การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด

 

Title              :  การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด : Study on Types and Contents of Biopolymers for Encapsulation and Diffusivity Coefficient of Mangosteen Pericarp Extract

Researcher       :  ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย
Nuttaphon Kajornboon, Tunyaporn Sirilert and Nattiga Silalai

Department     :  ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :   tunyaporn.sir@siam.edu

บทคัดย่อ             :  เปลือกมังคุด (Garcinia mangostana Linn.) เป็นแหล่งสารแซนโทน (Xanthones) ที่มีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระทางธรรมชาติที่สูง แต่เนื่องด้วยประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระสามารถเกิดการเสียสภาพและลดลงได้ด้วยแสงหรือความร้อน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาการกักเก็บสารสำคัญโดยใช้เทคนิคการเอนแคปซูเลชันด้วยการห่อหุ้มสารสำคัญไว้ภายในโครงสร้าง โดยศึกษาการห่อหุ้มสารไบโอพอลิเมอร์ 2 ชนิดได้แก่ โซเดียมอัลจิเนต และ เวย์โปรตีน โดยแ ปรผันอัตราส่วนระหว่าง โซเดียมอัลจิเนต : เวย์โปรตีน เท่ากับ 100:0, 50:50, 62:38 และ 0:100 ในระบบอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำ (o/w) โดยใช้น้ำมันงาม้อนซึ่งเป็นวัฏภาคน้ำมัน โดยพบว่าไม่มีความแตกต่าง (p>0.05) ของค่าความคงตัวในทุกสิ่งทดลอง โดยให้ค่าความคงตัวสูง ไม่เกิดการแยกชั้นแล้วทำการเตรียมเอนแคปซูเลชันสารสกัดจากเปลือกมังคุดแบบอนุภาคทรงกลม (Spherical) จากการศึกษาประสิทธิภาพในการปลดปล่อยพบว่า เมื่ออัตราส่วนของเวย์โปรตีนเพิ่มขึ้น ส่งผลให้การปลดปล่อยของสารสกัดจากเปลือกมังคุดลดลง ซึ่งชี้ให้เห็นว่าชนิดและอัตราส่วนของสารไบโอพอลิเมอร์ที่ใช้มีส่งผลต่อการกักเก็บและควบคุมการปลดปล่อยของสารสำคัญในโครงสร้างไว้ได้

คําสําคัญ             :  สารไบโอพอลิเมอร์, เวย์โปรตีน, โซเดียมอัลจิเนต, เอนแคปซูเลชัน, สเฟียริคอล

Abstract            :  Mangosteen pericarp (Garcinia mangostana Linn.) is a source of xanthones, which are high efficiency of natural antioxidant. However, xanthones can be degraded due to light and heat. Therefore, the improvement or development of encapsulation using different types and contents of biopolymers was conducted in the present study. The objective of this study was to investigate stability of emulsion (oil-in-water emulsion) systems with the different types of two biopolymers (sodium alginate and whey protein concentrate) at different ratios (100:0, 50:50, 6 2 :3 8, and 0 :1 0 0), which was showed no significantly (p>0.05) effect of emulsion stability and encapsulation efficiency. In the present study, perilla oil was used as a disperse phase, while mangosteen pericarp extract was sensitive ingredient dissolve in perilla oil. Sodium alginate used as a carrier for spherical encapsulation showed low encapsulation efficiency, while whey protein showed high encapsulation efficiency observed from the k value. This study indicated that biopolymer types and biopolymer contents used resulted in encapsulation efficiency and control-release of encapsulation systems. 

Keywords        :    Biopolymer, Whey Protein, Sodium Alginate, Encapsulation, Spherical


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3  ASTC 2015: The 3rd Academic Science and Technology Conference 2015 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (Science for Happiness: from basic research to commerce toward future sustainable development) วันพฤหัสบดีที่ ๒๘- วันศุกร์ที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๕๘  ณ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    ณัฐพล ขจรบุญ, ธัญญาภรณ์ ศิริเลิศ และ ณัฏฐิกา ศิลาลาย. (2558). การศึกษาชนิดและปริมาณของสารไบโอพอลิเมอร์ในการเตรียมเอนแคปซูเลชันต่อค่าสัมประสิทธิ์การแพร่ ของสารสกัดจากเปลือกมังคุด. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 3 “วิทยาศาสตร์เพื่อความสุข: จากงานวิจัยพื้นฐานสู่การค้าเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในอนาคต” (หน้า 515-519). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย.

ภาควิชาเทคโนโลยีการอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 14 ชั้น 1 ห้อง 14-106
38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
Tel : 02-867-8026, 02-867-8026 ต่อ 5182
Fax : 02-867-8026

Website  : http://science.siam.edu/