เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย (2564)

ผู้เขียนบทความ: ดร.ภญ.นวินดา ชินะตังกูร และ นศภ.ร่มฟ้า บุญสุข

บทคัดย่อ:

ในช่วงที่ผ่านมา ประเทศไทยประสบปัญหาจากมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 และปัญหาจากโรคระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) ซึ่งส่งผลให้ปริมาณการใช้หน้ากากอนามัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ปัจจุบันจึงได้มีการพัฒนาเส้นใยนาโนด้วยเทคโนโลยีการผลิตแบบอิเล็กโตรสปินนิง โดยเส้นใยที่ได้จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีขนาดเล็ก ส่งผลให้มีลักษณะเป็นรูพรุนขนาดเล็กจำนวนมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราส่วนระหว่างพื้นผิวต่อปริมาตรสูง ซึ่งส่งผลให้ประสิทธิภาพในการกรองและความสามารถในการดักจับอนุภาคเพิ่มสูงขึ้น นอกจากประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคและดักจับเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว หน้ากากเส้นใยนาโนยังมีคุณสมบัติพิเศษอื่นๆ ได้แก่ สามารถป้องกันการซึมผ่านของของเหลว สามารถระบายอากาศได้ดี หายใจได้สะดวก สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ มีความแนบกระชับกับใบหน้า และมีความแข็งแรงทนทาน

คำสำคัญ: หน้ากากอนามัย เส้นใยนาโน อิเล็กโตรสปินนิง ไวรัสโคโรนา PM2.5

Link to Academic article: เส้นใยนาโนและการประยุกต์ใช้เป็นหน้ากากอนามัย

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 1 ม.ค.-มิ.ย. 2559

วารสารเภสัชศาสตร์สยาม ปีที่ 1 ฉบับที่ 2 ก.ค.-ธ.ค. 2559

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 19  ชั้น 9
เลขที่  38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ  กรุงเทพมหาคร 10160
โทร. 0-2457-0068 ต่อ 5331, 5401,5416 โทรสาร 0-2868-6665
เว็บไซต์คณะ : https://pharmacy.siam.edu