การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ (2558)

 

Title              : การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ : The Study of the Expectations and Perceptions of Medical Service Quality

Researcher       : ภัทรภร จิรมหาโภคา¹ และ พัทรียา หลักเพ็ชร
Pattaraporn Jiramahapoka & Patthareeya Lakpeth

Department      :  ¹Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ¹ติดต่อได้ที่: bonjour.fai.ja@gmail.com

บทคัดย่อ              :  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ของผู้ใช้บริการทางการแพทย์ที่เป็นชาวต่างชาติ โดยใช้ทฤษฎี resource-based view (RBV) กับการใช้ทรัพยากรขององค์กรทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีคุณค่า (valuable) ด้านความหายาก (rare) ด้านความยากที่จะเลียนแบบ (inimitable) และด้านการไม่สามารถทดแทนได้ (non-substiutable) และตรวจสอบความสัมพันธ์ความแตกต่างระหว่างความคาดหวังก่อนรับบริการกับการรับรู้หลังรับบริการของผู้ใข้บริการทางการแพทย์ วิธีการศึกษาแบ่งออกป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านอุปสงค์และด้านอุปทาน สำหรับด้านอุปสงค์เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาความคาดหวังและการรับรู้ของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ชาวต่างชาติจำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม สำหรับด้านอุปทานเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ เพื่อศึกษาศักยภาพของการบริการทางการแพทย์ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานประกอบการทางการแพทย์ จำนวน 3 คน และนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาทั้ง 2 ด้านมาสรุปเพื่อเป็นการศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ ผลการศึกษาพบว่า นักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีระดับความคาดหวังก่อนรับบริการมากกว่าระดับการรับรู้หลังรับบริการในทุกด้านหลัก ได้แก่ 1) ด้านความมีคุณค่า (valuable) 2) ด้านความหายาก (rare) 3) ด้านความยากที่จะเลียนแบบได้ (inimitable) และ 4) ด้านการไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ (non-substitutable) และในรายด้านความหายาก ข้อย่อยที่มีระดับการรับรู้มากกว่าระดับความคาดหวัง มีเพียงด้านเดียว คือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในสถานพยาบาลมีความพร้อมใช้งาน และด้านที่มีอันดับค่าเฉลี่ยความคาดหวังมากที่สุดเรียงอันดับ ได้แก่ 1) ด้านการไม่สามารถทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ 2) ด้านความหายาก 3) ด้านความมีคุณค่า และ 4) ด้านความยากที่จะเลียนแบบได้ ตามลำดับ

คำสำคัญ              :  คุณภาพการบริการทางการแพทย์; ความคาดหวังและการรับรู้

Abstract            :  This research aimed to study the expectations and perceptions of medical service quality of foreign users. This research was based on the theoretical frameworks of resource-based view (RBV) and creating competitive advantages through four factors as follows: 1) valuable 2) rare 3) inimitable and 4) non-substitutable. The study also examined the relationship between the expectations of services provided and the final perception of actual services. This research aimed to study the demand and supply perspectives. Investigation of the demand side was conducted by using a quantitative approache to study the expectations and the perceptions of 400 foreigners who travelled to Thailand for medical purposes. The research instruments were questionnaires and semi-structured interviews. In terms of the supply side, qualitative approaches were implemented to study the potentials of medical establishments through in-depth interviews with three experts associated with medical institutions. Content analysis and secondary data were synthesized to derive the expectations and perceptions of medical service quality. It was found that the expectations of the medical tourists were higher than the perceptions after receiving services in all four aspects: 1) valuable 2) rare 3) inimitable and 4) non-substitutable. Of the four aspects, only one point in the rare aspect was exceptional in that the tourists’ perceptions were greater than their expectations; this was in conveninences available in medical facilities. The highest average expectations were ranked from greatest to least as follows: 1) non-substitutable 2) rare 3) valuable and 4) inimitable.

Keywords         :  medical service quality; expectation and perception

Download PDF  :  การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์ 


Publication        : วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2558) Humanities Journal Vol.22 No.2 (July-December 2015)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/abc/issue/view/5065


Bibliography     :  ภัทรภร จิรมหาโภคา และ พัทรียา หลักเพ็ชร. (2558). การศึกษาความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการทางการแพทย์. วารสารมนุษยศาสตร์,  22(2), 185-208. 


Quick View

ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา

 

Title              : ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา THE STUDENTS’ SATISFACTION WITH COOPERATIVE EDUCATION SYSTEM OF WORKING IN THE SERVICE SECTOR

Researcher       : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช 

Department      :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ติดต่อได้ที่:

บทคัดย่อ              :  การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษาทั้งจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามไปสำรวจ นักศึกษาสหกิจศึกษาที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการในขณะนั้น และคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 396 ชุด จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และF-testผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากแทบทุกด้าน ยกเว้น ความเหมาะสมของสวัสดิการ ค่าตอบแทน และการปัจฉิมนิเทศ ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ นักศึกษาสหกิจศึกษา จาก มหาวิทยาลัยเอกชน มีความพึงพอใจ ต่อการปฏิบัติงานสูงกว่านักศึกษาสหกิจศึกษาที่มาจาก มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยนักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจท่องเที่ยวธุรกิจการบิน และธุรกิจโรงแรม มีความพึงพอใจแตกต่างกันในเรื่องการปฐมนิเทศการให้คำปรึกษาการทำโครงงาน ความเหมาะสมของเวลาในการพักรับประทานอาหาร ความเหมาะสมของวันหยุด อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการปัจฉิมนิเทศ โดย นักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจการบิน จะมีความพึงพอใจในเรื่องดังกล่าวข้างต้นสูงกว่า นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ              :  ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา, ธุรกิจบริการ

Abstract            :  This study aims to explore public and private university students’ satisfaction with co-operative education system of working in the service sector. The research compares the different levels of satisfaction in the hotel, tourism, and airline business. The questionnaires were distributed to 420 purposively selected students from private and public universities who register ed in the co-operative education programs. The 396 completed questionnaires were analyzed through SPSS statistical analysis program, using frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test as statistical techniques.

It was found that the students in the co-operative education program were highly satisfied with the overall working except the welfare and/or remuneration and the final orientation. The students from private universities had higher level of satisfaction than those from public universities. The co-operative education students in hotel, tourism, and airline business revealed different levels of satisfaction in the areas of project design consultation, length of lunch time, suitability of the time off, equipment and facilities in operation and the final orientation. The co-operative education students in airline business had significantly higher level of satisfaction than those in hotel and tourism business at p = 0.05.

Keywords         :  students, satisfaction, working cooperative, service sector

Download PDF  :    ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา


Publication        : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.7 No.1 (January-June 2012)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/371


Bibliography     :  ชลลดา มงคลวนิช. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษาวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 7(1), 67-82. 


Quick View

ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร

 

Title              : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร MARKETING MIX FACTORS AFFECTING DECISION MAKING TO TRAVEL TO FLOATHING MARKET OF THAI YOUTH IN BANGKOK

Researcher       : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง

Department      :  Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  ติดต่อได้ที่:

บทคัดย่อ              :  การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเยาวชนไทยที่มีอายุไม่เกิน 24 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนามาจากการค้นคว้าทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบสอบถามครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติ t-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มจากการสำรวจข้อมูลเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400คน พบว่ามีผู้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ จำนวน 367คน คิดเป็นร้อยละ 92 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำ พบว่า เยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ และด้านราคา ตามลำดับ โดยด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง การประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องกิจกรรมพิเศษในช่วงเทศกาล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ทัศนียภาพที่สวยงามมากที่สุด รองลงมาคือ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตลาดน้ำ และความสะดวกในการเดินทาง ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง สินค้าที่มีรูปแบบทันสมัยมากที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจำหน่ายยาก และการบริการด้วยอัธยาศัยไมตรี และด้านราคา เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ราคาสินค้ามีความเหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุดรองลงมาคือ การติดป้ายราคาอย่างชัดเจน โดยราคาและการบริการควร มีความเหมาะสมกับคุณภาพผลการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือก76วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2556)ท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยใช้สถิติ ttestกรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการศึกษาและรายได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เยาวชนไทยที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนเยาวชนไทยที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกัน

คำสำคัญ              :  ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจ การท่องเที่ยว ตลาดน้ำ

Abstract            :  This research aimed to study the factors that affect the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets. The target group for this research was Thai young adults who were not over 24 years old, living in Bangkok, and having traveled to floating markets in Bangkok or nearby. The sam-ple size for this research consisted of 400 Thai young adult tourists. The researcher used a questionnaire to collect all the data and the convenience sampling method was used. The questionnaire was developed from theories and other related research. Also, the researcher used descriptive statistical analysis, which included statistical distribution, frequency, percentage, average, and standard deviation. An inferential statistical analysis was also included to find T-Test and F-Test scores to compare differences between the averages of the two groups.

From the questionnaire, the researcher found that among the 400 samples, only 367 ques tionnaires or 92 percent were completed. The sample also showed that in terms of gender, 56.70 percent were female and 43.30 percent were male. The average age of respondents was 18 – 24 years. 90.70 percent of the respondents were single. High school students made up 94.60 percent of all respondents to the questionnaires. Primarily, most of the sample had an income under 10,000 THB per month. The results of questionnaire show that 95.40 percent of the respondents valued the topic of this research. The important factors of concern were advertising, distribution channel, products and services, and price. The most important factor that affected the respondents’ decision making process was advertising. The res pondents value promotions through various media channels and special events. The second most important
factor was the distribution channel. The enviro ment and uniqueness of floating markets alongside the comfort of transportation were seen as important factors. The third important factor was found to be products and services. Modern packaging of products, local products and a service minded staff were valued. The last factor was price. Respondents valued reasonable prices. Clearly price tags and service charges must be in line with the quality of service.
The results of this research found factors affecting the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets exist. The distinguishing variables were gender, age, level of education, occupation and income. The researcher used T-Test scores for comparing the differences of gender, age and occupation. F-Test scores were used to compare the differences of levels of education and income. The statistical results showed that Thai young adults can be divided into different demographics by gender, age, occupation, and income. The results are almost the same as the factors that affected their decision to travel to any particular floating market. However, Thai young adults who have a different educational backgrounds are found to have different values in relation to traveling to floating markets.

Keywords         :  Marketing strategy, decision, tourism, floating market.

Download PDF  :    ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร


Publication        : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.8 No.2 (July-December 2013)

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/2026


Bibliography     :  ชลลดา มงคลวนิช, รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครวารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย,  8(2), 75-90. 


Quick View