การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต

 

Title              :  การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต : Development of Test for Static Coefficient of Friction

Researcher       :  คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์
Kanit Thongpisisombat and Phuttatida Chaisawas

Department     :  ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                : phuttatida.cha@siam.edu

บทคัดย่อ             :   งานวิจัยนี้ได้ออกแบบและสร้างเครื่องทดสอบเพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต โดยมีอัตราความเร็วในการดึงคงที่ 1 มิลลิเมตรต่อวินาทีควบคุมความเร็วโดยใช้ไมโครคอนโทรเลอร์กับชุดขับไดร์สเต็ปมอเตอร์ IM483 เชื่อมต่อกับเกียร์ทด 15:1 และต่อกับระบบ linear motion ซึ่งประกอบด้วยบอลสกรูยาว 1 เมตร ซึ่งมีระยะเกลียว 8 มิลลิเมตรต่อรอบ เพื่อใช้เป็นชุดกําลังในการดึง ชุดทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตประกอบด้วยโต๊ะทดสอบติดตั้งอยู่ในแนวราบและมีตัวเลื่อน โดยโต๊ะ และตัวเลื่อนติดตั้งกับพื้นผิววัสดุทดสอบ 3 คู่: หนังกับโลหะ, หนังกับไม้ และหนังกับพลาสติก ในการอ่านค่าแรงเสียดทานมีโหลดเซลกับเครื่องสเตรนอินทรูเมนต์ตรวจวัดค่าแรงและแสดงผลเป็นตัวเลขดิจิตอลในหน่วยนิวตัน โดยค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิตระหว่างหนัง PU กับไม่มีค่าสูงสุดและหนัง PU กับพลาสติกมีค่าต่ําสุด โดยมีค่า 0.7514 และ 0.3022 ตามลําดับ

คําสําคัญ             :  ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานสถิต ไมโครคอนโทรเลอร์ ชุดขับไดร์สเต็ปมอเตอร์ โหลดเซล

Abstract            :  In this research design and construct a testing machine to measures the static coefficient of friction by using constant pull speed 1 mm per second, speed controlled by microcontroller with IM483 high performance microstepping driver, a stepper motor combined with mechanical gear ratio 15:1 and linear motion has ball screw length 1 m pitch 8 mm/rev was used to transfer the pull energy. The coefficient of friction test fixture consists of a fixed horizontal table and a moveable sled. Both the table and sled can be covered with three pairs of test material: leather and metal, leather and wood, leather and plastic respectively. The friction force data reading from the load cell during the test with strain instrument display the Newton unit. For Polyurethane and wood showed the highest static coefficient of friction was 0.7514 and the lowest was 0.3022 for Polyurethane and plastic.

Keywords        :    the static coefficient of friction, microcontroller, microstepping driver, load cell


Proceeding       : รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4  The 4th Academic Science and Technology Conference 2016 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างชาติ สร้างอนาคต” (Science Technology and Innovation creating Nation and Future) วันอังคารที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙  ณ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร ผู้จัดหลัก: วิทยาลัยการแพทย์แผนไทย และ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

Link to Proceeding:    https://www.astcconference.com/page/proceedings#astc-content

Bibliography     :    คณิต ทองพิสิฐสมบัติ และ พุทธธิดา ชัยสวัสดิ์. (2559). การพัฒนาเครื่องทดสอบหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานแบบสถิต. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างสถาบัน ครั้งที่ 4 “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม สร้างชาติ สร้างอนาคต” (หน้า 582-585). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.


ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
อาคาร 14 ชั้น 1 ห้อง 14-106
38 ถ.เพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร 10160
Tel : 02-867-8026, 02-867-8026 ต่อ 5182
Fax : 02-867-8026

Website  : http://science.siam.edu/