ชนิตา รักษ์พลเมือง, สมหวัง พิธิยานุวัฒน์, รังสรรค์ มณีเล็ก, เฟื่องอรุณ ปรีดีดิลก และ สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล. (2560). การศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต. วารสารครุศาสตร์, 45(3), 17-33.
ABSTRACT
การวิจัยแบบผสมวิธีเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ.2546-2556 ศึกษาความต้องการในการผลิต การใช้ และการพัฒนาครู การศึกษาขั้นพื้นฐานในอนาคต พ.ศ.2557-2566และจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายด้านการผลิต การใช้ และการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคต ผู้วิจัยใช้การวิจัยเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น (PNI modified) ด้านการผลิต การใช้ การพัฒนาครู และคุณลักษณะของครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิเคราะห์แนวโน้มและความต้องการในอนาคต (Trend Analysis) การจัดทำวงล้ออนาคต (Futures Wheel Technique) และการประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า ในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีจำนวนนักศึกษาใหม่ระดับปริญญาตรีในสถาบันผลิตครูเพิ่มขึ้นประมาณสองเท่าตั้งแต่ปีการศึกษา 2553-2556 การใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล ความก้าวหน้าและมั่นคงในการทำงาน และจรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่วนการพัฒนาครูมีปัญหาเชิงระบบที่สำคัญ คือ การพัฒนาครูไม่ยึดสมรรถนะ เน้นทฤษฎีมากกว่าปฏิบัติ ขาดนวัตกรรมการพัฒนาที่ส่งผลต่อการพัฒนาสู่มืออาชีพ ไม่มีระบบการพัฒนาครูใหม่โดยเฉพาะครูผู้ช่วย ขาดระบบเชื่อมโยงระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็นในอนาคต พบว่า สิ่งที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนมากที่สุดในด้านการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ การมีระบบติดตามและประเมินผลการผลิตครูที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ (PNI modified = 1.01) การผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในเชิงคุณภาพ (PNI modified = 0.91) และการที่ระบบการผลิตครูสามารถดึงดูดคนดีคนเก่ง มีใจรักวิชาชีพครู มาเป็นครูการศึกษาขั้นพื้นฐาน (PNI modified = 0.71) ในด้านความต้องการจำเป็นในการใช้ครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ต้องดำเนินการเร่งด่วนมาก คือ การมีระบบครูพี่เลี้ยงที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานของครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ปฏิบัติในช่วงแรก (PNI modified = 0.78) การมอบหมายภาระงานให้กับครูการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างเหมาะสม (PNI modified = 0.73) สำหรับผลการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับการพัฒนาครูการศึกษาขั้นพื้นฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในอนาคตที่สำคัญ คือ การพัฒนาครูให้มีความเชื่อมโยงกับคุณภาพการผลิตบัณฑิตและการพิจารณาผลการปฏิบัติงานของครู การพัฒนาครูให้มีจรรยาบรรณวิชาชีพครูและจิตวิญญาณความเป็นครูซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นครู
The objectives of this mixed-method design research were to study state and problems of the production, recruitment, and professional development of Thai basic education teachers between 2003-2013; to study the future needs of the production, recruitment, and professional development of Thai basic education teachers between 2014-1023; and to propose policies for the production, recruitment, and professional development of Thai basic education teachers. The researchers employed documentary research, survey research using Priority Needs Index (PNI) questionnaire, trend analysis, futures wheel technique, and focus group discussion. Findings revealed that the number of incoming teacher students at pre-service level doubled during the year 2010 to 2013. It was found that there were problems related to personnel management, career progress and security, as well as professional ethics. Moreover, there were some important systematic problems which showed the disparity between present professional development system and actual teacher professional competency. It was indicated that more focus was given to theory than practices; lack of innovation to train professional teachers, lack of training system for novice teachers, especially assistant teachers; and lack of linkages with related organizations. Analysis from the needs assessment questionnaire confirmed that the monitoring system which ensured same standards of teacher production was most needed (PNI modified = 1.01), followed by the quality of teacher production (PNI modified = 0.91) and necessary measures to attract best candidates with high morale and inspiration to become teachers (PNI modified = 0.71). It was also revealed that there were needs for mentoring system for new teachers (PNI modified =0.78) and suitable job assignment (PNI modified = 0.73). As for the recommendations concerning future policies and practices in relation to future needs, members in focus group discussions proposed that there should be seamless relationships between professional development, teacher production, and work evaluation. The most important issue was to produce and train teachers with professional ethics and teacher spirit, the components which lay at the heart of professional teachers.