การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง

 

Title              :  การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง : The study design and construction of a engineering model railway system is useful as the comparison and decision making for the future railway transportation system project

Researcher       : จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว* และ สุดาพร อร่ามรุณ
Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  *ผู้ประสานงานหลัก: green.days@hotmail.co.th

บทคัดย่อ             :  แบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้าได้ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นประโยชน์สำหรับการสาธิตเชิงแนวคิดในการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบราง
ระบบรถไฟฟ้าได้ถูกศึกษาออกแบบ และสร้างเป็นแบบจำลองขึ้นมา สำหรับรถไฟฟ้าทั้ง 2 ระบบ คือ 1) รถไฟฟ้าที่ถูกขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ประเภทหมุนรอบตัวเองแบบดังเดิมหมุนล้อรถที่เกี่ยวข้องให้วิ่งไปบนรางเดินรถและ 2) รถไฟฟ้าที่ถูกขับดันโดยมอเตอร์ประเภทเชิงเส้นแบบด้านเดียวชนิดขดลวดปฐมภูมิสั้นสมัยใหม่ซึ่งไม่มีส่วนหมุนที่จะหมุนล้อรถ ผลการศึกษาพบว่า ระบบรถไฟฟ้าที่ใช้มอเตอร์ประเภทเชิงเส้นฯ มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าที่สูงและมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่ต่ำกว่า ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญทั้งถูกต้องและทันสมัย สำหรับผู้บริหารระดับสูงที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องและรับผิดชอบโครงการดังกล่าวสามารถนำมาใช้ ให้เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาและตัดสินใจที่ดีขึ้นได้ในโครงการก่อสร้างขนส่งมวลชนด้วยระบบรางที่ต้องใช้เงินลงทุนสูง

คําสําคัญ             :   ระบบรถไฟฟ้า, มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทหมุนรอบตัวเอง, มอเตอร์ไฟฟ้าประเภทเชิงเส้น

Abstract            :  The engineering model railway system is useful as the conceptual demonstration in the consideration of the comparison and decision making for the future railway transportation system project. The railway system can be studied, designed, constructed and proposed into 2 systems: 1) the railway system using classical rotating motor to rotate its associated wheels on the railway, and 2) the railway system using modern single-sided short primary linear induction motor with no rotating part to rotate such wheels on the railway. The results showed that railway system using modern single-sided short primary linear induction motor levels are highly energy efficient. And the operating costs are lower. This important, accurate and up to date information can be used as a model that is useful in terms planning and decision-making for executives who are functionally related and responsible for the high investment rail transit systems projects. 

Keywords        :     Railway Systems, Rotary Type Motor, Linear Type Motor

Download PDF:   การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง


Conference   : งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2558 (The 2nd Thailand Rail Academic Symposium : TRAS-2) วันที่ 26-28 สิงหาคม 2558  ณ ณ โรงแรม ท็อปแลนด์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก จัดโดย สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ (สวทน.), มหาวิทยาลัยนเรศวร, Korean Railroad Research Institute (KRRI), National Research Council of Science & Technology และหน่วยงานเครือข่ายพัฒนากำลังคนและความเชี่ยวชาญเทคโนโลยีด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ 

Link to Website:   https://www.thairailtech.or.th/

Bibliography     :    จักรกฤษณ์ จันทร์เขียว และ สุดาพร อร่ามรุณ. (2558). การศึกษาออกแบบ และสร้างแบบจำลองทางวิศวกรรมระบบรถไฟฟ้า เพื่อใช้เป็นประโยชน์ สําหรับการพิจารณาเปรียบเทียบและตัดสินใจต่อโครงการขนส่งระบบราง. ใน งานประชุมวิชาการด้านระบบขนส่งทางรางของประเทศ ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ. 2558 (The 2nd Thailand Rail Academic Symposium : TRAS-2). พิษณุโลก: สำนักงานคณะกรรมการ นโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ.


 

Quick View