การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์

[mfn]เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ. (2559). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์. วารสารครุศาสตร์, 44(3), 160-175[/mfn]   การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมการเป็นผู้สูงอายุที่ยังคุณประโยชน์ 

เรวดี จันทเปรมจิตต์, ชนิตา รักษ์พลเมือง และ วิพรรณ ประจวบเหมาะ


 

 Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View
วารสารวิธีวิทยาการวิจัย-ปีที่29-ฉบับ1-2559 Journal-of-Research-Methodology-2016-vol29-no1-jan-apr

การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานผู้เรียนอย่างรอบด้านในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

[mfn]เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อวยพร เรืองตระกูล, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล, โสมฉาย บุญญานันต์ และ มิ่งขวัญ ศิริโชติ. (2559). การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานผู้เรียนอย่างรอบด้านในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิธีวิทยาการวิจัย, 29(1), 1-14.[/mfn]   การพัฒนาองค์ความรู้และพัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินมาตรฐานผู้เรียนอย่างรอบด้านในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, ชนิตา รักษ์พลเมือง, อวยพร เรืองตระกูล, ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล, โสมฉาย บุญญานันต์ และ มิ่งขวัญ ศิริโชติ


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน

 

Title              :  การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน : Developing a Web Application for Measuring Aptitude

Researcher       :  นัดชพร นิลสระคู¹ อมรชัย ตันติเมธ² วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์³

Department     :  ¹บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160
²บัณฑิตวิทยาลัย สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160
³บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสยาม กรุงเทพมหานคร 10160

E-mail                :

บทคัดย่อ             :  เว็บแอพพลิเคชั่นสำหรับวัดความถนัดทางการเรียน พัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ใช้เป็นเครื่องมือในกำรวัดความถนัดในการเรียน และ ความชอบในอาชีพของบุคคล เพื่อใช้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาให้สอดคล้องกับบุคลิกภาพของแต่ละคน เว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับ วัดความถนัดทางการเรียน พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม Adobe Dreamweaver CS6 และ บริหารจัดการฐานข้อมูลด้วยโปรแกรม MySQL โดย วัดความถนัดทางการเรียน ด้วยแบบทดสอบ แบบเลือกตอบ จำนวน 15 ข้อ แต่ละข้อจะมีตัวเลือกตอบ 6 ตัวเลือก ตามหลักแนวคิดของ จอห์น แอล ฮอลแลนด์ ซึ่งแต่ละตัวเลือกจะถูกแปลผลออกมาเป็นบุคลิกภาพใน 6 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคลิกภาพแบบจริงจังไม่คิดฝัน กลุ่มที่ 2 บุคลิกภาพแบบที่ต้องใช้เชาว์ปัญญาและความคิดทางวิชาการ กลุ่มที่ 3 บุคลิกภาพแบบมีศิลปะ กลุ่มที่ 4 บุคลิกภาพที่ชอบสมาคมสังคมกับผู้อื่น กลุ่มที่ 5 บุคลิกภาพแบบกล้าคิด กล้าท ำ กลุ่มที่ 6 บุคลิกภาพที่ทำตามระเบียบแบบแผน จกกผลการทดสอบ จำนวน 90 คน พบว่า มีความถูกต้อง 85.56%

คําสําคัญ             :  เว็บแอพพลิเคชั่น, ความถนัดทางการเรียน

Abstract            :  In this research, we developed a Web application as an effective tool to measure aptitude (or competency) of users based on the learning and career preferences of individuals matched with their personality type. The proposed Web application for measuring aptitude was developed through Adobe Dreamweaver CS6 and MySQL (as a database administration framework). The competency evaluation exam consists of 15 multiple-choice questions, each of which has six choices (as categorized and suggested by John L. Holland). Each of the choices is corresponding to a single type of human personality, which can be divided into six different groups: 1) realistic, 2) investigate, 3) artistic, 4) social, 5) enterprising, and 6) conventional. In our experiments, 90 people from various professions were randomly selected and tested; and the results were 85.56% correct.

Keywords        :    Web Application , Measuring aptitude

Download PDF:  การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน


Proceeding       : การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “พหุวัฒนธรรม : โอกาสและความท้าทาย” ศูนย์บริการวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ร่วมกับ เครือข่ายวิจัยประชาชื่น วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2559 ณ ห้องประชุม 1-1 ชั้น 1 (อาคารสนม สุทธิพิทักษ์ อนุสรณ์) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Link to Proceeding:    http://www.dpu.ac.th/conference/


Bibliography     :    นัดชพร นิลสระคู, อมรชัย ตันติเมธ และ วิเชียร เปรมชัยสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาเว็บแอพพลิเคชั่น สำหรับวัดความถนัดทางการเรียน. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 11 เรื่อง “พหุวัฒนธรรม : โอกาสและความท้าทาย (หน้า 234-247). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.


Quick View

การพัฒนาแบบสอบถามเพื่อวัดทัศนคติของนักศึกษาต่อหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (2559)

ISSN:  2465-4221

สารบัญ

บทความวิจัย

 

Development of questionnaire measuring attitude towards the Pharm. D. curriculum, Faculty of Pharmacy, Siam University
Suwapab Techamahamaneerat , Jainuch Kanchanapoo, Ing on Sonnoy, Arraya Attaphinyo, Nuttha Phankhong and Ruxjinda Wattanalai 29-41


 

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559 Siam Pharmacy Journal Vol.1 No.2 Jul-Dec 2016

Quick View

การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ

 

Title              :  การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ : Analysis and Design Techniques of Charge Pump Circuits

Researcher       :   ปิติกันต์ รักราชการ
Department     :  ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140

E-mail                :  pitikan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กลงและต้องประหยัดพลังงานมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งจ่ายพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วงจรอัดประจุเป็นวงจรหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากวงจรดังกล่าวสามารถเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้แหล่งจ่ายแรงดันระดับต่ำได้ ทั้งยังมีการสูญเสียต่ำ บทความนี้ได้กล่าวถึง หลักการทำงานเบื้องต้นของวงจรอัดประจุ คุณสมบัติและพฤติกรรมของวงจร พารามิเตอร์และแบบจำลอง เทคนิคและกลยุทธ์ในการออกแบบวงจร และการหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม วงจรแบบดิกสัน รวมถึงแนะนำเทคนิคในการออกแบบวงจรอัดประจุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน

คําสําคัญ             :    การประหยัดพลังงาน แหล่งจ่ายพลังงาน วงจรอัดประจุ

Abstract            :  The technological advances in electronics and communication today. The consumer electronics today required smaller and more energy saving. These are the reason for the need of development of power supply to even higher levels of efficiency. Charge pump is a circuit that is used widely. Since such circuits can be increased by using high voltage as low voltage source and lossless. This article has discussed on basic operation of the pump charge circuit, the properties and behavior of the circuit, parameters and models, techniques and strategies in the design cycle and searching the appropriate parameters. Diskson Circuits and tricks of the design is applied in the present.

Keywords        :   Energy savings, Power supply, Charge Pump

Download PDF:   การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ


Publication        : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559  APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.1  Jan-Jun 2016

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php/read-science?id=156


Bibliography     :   ปิติกันต์ รักราชการ. (2559). การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(1), 112-125.


 

Quick View

การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT

 

ชื่อบทความวิจัย     :  การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT: Study of Runoff Simulation in Huai Luang Watershed Using SWAT

เจ้าของผลงาน       :  อาจารย์ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ            
เจ้าของผลงานร่วม:  ผศ.ดร.พีรวัฒน์ ปลาเงิน , ดร.สมพินิจ เหมืองทอง
หน่วยงาน               :  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

คำอธิบาย               :  บทคัดย่อ

คำสำคัญ                :   แบบจำลองลุ่มน้ำ, น้ำท่า, ห้วยหลวง


Publication: วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ปีที่ 14 2559 CRMA Journal Vol. 14 2016

Link to Publication:  http://veel.crma.ac.th/Journal/PArticle/ShowPArticleTable.aspx?YearBuddFrom=ii4hQf2nUAs%3d

Bibliography  : ปิยะวัฒน์ วุฒิชัยกิจเจริญ, พีรวัฒน์ ปลาเงิน และ สมพินิจ เหมืองทอง. (2559). การศึกษาการจำลองปริมาณน้ำท่าในลุ่มน้ำห้วยหลวงโดยใช้แบบจำลอง SWAT. วารสารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า, 14, 145-158.


Quick View
วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์-ปี่ที่5-ฉบับที่3-กย-ธค-2559

การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น

[mfn]จุฑารัตน์ เนียมหลาง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2559). การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 175-187.[/mfn]   การศึกษาความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมของคนในชุมชนพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น

จุฑารัตน์ เนียมหลาง และ ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

Quick View

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ

 

Title              :  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ: The study of learning achievement in physics on sound and hearing of the first year nursing students, Siam University by audio-visual material of instruction method and regular classroom method.

Researcher       :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา

Department     :   ภาควิชาฟิสิกส์  คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail                :   aue-aree.kan@siam.edu

บทคัดย่อ             :  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสยาม ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุและจากการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอยั่งที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ในปีการศึกษา 2558 จํานวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่องเสียงและการได้ยิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจงแจงแบบที ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่สอนแบบปกติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

คำสำคัญ             :   การสอนโดยใชโสตทัศนวัสดุการสอนแบบปกติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Abstract            :  The purposes of this research were to study the pre and post physics learning achievement, sound and hearing, of first year nursing students who were taught by audio-visual material of instruction method and regular classroom method. The samples were 102 of the first year nursing students who enrolled Physics for nurses in 2015 academic year. Instrument using for the research was pretest-posttest about sound and hearing. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of the study show that (1) post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by audio-visual material of instruction method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. (2) Post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by regular classroom method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. And (3) physics learning achievement, sound and hearing, of audio-visual material of instruction method was higher than learning achievement of regular classroom method at the 0.01 level of significance.

Keywords         :   Audio-visual material of instruction method, Regular classroom method, Learning achievement


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 116-117). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม

 

Title              :  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม : A COMPARISON THE STUDYING ACHIEVEMENT BETWEEN LECTURE AND AUDIOVISUAL METERIAL METHODS IN A GENERAL CHEMISTRY COURSE OF THE STUDENTS, SIAM UNIVERSITY

Researcher       : วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร
Department     :  ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลยสยาม

E-mail                :  wanpwas@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  การศึกษาในครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ นักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม ประชากรเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 123-101 เคมีทั่วไป ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2558 คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) ได้กลุ่มตัวอย่างที่ประกอบด้วยกลุ่มที่ได้รับการสอนโดยวิธีแบบบรรยายจํานวน 30 คน และกลุ่มที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุจํานวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไป โดยหาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธ์ิแอลฟาของครอนบาคได้ค่าความเชื่อมั่นโดยรวมเท่ากับ 0.714 จากนั้นนําแบบทดสอบไปใช้กับนักศึกษาที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง และรวบรวมข้อมูลที่ได้วิเคราะห์สถิติโดยการทดสอบ t-test แบบ independent ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําเร็จรูปเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ผลการวิจัยพบว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปแตกต่างกับนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยายอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปสูงกว่านักศึกษาที่ได้รับการสอนแบบบรรยาย

คำสำคัญ             :   การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุ

Abstract            :  This work studies on a comparison to the studying achievement general chemistry course between lecture and audio-visual material methods of engineering students, faculty of engineering, Siam university. A population is the 1st-year students who registered 123-101 general chemistry of a 1st- semester, 2015. Sampling group was selected by the purposive sampling and contains 30 samples each. A reliability of instrument, with testing the Cronbach’s -coefficient reliability method, is 0.714. Thereafter, this instrument was applied to the sampling groups. Data were collected and statistically analyzed by independent t-test using by computer software. The results showed that the achievement of these two groups is significantly different at 0.05 level. In addition, it is also indicates that the learning practice method has had a higher studying achievement than that of the lecture method.

Keywords         :   Lecture method, audio-visual material methods


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  วันเพ็ญ วสุพงษ์พันธ์ และ พรชัย เปรมไกรสร. (2559). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีทั่วไปที่เรียนโดยการสอนแบบบรรยาย และการสอนแบบใช้โสตทัศนวัสดุของนักศึกษา มหาวิทยาลัยสยาม. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 59-60). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร (2559)

ชื่อบทความวิจัย : ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร

Title                   : HIV Testing Awareness and Behavior in a Men Who Have Sex with Men Group in Bangkok

Researcher       : สินีนาฏ ชาวตระการ, วราภรณ์ คำรศ*

Department     : * Faculty of Nursing, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                : wara_aui@hotmail.com

บทคัดย่อ : การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบภาคตัดขวางเพื่อศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี และพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 500 คน สุ่มตัวอย่างแบบ Convenience Sampling ใช้แบบสอบถามโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามเอง เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม – 15 มิถุนายน พ.ศ.2558 ได้รับแบบสอบถามคืน 439 ชุด และมีข้อมูลครบถ้วนสามารถนำมาวิเคราะห์ได้ทั้งหมด 431 ชุด วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีกับพฤติกรรมการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีโดยใช้สถิติ Chi-Square และ Logistic Regression ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความตระหนักเกี่ยวกับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีอยู่ในระดับปานกลาง อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และภูมิลำเนามีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี  โดยบุคคลที่เคยตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีจะเป็นผู้ที่เห็นด้วยว่า จะตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีทุก 1 ปี ไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดหากมีคู่นอนเพียงคนเดียว และไม่เห็นด้วยว่าสามารถมีเพศสัมพันธ์กับคนที่ดูแข็งแรงโดยไม่จำเป็นต้องไปตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี จากการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงสาธารณสุขควรมีการรณรงค์สร้างความตระหนัก ส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย เพื่อให้ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ลดการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่น และลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยต่อไป

Abstract  : This cross-sectional study aimed to examine awareness and behavior regarding HIV testing in a men who have sex with men (MSM) group in Bangkok. Data were collected from 500 MSM using a self-administered questionnaire from 15th May – 15th June 2015. In all, 439 questionnaires were returned and 431 completed questionnaires were analyzed. Association between the HIV testing awareness and behavior was determined by Chi-square test and Logistic Regression. Results showed that the HIV testing awareness level among participants was moderate. Age, education, occupation, salary and domicile were associated with HIV testing behavior. MSM who agreed having an annual HIV check-up program, believed that having a single partner was safe or realized that having  healthy partners was unsafe from HIV transmission, were likely to receive HIV testing. In conclusion, the Thai MOPH should raise awareness and encourage HIV testing behavior among MSM for early detection and to decrease HIV incidence in Bangkok, Thailand.

Keywords : ความตระหนัก, การตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวี, ชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย, awareness, HIV testing, men who have sex with men

Donwload PDF  : ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร


Link to Published:  วารสารสาธารณสุขศาสตร์  Journal of Public Health


Bibliography     :สินีนาฏ ชาวตระการ และ วราภรณ์ คำรศ. (2559). ความตระหนักและพฤติกรรมการมารับการตรวจเลือดหาเชื้อเอชไอวีในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 46(3), 211-222.

Quick View