การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม
Title : การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม : A COMPARISON THE STUDYING ACHIEVEMENT BETWEEN LECTURE AND AUDIOVISUAL METERIAL METHODS IN A GENERAL CHEMISTRY COURSE OF THE STUDENTS, SIAM UNIVERSITY
Researcher : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Department : ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยสยาม
E-mail : wanpwas@yahoo.com
บทคัดย่อ : การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยายจํานวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุจํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.714 จากนั้นนําแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independent ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย
คำสำคัญ : การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ
Abstract : This work studies on a comparison to the studying achievement general chemistry course between lecture and audio-visual material methods of engineering students, faculty of engineering, Siam university. A population is the 1st-year students who registered 123-101 general chemistry of a 1st- semester, 2015. Sampling group was selected by the purposive sampling and contains 30 samples each. A reliability of instrument, with testing the Cronbach’s -coefficient reliability method, is 0.714. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data were collected and statistically analyzed by independent t-test using by computer software. The results showed that the achievement of these two groups is significantly different at 0.05 level. In addition, it is also indicates that the learning practice method has had a higher studying achievement than that of the lecture method.
Keywords : Lecture method, audio-visual material methods
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 59-60). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
Title : เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม : A Comparison to the learning Achievement between Lecture and Learning Recitation Methods in a General Chemistry Course of the Students, Engineering Faculty, Siam University
Researcher : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Wanpen Wasupongpun and Pornchai Premkaisorn
Department : ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : wanpwas@yahoo.com
บทคัดย่อ : การศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบพูดถามตอบของนักศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม โดยประชากรเป็นนักศึกษาภาคเรียนที่ 1 ของปีการศึกษา 2556 และ 2557 ที่เรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยาย และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบกลุ่มละ 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s α-coefficient) ได้ค่าโดยรวมเท่ากับ 0.763 จากนั้นน าแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independentด้วยโปรแกรม SPSS for Windows ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบพูดถามตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย
คําสําคัญ : การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบพูดถามตอบ ผสสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี
Abstract : This objective of this study was to compare the learning achievement between lecture and learning recitation methods in general chemistry course, engineering faculty, Siam university. The population was the student who registered in 123-101 General Chemistry course in 1st – semester, 2013 and 2014. Twenty-eight students sampling in each group was selected by simple random sampling. A reliability of questionnaires, testing with Cronbach’s α-coefficient reliability method, is 0.763. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data was collected and statistically analyzed by independent t-test using by SPSS for Windows. The results showed that the achievement of two groups is significantly different at 0.05 level. It indicates that the learning recitation method had a higher studying achievement than that of the lecture method.
Keywords : lecture method, recitation method, chemistry learning achievement
Proceeding : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘ ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
Link to Proceeding: https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content
Bibliography : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2558). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบ พูดถามตอบของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 33-37). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.