การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา

 

ชื่อบทความ     :  การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาDevelopment of School Administration Skills for Phrapariyattidhamma School Administrators, General Education Section

เจ้าของผลงาน       :  พระวรธนกร กิตฺติญาโณ แก้วพิลา, สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์ และ ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

บทคัดย่อ                :  การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาด้านทักษะการบริหาร ๒) เพื่อพัฒนาทักษะการบริหาร ๓) เพื่อเสนอกระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการแจกแบบสอบถาม เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๕๕๖ รูป/คน สถิติที่ใช้ การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสำรวจ และแบบตรวจสอบกลุ่มตัวอย่าง ๒๐๑ รูป/คน สถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน สนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๐ รูป/คน เครื่องมือ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า
๑. สภาพปัจจุบันปัญหาด้านทักษะการบริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่ามีการขาดการบริหารอย่างเป็นระบบและมีการพัฒนาไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงแต่การมอบอำนาจในการตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่มีลำดับชั้นสูงกว่า การจัดการบริหารในภาพรวมไม่เด่นชัดรวมทั้งการบริหารจัดกิจการคณะสงฆ์ในระดับต่างๆ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้นจนถึงระดับดี การสั่งการจากบนลงล่างการศึกษาของวัดและของคณะสงฆ์ขาดการพัฒนาทักษะด้านการบริหารจัดการที่ดี
๒. การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา สำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พบว่า ความเป็นไปได้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และความถูกต้อง ความเป็นประโยชน์ และความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ตามลำดับ
๓. กระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ประกอบด้วย ๕ ส่วน ดังนี้ ๑) องค์ประกอบของทักษะผู้บริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน
๒) กระบวนการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน ๓) ประเภทการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษา ๕ ด้าน ๔) องค์ประกอบของการบริหารสถานศึกษา ๖ ด้าน และ ๕) กิจกรรมการพัฒนาทักษะ ๕ กิจกรรม อีกทั้งยังพบหลักปาปณิกธรรม ๓ ที่ทำให้ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บริหารที่ตรงตามหลักพระพุทธศาสนา คือ ผู้มองการณ์ไกลในการทำงาน (จักขุมา) เป็นผู้เชี่ยวชาญในการทำงาน (วิธูโร) และมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี (นิสฺสยสัมปันโน)

คำสำคัญ                :  การพัฒนา, ทักษะการบริหารสถานศึกษา, โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา


 

Publication        : วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 5 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2561

                                  Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU Vol.5 No.3  September-December 2018

Link to Publication:    http://www.ojs.mcu.ac.th/index.php/edmcu/issue/archive

Download PDF        :    https://tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/163594

Bibliography  : พระวรธนกร กิตฺติญาโณ แก้วพิลา, สมศักดิ์ บุญปู่, ระวิง เรืองสังข์ และ สมหมาย จันทร์เรือง. (2554). การพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาสำหรับผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 5(3), 66-76.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม

การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

 

[mfn]สมหมาย จันทร์เรือง. (2555). การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. กระแสวัฒนธรรม, 13(23), 3-17.[/mfn]    การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา  THE CONSTRUCTION OF A HARMONIOUS SOCIETY BY MULTIDISCIPLINE : A CASE STUDY ON MISUNDERSTANDING BETWEEN CITIZENS AND THE STATE OFFICERS IN RAMAN DISTRICT, YALA PROVINCE 

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร. สมหมาย จันทร์เรือง

บทคัดย่อ                :  งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบกับการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา จากปัจจัยด้านรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์และสังคมวิทยาผลการวิจัยพบว่าปัจจัยทางรัฐศาสตร์เกิดมาจากการเป็นรัฐอิสระที่รุ่งเรืองในอดีต มีความเชื่อพระเจ้าของศาสนาอิสลาม การปกครองยึดถือคำสอนของศาสนาอิสลามเป็นหลัก ด้านเศรษฐศาสตร์ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรมและการทำประมง อาศัยป่าและทะเล หรือแหล่งน้ำในการดำรงชีวิตที่พอเพียงเลี้ยงชีพได้ด้านสังคมวิทยาพบว่า ประชาชนในอำเภอรามัน จังหวัดยะลาส่วนใหญ่เป็นอิสลามมาเลย์ใช้ภาษายาวี การศึกษาได้ช่วยการหล่อหลอมความเชื่อทางศาสนา การที่รัฐมีนโยบายที่เอื้อต่อคนส่วนน้อยที่เป็นไทยพุทธและคนจีนทำให้เกิดความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชนส่วนใหญ่กับเจ้าหน้าที่ของรัฐ แนวทางแก้ไขจึงควรสนับสนุนด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกัน โดยการจัดระบบการศึกษาของกระทรวงศึกษาอย่างเหมาะสม

คำสำคัญ                : สมานฉันท์ สหศาสตร์ รามัน ยะลา

Abstract              :  The Construction of Harmonious Society by Multidiscipline : The research entitled “A Case Study on Misunderstanding between Citizens and the State Officers in Raman District, Yala” is aimed to study misunderstanding between citizens and the state officers with to factors in relation to political science, economics, and sociology, and to study means to build a harmony community in Raman district, Yala province. The research employed both quantitative and qualitative approaches. This study reveals misunderstanding with regard to factors in political science – since the inhabitants built their first homes in Pattani, this township was an independent city state and ruled by a monarchy system still lingers. Its rulers were Islamic and had their faith in the power of God, i.e. Allah. In the matter of economy, most of them had careers in agriculture, raised livestock and fishery. Upon the geographical factors, they had forests, mountains and water supplies from rivers, ponds and lagoons in addition to the sea. Their resources thus were plentiful and wel supportive to plant farming. They relied on sufficiency way of life; and relied on nature. The people’s livelihood in the three southern most provinces was a truly integration among people of al ethnic origins. However, the majority of them have been Islamic Malays. Their faith is Islam and their spoken language is Yawee which is the local Malay dialect. Their education has put a stress on religious studies, and they have their mosque as centre of their religious practices. The minority of the residents have been Buddhist Thais and Chinese. They have their monasteries and shrines as their religious and are educated according to the system provided by the Ministry of Education.

Keywords           :  Harmonious, Multidiscipline, Raman Yala

Download PDF  :  การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา


Publication        :  กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 13 ฉบับที่ 23 ม.ค.-มิ.ย. 2555   Cultural Approach  Vol.13 No.23 Jan-Jun 2012

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/journal-of-cultural-approach-2012-vol13-no23-jan-jun/

Bibliography     :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2555). การสร้างสังคมสมานฉันท์ด้วยสหศาสตร์ : กรณีศึกษาความไม่เข้าใจกันระหว่างประชาชน กับเจ้าหน้าที่ของรัฐในพื้นที่อำเภอรามัน จังหวัดยะลา. กระแสวัฒนธรรม, 13(23), 3-17.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย (2563)

ชื่อบทความ     : ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย: Challenges on Collecting Land and Building Tax in Thailand

เจ้าของผลงาน       :   ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง, อาจารย์ยุทธนา ศรีสวัสดิ์, และอาจารย์เมธาวี บัวสมบูรณ์

บทคัดย่อ                : ภาษี คือ หน้าที่หรือภาระหรือความรับผิดชอบที่ประชาชนต้องนําส่งให้ภาครัฐตามที่กฎหมาย กําหนด เพื่อสนับสนุนกิจการของรัฐ โดยภาษีที่ดินและสิ่งปลูกจ้างนั้นเป็นภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สิน ประเภทหนึ่ง ปัจจุบันพบว่า การถือครองอสังหาริมทรัพย์มีการกระจุกตัวอยู่เฉพาะในกลุ่มคนที่มีฐานะร่ํารวย ซึ่งได้มีการถือครองไว้เป็นจํานวนมาก ในขณะที่คนส่วนมากไม่มีที่ดินหรือบ้านเป็นของตนเอง จึงแสดง ให้เห็นว่า ภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่มีการจัดเก็บอย่างไม่เป็นธรรมและไม่เป็นจริงตามระบบ การจัดเก็บภาษีที่ควรจะเป็น ทําให้เกิดปัญหาในทางโครงสร้างของการจัดเก็บภาษี ประเทศไทยจึงแก้ปัญหาดังกล่าวโดยการยกเลิกภาษีโรงเรือนและที่ดิน และภาษีบํารุงท้องที่ และตราพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 โดยหวังว่าจะทําให้การจัดเก็บอย่างทั่วถึง และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ศึกษาเปรียบเทียบการจัดเก็บภาษีลักษณะนี้กับต่างประเทศพบว่ามีจุดสังเกต ที่น่าสนใจ เช่น ประเทศสาธารณรัฐฝรั่งเศสใช้เกณฑ์รายได้และเกณฑ์อายุประกอบการพิจารณาเก็บภาษีด้วยประเทศออสเตรเลีย กําหนดให้คนต่างชาติต้องเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพิ่มอีก ร้อยละ 2 จากภาษีปกติ ประเทศแคนาดากําหนดให้ผู้เช่าตามสัญญาเช่าระยะยาวเป็นผู้เสียภาษีแทนที่จะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ เป็นต้น นอกจากนี้ การบังคับใช้ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย ยังมีจุดสังเกตบางประการ ซึ่งควรนํามาบูรณาการเพื่อให้การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างฉบับใหม่ของไทยมีประสิทธิภาพและ เป็นธรรมแก่สังคมยิ่งขึ้น

คำสำคัญ    : ภาษี, ที่ดิน, สิ่งปลูกสร้าง


Publication        : วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (STOU Journal of Law) ปีที่ 31 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2563   

Link to Publication:   https://lawjournal.stou.ac.th/Page/Home.aspx

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง, ยุทธนา ศรีสวัสดิ์ และเมธาวี บัวสมบูรณ์. (2563). ความท้าทายของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในประเทศไทย.วารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(2), 95-110.


วารสารฉบับพิมพ์ที่มีในห้องสมุด

Row Hit Heading
1 1 oวารสารกฎหมายสุโขทัยธรรมาธิราช (Sukhothai Thammathirat Law Journal)

คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

 

Title              :  พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย: Development of Private Higher Education Law in Thailand

Researcher       :  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย จันทร์เรือง
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  sommaichanruang@gmail.com

บทคัดย่อ             :  การจัดการศึกษาของเอกชนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษาและส่งเสริมให้ขยายการจัดการศึกษาไปยังราษฎร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้เอกชนจึงเข้ามามีส่วนร่วมจัดตั้งโรงเรียนและพัฒนามาสู่การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในส่วนของกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นพื้นฐานการบริหารสถาบันนั้น กฎหมายฉบับแรกคือพระราชบัญญัติวิทยาลัยเอกชน พ.ศ. 2512 ยังมีข้อจ ากัดในการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของเอกชนอยู่หลายประการ อาทิ การกำหนดให้ จัดสอนเฉพาะประกาศนียบัตร ไม่อาจจัดสอนในระดับปริญญาและการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเป็นต้น ต่อมากฎหมายอุดมศึกษาเอกชนฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ได้มีพัฒนาการของกฎหมายที่ให้สิทธิเสรีภาพ แก่เอกชนมากขึ้น โดยมีภารกิจหลัก คือ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัจจุบันมีพัฒนามาถึงกฎหมายอุดมศึกษาเอกชน ฉบับที่สาม คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กฎหมายฉบับนี้ได้เพิ่มอำนาจสภาสถาบันในการวางนโยบายและข้อกำหนดต่างๆ สำหรับการบริหารและการพัฒนาวิชาการ และเปิดโอกาสให้เอกชนได้จัดการอุดมศึกษาอย่างเป็นอิสระ รวมทั้งยอมรับเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งจะนำมาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย

คำสำคัญ             :  พัฒนาการ กฎหมาย อุดมศึกษาเอกชน

Abstract            :  Private-run education in Thailand had dated back to Ayutthaya period. It is not until the reign of King Rama V of Rattanakosin that Thai education was reformed and learning opportunities was expanded to the people. Under His Majesty’s kind patronage, the private sectors were given an opportunity to co-founding the school in which, later, developed into higher educational institution. The nation’s first higher education laws, representing the management foundation of private institution namely “the Private Higher Educational Institution Act (A.D.1969)”, contains several limitations such as the prohibition of private educational institution from administering the degree programs and the implementation of measures binding national security, etc. The second private higher institution law called “the Private Higher Educational Institution Act (A.D. 1979)” evolved into a more liberalized version, entitled more freedom for the private institutions to pursue their missions of teaching , researching, providing academic service to the society and enhancing national arts and culture, as similar to the public educational institution. Nowadays, the third private Higher Educational Institution Act (A.D. 2003), empowers private University’s council in managing and developing academic affairs, formulating and implementing policies and procedure as well as allowing more academic freedom, all aiming toward the excellence of private higher educational institutions in Thailand.

Keywords         :   Development, Law, Private Higher Education


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2560). พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 980-991). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

รัฐธรรมนูญไทยกับการศึกษา

 

Title              :  รัฐธรรมนูญไทยกับการศึกษา: Thai Constitution and Education

Researcher       : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย จันทร์เรือง
Department     :  Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                :  Sommaichanruang@gmail.com

บทคัดย่อ             :  รัฐธรรมนูญเป็นพื้นฐานของการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย นับแต่ประเทศไทยได้เปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๕๙ รวมเวลามา ๘๔ ปี ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญมาแล้ว ๑๙ ฉบับ สําหรับบทบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษานั้น มีพัฒนาการกว้างขวางครอบคลุมการจัดการศึกษามากขึ้น โดยเน้นการพัฒนาคนเพื่อให้คนได้มีความรู้สําหรับพัฒนาสังคมและประเทศ

คำสำคัญ             :   รัฐธรรมนูญไทย, การศึกษา

Abstract            :  Constitution is a foundation of democratic political regime. Since the changing of its political regime from absolute monarchy to democracy with the King as head of state eighty four years ago (A.D. ๑๙๓๒ to A.D. ๒๐๑๖), Thailand has experienced nineteen national constitutions enacted. Regarding the legal provision on education, there has been a great deal of progress covering educational administration that focuses on human development, enabling the knowledge for societal and national development.

Keywords         :   Thai constitution, Education


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016                             

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016

Bibliography    :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2559). รัฐธรรมนูญไทยกับการศึกษา. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 220). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 


Quick View

ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ

 

ชื่อบทความ     :  ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ: Copyright of Academic Works

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทคัดย่อ                :  ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ

คำสำคัญ                :  ลิขสิทธิ์, งานวิชาการ


 

Publication        : วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 พฤษภาคม 2554  APHEIT JOURNAL Vol.17 No.1  May 2011

Link to Publication:    http://apheit.bu.ac.th/index.php/read

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2554). ลิขสิทธิ์ในงานวิชาการ. วารสารวิชาการ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 17(1), 179-193.


Quick View
หนังสือพิมพ์-มติชน-7-1-2562

เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

 

ชื่อบทความ     :  เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

บทความฉบับเต็ม  :  เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน


 

Publication: หนังสือพิมพ์มติชน ปีที่ 41 ฉบับที่ 14911 วันจันทร์ที่ 7 มกราคม 2562 

Link to Publication:  http://www.matichon.co.th

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2562, 7 มกราคม). เด็กไทยกับประชาธิปไตยที่ยั่งยืน. มติชน, หน้า 15.


Quick View

เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0

 

ชื่อเรื่อง              :  เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

หน่วยงาน               :  คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

การประชุมวิชาการ    : สมาคมนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (ส.น.ธ.) จัดเสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0 เมื่อวันที่ 22 กรกฏาคม 2560 ณ คณะนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

Link  to video clip : https://youtu.be/TBBCNiTNL4w

Bibliography  : สมหมาย จันทร์เรือง. (2560, 22 กรกฏาคม). เสวนาวิชาการเรื่อง นักกฎหมายไทย 4.0. [วีดิโอคลิป]. เข้าถึงได้จาก https://www.youtube.com/watch?v=TBBCNiTNL4w


สมาคมนิติศาสตร์  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  (ส.น.ธ.):  http://www.law.tu.ac.th

ตั้งอยู่ที่คณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ สมาคมนิติศาสตร์มีวัตถุประสงค์ คือ ส่งเสริมความเจริญให้แก่คณะนิติศาสตร์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สนับสนุนความร่วมมือและเผยแพร่วิทยาการในทางนิติศาสตร์ ระหว่างสมาชิกกับสมาคมหรือสถาบันทางกฎหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ช่วยเหลือเกื้อกูลกันในระหว่างมวลสมาชิก บำเพ็ญสาธารณประโยชน์ และการกุศลสาธารณะ ส่งเสริมการบันเทิง การกีฬา และการพักผ่อนหย่อนใจของมวลสมาชิก อุดหนุนและให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสนับสนุนและร่วมมือกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และบรรดาสมาคมซึ่งผู้ที่เคยศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดตั้งขึ้น ในการธำรงไว้ ส่งเสริมและเผยแพร่ชื่อเสียงและเกียรติคุณของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยวัตถุประสงค์ทั้ง 8 ประการดังกล่าวนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง

สมาคมนิติศาสตร์ได้จัดกิจกรรมในด้านต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ อย่างต่อเนื่อง ดังเช่น

  • กิจกรรมสัมมนาวิชาการในเรื่อง “ร่าง พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์: ฤา ชื่อธรรมศาสตร์จะเปลี่ยนไป”
  • โครงการอบรมและเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายให้กับองค์กรและหน่วยงานต่างๆ
  • โครงการอบรมในหัวข้อ “การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบภาคปฏิบัติ การฝึกอบรมวิชาว่าความของสภาทนายความ” ให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • กิจกรรมศึกษาดูงานคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว
  • พิธีวางพวงมาลาอนุสรณ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ เนื่องในวันคล้ายวันสิ้นพระชนม์
  • งานเลี้ยงแสดงความยินดีให้กับบัณฑิตนิติศาสตร์
  • กิจกรรม “ชวนกันเดินทัวร์”
Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม

แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

 

[mfn]สมหมาย จันทร์เรือง. (2557). แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. กระแสวัฒนธรรม, 15(28), 17-26.[/mfn]   แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj

เจ้าของผลงาน       :  ผศ.ดร. สมหมาย จันทร์เรือง

บทคัดย่อ                : การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาเจาะจง จำนวน 14 คน และกระบวนการสนทนากลุ่มจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน  5 คน นำมารวบรวม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณา ผลการศึกษาพบว่า แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช คือการปกครอง ที่ใช้หลักธรรมทางพุทธศาสนาในการปกครอง ได้แก่ ทศพิธราชธรรม สังคหวัตถุ และจักรวรรดิวัตร ซึ่งสามารถนำมาใช้กับการเมืองการปกครองไทยในปัจจุบัน เฉพาะอย่างยิ่งทศพิธราชธรรม ได้นำมาประยุกต์กับการบริหารองค์การภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง สำหรับการปกครองของประเทศไทยด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขสอดคล้องกับหลักธรรมราชาหรือราชาธิปไตย ที่ผู้นำการปกครองต้องกอปรด้วย คุณธรรมจริยธรรมตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา โดยความซื่อสัตย์สุจริต และความกล้าหาญเป็นคุณสมบัติที่สังคมไทยต้องการมากที่สุด นอกจาก ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้นำเสนอแนวคิดทางการเมืองแนวพุทธผ่านทางนวนิยายและบทความในหนังสือพิมพ์แล้วยังได้แสดงบทบาทดำรงตนและดำรงความเป็นผู้นำทางการเมืองตามหลักธรรมทางพุทธศาสนา อันถือเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับนักการเมืองและการบริหารบ้านเมืองไทยในทุกยุคทุกสมัย

คำสำคัญ                :  แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธ,  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช

Abstract              :  The objective of this research is study the Buddhist Approach on Political Concepts of M.R. Kukrit Pramoj. The research methodology employed this research is qualitative, including several qualitative methods of (1) documentary research, (2) in-depth interview with fourteen informants selected by purposive sampling method and (3) focus group interview with five qualifying experts, in which descriptive approach of data analysis were employed. The result of the study was that the Buddhist political Concepts of M.R. Kukrit Pramoj resembles Buddhist principles of governance which include: desa-raja-dhamma (Ten Duties of the King), sanga-ha-vatthu (Principles of Service and Social Integration), and cak-ka-vatti-vat (Duties of the Great rulers). All these principles were being widely adapted to modern Politics and Governance in Thailand, especially the desa-raja-dhamma (Ten Duties of the King) that being applied in managing public and private sectors nationwide. Consequently, the democratic form of governance in Thailand with the King as the head of the state stipulates the condition of dhamma-raja in which the head of the state must uphold their virtue and moral according to the Buddhist principles. Ultimately, honesty, integrity, and courage are leadership characteristics mostly demanded by Thai public and society. Apart from the fact that M.R. Kukrit Pramoj had presented his Buddhist political ideology via his several outstanding masterpieces including novels and newspaper articles, he also consistently live and committed to his role status as a faithful Buddhist-principle-guided Thai political leader, thus, being a great role model for both politics and governance circles in Thailand until nowadays.

Keywords           :  Political Concepts on Buddhist Approach, M.R. Kukrit Pramoj

Download PDF  :  แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช  Political Concepts on Buddhist Approach of M.R. Kukrit Pramoj


Publication        :  กระแสวัฒนธรรม ปีที่ 15 ฉบับที่ 28 ก.ค.-ธ.ค. 2557   Cultural Approach  Vol.15 No.28 Jul-Dec 2014

Link to Publication:  https://e-library.siam.edu/e-journal/article/journal-of-cultural-approach-2014-vol15-no28-jul-dec/

Bibliography     :  สมหมาย จันทร์เรือง. (2557). แนวคิดทางการเมืองแนวพุทธของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. กระแสวัฒนธรรม, 15(28), 17-26.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View

แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (2562)

ชื่อบทความ     :  แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี: GUIDELINE OF BUDGET ADMINISTRATION ACCORDING TO GOOD GOVERNANCE FOR OPPORTUNITY EXPANSION SCHOOLS IN KHLONGLUANG DISTRICT, PATHUMTHANI PROVINCE

เจ้าของผลงาน       :  แสงเทียน จิตรโชติ, ประยูร แสงใส, บุญเชิด ชำนิศาสตร์ และ ผศ.ดร.สมหมาย จันทร์เรือง 

บทคัดย่อ               The objectives of this research were; 1) to study the state of problems and obstacles in budget administration of Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province, 2) to study techniques and methods in budget administration on Opportunity Expansion Schools and principles of good governance in budget administration, and 3) to propose a guideline of budget administration based on good governance for Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province.

The quantitative data were collected from 176 samples by questionnaires and analyzed by frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative data were collected by in-depth interviews with 3 key-informants and analyzed by content analysis.

The results of the study found that:

  1. The budget administration of Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province was at a high level overall. In aspect, the highest level was on Participation, followed by Consencus Oreinted, transparency, Rule of Law, Decentralization, Responsiveness, Accountability, Equity, Effectiveness, and Efficiency respectively.
  2. Problems and obstacles in budget administration based on good governance of Opportunity Expansion Schools in Khlongluang district of Pathumthani province were found that; 1) budget administration not cope with the annual budget plan, 2) work operation out of the time frame, 3) work assigned to the wrong person, 4) workload not matched with the time frame, 5) personnel acknowledgement and understanding, 6) different administrators with different administration styles, 7) unclear policy on budget, and finally 8) compassion and morale.
  3. Suggestions; the most suggestion was on the application of good governance in budget administration and development of school, and following suggestions were on a survey of skills and interests of personnel, acknowledgement of personnel in school about budget policy and budget spending, administration based on good governance, understanding of good governance, participation of teachers in operation, and work performance monitor rather than hearsays.

คำสำคัญ    : The budget administration, good governance, Opportunity Expansion Schools


Publication        : วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปีที่ 6 ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน 2562   Journal of Educational Review Faculty of Educational in MCU Vol.6 No.1  January-April 2019

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/issue/archive

Download PDF        :    https://www.tci-thaijo.org/index.php/EDMCU/article/view/179307

Bibliography  : แสงเทียน จิตรโชติ, ประยูร แสงใส, บุญเชิด ชำนิศาสตร์ และ สมหมาย จันทร์เรือง. (2562). แนวทางการบริหารงบประมาณตามหลักธรรมาภิบาลสำหรับสถานศึกษาขยายโอกาส ในเขตอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 81-83.


คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

Quick View