ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา Rungroje Songsraboon

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ (1) เพื่อสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา (2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา (3) เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ผู้ป่วยที่เป็นผู้สูงอายุและนอนพักรักษาตัวในโรงพยาบาลเอกชนที่เป็นโรคไม่ติดต่อ จำนวน 400 ตัวอย่าง ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ สถิติเชิงพรรณนา ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) และการสร้างสมการถดถอยเชิงเส้นแบบพหุด้วยวิธี Stepwise

ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 45 – 59 ปี มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ประกอบอาชีพรับราชการ และเป็นโรคไขมันในเลือดสูง ปัจจัยตามแนวทางพุทธศาสนาที่มีผลต่อการมีสุขภาพดีมากที่สุด ได้แก่ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังต่อไปนี้

การมีสุขภาพดี = .308การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์+.156การออกกำลังกาย+.144การปฏิบัติตนตามนาฬิกาชีวิต+.108การสวดมนต์+.104การนั่งสมาธิ: R2 = 0.658, SE = 0.378


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการรักษาโรคไม่ติดต่อตามแนวทางพุทธศาสนา. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร  ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 133-144.

Factors Affecting Therapy of the Non-Communicable Diseases (NCDs) According to Buddhism By Rungroje Songsraboon

วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ
Silpakorn University Journal Volume 36 Number 3 September-December 2016

Website: https://www.journal.su.ac.th
Website: https://www.tci-thaijo.org

http://research-system.siam.edu/2013-12-20-03-57-53/2305-2013-12-20-05-58-83