กำจายและพิกุล. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 5 “วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0” (หน้า 576-581). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


Quick View

เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : A Comparison to the learning Achievement between Lecture and Learning Recitation Methods in a General Chemistry Course of the Students, Engineering Faculty, Siam University

Researcher       :  วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Wanpen Wasupongpun and Pornchai Premkaisorn

Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  wanpwas@yahoo.com

บทคัดย่อ             :   การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบพูดถามตอบของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยประชากรเป็นนักศึกษาภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2556 และ 2557 ที่เรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยาย และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบกลุ่มละ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s α-coefficient) ได้ค่าโดยรวมเท่ากับ 0.763 จากนั้นน าแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independentด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย

คําสําคัญ             :  การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบพูดถามตอบ ผสสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี

Abstract            :  This objective of this study was to compare the learning achievement between lecture and learning recitation methods in general chemistry course, engineering faculty, Siam university. The population was the student who registered in 123-101 General Chemistry course in 1st – semester, 2013 and 2014. Twenty-eight students sampling in each group was selected by simple random sampling. A reliability of questionnaires, testing with Cronbach’s  α-coefficient reliability method, is 0.763. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data was collected and statistically analyzed by independent t-test using by SPSS for Windows. The results showed that the achievement of two groups is significantly different at 0.05 level. It indicates that the learning recitation method had a higher studying achievement than that of the lecture method. 

Keywords        :    lecture method, recitation method, chemistry learning achievement


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2558). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 33-37). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

Quick View