ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา
Title : ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา : THE STUDENTS’ SATISFACTION WITH COOPERATIVE EDUCATION SYSTEM OF WORKING IN THE SERVICE SECTOR
Researcher : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช
Department : Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : ติดต่อได้ที่:
บทคัดย่อ : การวิจัยเรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของนักศึกษาสหกิจศึกษาทั้งจากมหาวิทยาลัยของรัฐ และเอกชน ที่ปฏิบัติงานในสถานประกอบการ โดยจำแนกตามกลุ่มธุรกิจ ซึ่งผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามไปสำรวจ นักศึกษาสหกิจศึกษาที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการในขณะนั้น และคัดเลือกแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์ จำนวน 396 ชุด จากนั้น นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test และF-testผลการศึกษาพบว่า นักศึกษาสหกิจศึกษามีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานในภาพรวมอยู่ในระดับมากแทบทุกด้าน ยกเว้น ความเหมาะสมของสวัสดิการ ค่าตอบแทน และการปัจฉิมนิเทศ ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับปานกลาง ทั้งนี้ นักศึกษาสหกิจศึกษา จาก มหาวิทยาลัยเอกชน มีความพึงพอใจ ต่อการปฏิบัติงานสูงกว่านักศึกษาสหกิจศึกษาที่มาจาก มหาวิทยาลัยของรัฐ โดยนักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจท่องเที่ยวธุรกิจการบิน และธุรกิจโรงแรม มีความพึงพอใจแตกต่างกันในเรื่องการปฐมนิเทศการให้คำปรึกษาการทำโครงงาน ความเหมาะสมของเวลาในการพักรับประทานอาหาร ความเหมาะสมของวันหยุด อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการปัจฉิมนิเทศ โดย นักศึกษาสหกิจศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจการบิน จะมีความพึงพอใจในเรื่องดังกล่าวข้างต้นสูงกว่า นักศึกษาที่ปฏิบัติงานในธุรกิจโรงแรม และธุรกิจท่องเที่ยว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
คำสำคัญ : ความพึงพอใจ, การปฏิบัติงานสหกิจศึกษา, ธุรกิจบริการ
Abstract : This study aims to explore public and private university students’ satisfaction with co-operative education system of working in the service sector. The research compares the different levels of satisfaction in the hotel, tourism, and airline business. The questionnaires were distributed to 420 purposively selected students from private and public universities who register ed in the co-operative education programs. The 396 completed questionnaires were analyzed through SPSS statistical analysis program, using frequency, percentage, mean, standard deviation, T-test and F-test as statistical techniques.
Keywords : students, satisfaction, working cooperative, service sector
Download PDF : ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา
Publication : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 7 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน 2555) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.7 No.1 (January-June 2012)
Link to Publication: https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/371
Bibliography : ชลลดา มงคลวนิช. (2555). ความพึงพอใจของนักศึกษา ที่ปฏิบัติงานในธุรกิจบริการตามระบบสหกิจศึกษา. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 7(1), 67-82.
ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
Title : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร : MARKETING MIX FACTORS AFFECTING DECISION MAKING TO TRAVEL TO FLOATHING MARKET OF THAI YOUTH IN BANGKOK
Researcher : ผศ.ดร.ชลลดา มงคลวนิช รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง
Department : Faculty of Liberal Arts, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : ติดต่อได้ที่:
บทคัดย่อ : การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเยาวชนไทยที่มีอายุไม่เกิน 24 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนามาจากการค้นคว้าทฤษฎี แนวคิด และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบบสอบถามครั้งนี้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา(Descriptive Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics Analysis) ได้แก่ สถิติ t-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่มจากการสำรวจข้อมูลเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ จำนวน 400คน พบว่ามีผู้ให้ข้อมูลที่สมบูรณ์ จำนวน 367คน คิดเป็นร้อยละ 92 ผลการสำรวจความคิดเห็นของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานครเกี่ยวกับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำ พบว่า เยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ความสำคัญโดยรวมอยู่ในระดับมากโดยด้านที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ รองลงมาคือด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ และด้านราคา ตามลำดับ โดยด้านการส่งเสริมการตลาดหรือการประชาสัมพันธ์ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง การประชาสัมพันธ์ตามสื่อต่างๆ มากที่สุด รองลงมาคือ เรื่องกิจกรรมพิเศษในช่วงเทศกาล ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ทัศนียภาพที่สวยงามมากที่สุด รองลงมาคือ เอกลักษณ์เฉพาะตัวของตลาดน้ำ และความสะดวกในการเดินทาง ด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง สินค้าที่มีรูปแบบทันสมัยมากที่สุด รองลงมาคือ ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นที่หาจำหน่ายยาก และการบริการด้วยอัธยาศัยไมตรี และด้านราคา เยาวชนไทยให้ความสำคัญในเรื่อง ราคาสินค้ามีความเหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุดรองลงมาคือ การติดป้ายราคาอย่างชัดเจน โดยราคาและการบริการควร มีความเหมาะสมกับคุณภาพผลการเปรียบเทียบความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ในการตัดสินใจเลือก76วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฏาคม – ธันวาคม 2556)ท่องเที่ยวตลาดน้ำของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยไปท่องเที่ยวตลาดน้ำ เมื่อจำแนกตามลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยใช้สถิติ ttestกรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ และสถิติ F-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับการศึกษาและรายได้ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 พบว่า เยาวชนไทยที่มีลักษณะทางประชากรศาสตร์ต่างกัน ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ให้ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยวตลาดน้ำไม่แตกต่างกัน ส่วนเยาวชนไทยที่มีระดับการศึกษาต่างกันให้ความสำคัญของปัจจัย ส่วนประสมทางการตลาดโดยรวมแตกต่างกัน
คำสำคัญ : ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด การตัดสินใจ การท่องเที่ยว ตลาดน้ำ
Abstract : This research aimed to study the factors that affect the decision making process of Thai young adults traveling to floating markets. The target group for this research was Thai young adults who were not over 24 years old, living in Bangkok, and having traveled to floating markets in Bangkok or nearby. The sam-ple size for this research consisted of 400 Thai young adult tourists. The researcher used a questionnaire to collect all the data and the convenience sampling method was used. The questionnaire was developed from theories and other related research. Also, the researcher used descriptive statistical analysis, which included statistical distribution, frequency, percentage, average, and standard deviation. An inferential statistical analysis was also included to find T-Test and F-Test scores to compare differences between the averages of the two groups.
Keywords : Marketing strategy, decision, tourism, floating market.
Download PDF : ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร
Publication : วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2556) Journal of Thai Hospitaliity & Tourism Vol.8 No.2 (July-December 2013)
Link to Publication: https://www.tci-thaijo.org/index.php/tourismtaat/issue/view/2026
Bibliography : ชลลดา มงคลวนิช, รัตนาภรณ์ ชาติวงศ์ และ ธนัญชนก จันทร์แดง. (2556). ความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจเลือกท่องเที่ยว ตลาดนํ้าของเยาวชนไทยในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย, 8(2), 75-90.
ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย (2556)
ภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย
ผศ.ดร. ชลลดา มงคลวนิช
บทคัดย่อ:
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทยและเปรียบเทียบความคิดเห็นของแหล่งท่องเที่ยวประเภทตลาดน้ำของไทย โดยศึกษาถึงลักษณะทางด้านประชากรศาสตร์ของเยาวชนไทย พฤติกรรม และภาพลักษณ์ตลาดน้ำในสายตาของเยาวชนไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวที่เป็นเยาวชนที่เคยเดินทางไปท่องเที่ยวตลาดน้ำในประเทศไทย จำนวน 442 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean: ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: S.D.) สถิติt-test กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย 2 กลุ่ม และใช้สถิติF-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA) กรณีเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยมากกว่า 2 กลุ่ม
ผลการศึกษา พบว่า นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 17-18 ปีมีระดับการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมากที่สุด โดยรวมมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ตลาดน้ำอยู่ในระดับมาก นักท่องเที่ยวมีความคิดเห็นว่าลักษณะของตลาดน้ำน่าจะแสดงถึงวิถีชีวิตในท้องถิ่น มีสินค้าประเภทขนมหวานหรือขนมไทย ผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ของที่ระลึกสำหรับซื้อฝาก และต้องการให้มีการเปิดบริการทุกวัน ความชื่นชอบลักษณะของตลาดน้ำด้านการเดินทาง ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการ อยู่ในระดับมากในทุกด้าน
ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำ พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศต่างกันมีความคิดเห็น เกี่ยวกับตลาดน้ำในด้านการเดินทาง ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการไม่แตกต่างกัน และจำนวนครั้งที่นักท่องเที่ยวเคยไปเที่ยวตลาดน้ำแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำในด้านการเดินทาง ด้านสถานที่ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านการบริการ ไม่แตกต่างกัน ผลการเปรียบเทียบ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำที่นักท่องเที่ยวชื่นชอบรายคู่กับจำนวนครั้งที่เคยไปเที่ยวตลาดน้ำในเรื่อง เกี่ยวกับการบริการด้านการมีมัคคุเทศก์ท้องถิ่น พบว่า นักท่องเที่ยวที่เคยไปเที่ยวตลาดน้ำ 1 ครั้ง กับเคยไปเที่ยวตลาดน้ำมากกว่า 3 ครั้ง มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์ตลาดน้ำในด้านการบริการที่มีมัคคุเทศก์ท้องถิ่นไว้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 0.05
คำสำคัญ : ภาพลักษณ์ตลาดน้ำ เยาวชน