การนำเสนอกระบวนการเสริมพลังชุมชนในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

1ณัฐปภัสร์ วรธันย์ผาสุข และ ชนิตา รักษ์พลเมือง. (2557). การนำเสนอกระบวนการเสริมพลังชุมชนในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 9(2), 283-296.   การนำเสนอกระบวนการเสริมพลังชุมชนในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ณัฐปภัสร์ วรธันย์ผาสุข และ ชนิตา รักษ์พลเมือง


Professor Emeritus Dr.Chanita Rukspollmuang

การนำเสนอกระบวนการเสริมพลังชุมชนในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์สำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


Abstract

   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชน  2) ปัจจัยเงื่อนไขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชน และ3) กระบวนการเสริมพลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชน โดยวิธีวิจัยเชิงสำรวจ  ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้าง  กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ข้าราชการประจำ  เจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในพื้นที่ ทั้งหมด 3 กรณีศึกษา  ได้แก่ 1) องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ทอง อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช 2) เทศบาลตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย และ3) เทศบาลนครขอนแก่น อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ผลการวิจัยพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชนใน   3 ด้าน คือ 1) บทบาทในการเริ่มต้น 2) บทบาทในการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการร่วมกัน  และ3) บทบาทการส่งเสริมให้เกิดความยั่งยืน มีปัจจัยเงื่อนไข ประกอบด้วย ภาวะผู้นำ การให้ข้อมูลข่าวสาร การเมืองท้องถิ่น  ความเชื่อ ความเป็นเครือญาติ วัฒนธรรม สำหรับกระบวนการเสริมพลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสริมสร้างสันติสุขและความสมานฉันท์ของชุมชนตามแนวคิดของเปาโล แฟร์ สามารถแบ่งได้เป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเสริมสร้างการรับรู้และความตระหนัก 2) การส่งเสริมการตั้งคำถามจากประเด็นปัญหาร่วมกัน 3) การส่งเสริมการดำเนินการร่วมกัน และ4) การส่งเสริมให้ชุมชนร่วมกันวิพากษ์วิจารณ์ผลการดำเนินการ

This objectives of this study were to study: 1) roles of local administrative organizations in strengthening community peace and reconciliation; 2) factors and conditions of local administrative organizations in strengthening community peace and reconciliation and 3) local administrative organization empowerment processes in strengthening community peace and reconciliation. This survey research was conducted by examining documents and conducting structured in-depth interviews with administrators of local administrative organizations, regular civil servants, operational staff, community leaders and local residents in three cases namely; 1) Pho Thong Local Administrative Organization, Tha Sala, Nakhon Sri Thammarat, 2) Wiang Pang Kam Local Administrative Organization, Mae Sai, Chiangrai and 3) Khon Kaen Municipality, Muang, Khon Kaen.

According to the findings, the local administrative organizations had roles of strengthening community peace and reconciliation in the following three areas: 1) beginning roles; 2) roles in promoting and supporting joint operations and 3) roles in promoting sustainability with conditional factors consisting of leadership, provision of news and information, local politics, beliefs, relatives and culture. Local administrative organization empowerment processes to strengthen community peace and reconciliation in line with Paulo Freire’s concept can be divided into the following four steps: 1) strengthening perception and awareness; 2) promoting questions from shared problems; 3) promoting joint operations and 4) promotion communities in critiquing outcomes together.