Title : พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย: Development of Private Higher Education Law in Thailand
Researcher : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมหมาย จันทร์เรือง
Department : Faculty of Laws, Siam University, Bangkok, Thailand
E-mail : sommaichanruang@gmail.com
บทคัดย่อ : การจัดการศึกษาของเอกชนมีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงปฏิรูปการศึกษาและส่งเสริมให้ขยายการจัดการศึกษาไปยังราษฎร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณนี้เอกชนจึงเข้ามามีส่วนร่วมจัดตั้งโรงเรียนและพัฒนามาสู่การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษา ในส่วนของกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนที่เป็นพื้นฐานการบริหารสถาบันนั้น กฎหมายฉบับแรกคือพระราชบัญญัติวิทยาลัยเอกชน พ.ศ. 2512 ยังมีข้อจ ากัดในการจัดการศึกษาขั้นอุดมศึกษาของเอกชนอยู่หลายประการ อาทิ การกำหนดให้ จัดสอนเฉพาะประกาศนียบัตร ไม่อาจจัดสอนในระดับปริญญาและการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศเป็นต้น ต่อมากฎหมายอุดมศึกษาเอกชนฉบับที่สอง คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2522 ได้มีพัฒนาการของกฎหมายที่ให้สิทธิเสรีภาพ แก่เอกชนมากขึ้น โดยมีภารกิจหลัก คือ การสอน การวิจัย การบริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เช่นเดียวกับสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ปัจจุบันมีพัฒนามาถึงกฎหมายอุดมศึกษาเอกชน ฉบับที่สาม คือ พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 กฎหมายฉบับนี้ได้เพิ่มอำนาจสภาสถาบันในการวางนโยบายและข้อกำหนดต่างๆ สำหรับการบริหารและการพัฒนาวิชาการ และเปิดโอกาสให้เอกชนได้จัดการอุดมศึกษาอย่างเป็นอิสระ รวมทั้งยอมรับเสรีภาพทางวิชาการ ซึ่งจะนำมาสู่ความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย
คำสำคัญ : พัฒนาการ กฎหมาย อุดมศึกษาเอกชน
Abstract : Private-run education in Thailand had dated back to Ayutthaya period. It is not until the reign of King Rama V of Rattanakosin that Thai education was reformed and learning opportunities was expanded to the people. Under His Majesty’s kind patronage, the private sectors were given an opportunity to co-founding the school in which, later, developed into higher educational institution. The nation’s first higher education laws, representing the management foundation of private institution namely “the Private Higher Educational Institution Act (A.D.1969)”, contains several limitations such as the prohibition of private educational institution from administering the degree programs and the implementation of measures binding national security, etc. The second private higher institution law called “the Private Higher Educational Institution Act (A.D. 1979)” evolved into a more liberalized version, entitled more freedom for the private institutions to pursue their missions of teaching , researching, providing academic service to the society and enhancing national arts and culture, as similar to the public educational institution. Nowadays, the third private Higher Educational Institution Act (A.D. 2003), empowers private University’s council in managing and developing academic affairs, formulating and implementing policies and procedure as well as allowing more academic freedom, all aiming toward the excellence of private higher educational institutions in Thailand.
Keywords : Development, Law, Private Higher Education
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : สมหมาย จันทร์เรือง. (2560). พัฒนาการกฎหมายอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทย. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 980-991). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต.