วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม-ปีที่9-ฉบับที่2-พค-สค-2558

ปัจจัยนำการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานองค์การ

[mfn]สมพร ปานยินดี. (2558). ปัจจัยนำการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานองค์การ. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 9(2), 47-58.[/mfn]   ปัจจัยนำการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และผลการดำเนินงานองค์การ: Antecedents to Entrepreneurial Orientation and Impact on Firm Performance

สมพร ปานยินดี


ผลงานวิชาการ ดร.สมพร ปานยินดี – Somporn Panyindee

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย-ปีที่36-ฉบับที่3

ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบผลกระทบของตัวแปรสาเหตุได้แก่ ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อตัวแปรผลได้แก่ ความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย โดยผ่านตัวแปรกลางคือการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ โดยมีตัวแปรแทรกคือสมรรถนะทางเทคโนโลยี เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย ที่ประกอบธุรกิจอยู่ในกรุงเทพมหานคร ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ การวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ (multiple regression analysis) ผลวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรคมีผลกระทบทางบวกต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ 2) ความฉลาดทางอารมณ์มีผลกระทบทางบวกต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ 3) การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการมีผลกระทบทางบวกต่อความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย 4) สมรรถนะทางเทคโนโลยีไม่มีผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการ  เจนเนอเรชั่นวาย

KEYWORDS: ความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค, ความฉลาดทางอารมณ์, การมุ่งเน้น.


งานที่อ้างถึง

สมพร ปานยินดี. (2559). ผลกระทบของความสามารถในการฝ่าฟันอุปสรรค ความฉลาดทางอารมณ์ ที่มีต่อการมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการ และความสำเร็จของผู้ประกอบการเจนเนอเรชั่นวาย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 36(3), 37-68.

The effects of Adversity Intelligence and Emotional Intelligence on Success of Generation Y Entrepreneurs

Quick View

พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค

 

Title              :  พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค: BEHAVIOR AND SATISFACTION OF USING THAILAND POST COMPANY LIMITED, SEACON BANGKAE BRANCH

Researcher       :  จิตระวี ทองเถา¹ และ ดร. พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก² 
Department     :  ¹อาจารย์คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม ²ผู้ช่วยคณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                :  jitravee@yahoo.com,  pichmus@yahoo.com

บทคัดย่อ             :  วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาลักษณะประชากรศาสตร์ พฤติกรรมการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทยจํากัด สาขาซีคอนบางแค และความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซี คอนบางแค กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้ใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซีคอนบาง แค จํานวน 400 คน ทําการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลจาก แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สําหรับผลการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบความสัมพันธ์แบบไคสแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัย พบว่าผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 20 – 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี มีสถานภาพโสด มีอาชีพทํางานบริษัทเอกชน และมีระดับรายได้ต่อเดือน 30,000 บาทขึ้นไป พฤติกรรมของ ผู้ใช้บริการคือ การเลือกใช้บริการรับ-ส่งพัสดุในประเทศและต่างประเทศ โดยใช้บริการเดือนละครั้ง ช่วงเวลา ที่ใช้บริการเวลา 12.01 – 16.00 น. และค่าใช้จ่ายในการใช้บริการต่อครั้ง ต่ํากว่า 50 บาท นอกจากนี้ ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัทไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขาซีคอนบางแค โดยรวมอยู่ใน ระดับมาก ความพึงพอใจมากที่สุด คือด้านราคาค่าบริการ รองลงมาคือด้านกระบวนการการให้บริการ และ มีความพึงพอในน้อยที่สุด คือด้านลักษณะกายภาพ ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ต่อเดือน และพฤติกรรมในการใช้บริการที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด สาขา ซีคอนบางแค มีความสัมพันธ์กับ ความพึงพอใจในการใช้บริการ ด้านคุณภาพการให้บริการ ด้านราคาค่าบริการ ด้านบุคลากรที่ให้บริการ ด้าน กระบวนการให้บริการ

คำสำคัญ             :  พฤติกรรม, ความพึงพอใจ, บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด

Abstract            :  This research aims to study the demographic, customers’ behavior, and customers’ satisfaction at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch. The samples used for this study are 400 samples from people who servicing at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch. This research was purposive sampling. Questionnaireswere used to collect data. The data was analyzed as frequency, percentage, mean, and standard deviation. For hypothesis testing was used chi-square. The results of the study showed that most customers are female, aged between 20-30 years old, hold bachelor’s degree, single, worked in private companies, and earned more than 30,000 baht. Customers’ behavior is the choice of courier services for domestic or oversea. They send 1 time per month. The time period is 12:01-4:00 pm. The expense per time is below 50 Baht. In addition, customers’ satisfaction at Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch overall was high level. The most satisfaction was price. Secondly, it was process. The lowest satisfaction was physical evidence.
The hypothesis testing revealed that demographic: gender, age, level of education, occupation and customers’ behavior of used Thailand Post Company Limited, Seacon Bangkae branch related to satisfaction: service quality, price, personal, process and physical evidence.

Keywords         :  Behavior, Satisfaction, Thailand Post Company Limited

Download PDF: พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค


Proceeding       :  การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 วันที่ 25 พฤษภาคม 2560 มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต APHEIT Conference 2017                               

Link to Proceeding:    http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016


Bibliography    :  จิตระวี ทองเถา และ พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก. (2560). พฤติกรรมและความพึงพอใจในการใช้บริการบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาซีคอนบางแค. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2560 (หน้า 200-209). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต. 


Quick View

พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร (2560)

 

ชื่อบทความ     :  พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร : Behavior of Playing Board Games and
Component of Effective Factors for Playing games of Teenagers in the Bangkok

เจ้าของผลงาน       :  วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา

หน่วยงาน               :  ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยสยาม

E-mail                   :  varaporn.lim@siam.edu

บทคัดย่อ                : วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเล่นเกมและองค์ประกอบของปัจจัยในการเล่นของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยเก็บแบบสอบถามกับวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 13-23 ปี ที่พักอาศัยอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ชุด สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ประกอบด้วย การหาค่าเปอร์เซ็นต์ (Percentage) การหาค่าเฉลี่ย (Mean) และการหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และใช้การวิเคราะห์ปัจจัย (Factor Analysis) ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่า 1) พฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน พบว่า เล่นเกมกระดานน้อยกว่า 1 ปี เล่นเกมเฉลี่ยต่อสัปดาห์จำนวน 1 – 3 ครั้ง เล่นเกมกระดานในแต่ละวันน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1 ชั่วโมง เล่นเกมกระดานช่วงเวลา 16.01 – 20.00 น. เล่นเกมกระดานที่บ้านหรือหอพัก มีค่าใช่จ่ายในการเล่นเกมกระดานต่อสัปดาห์ น้อยกว่า 50 บาท เล่นเกมกระดานกับเพื่อน ชอบเล่นเกมกระดานประเภทมะ-นอ-พะ-ลิ เกมเศรษฐี เล่นเกมกระดานเพื่อความบันเทิง ความสนุกสนานเพลิดเพลินและผ่อนคลายความตึงเครียด 2) ผลกระทบต่อพฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน ได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการเงิน ด้านการศึกษาและสติปัญญา ด้านความสัมพันธ์ในครอบครัวและกลุ่มเพื่อน และ ด้านอารมณ์  มีผลกระทบในภาพรวมระดับปานกลาง 3) องค์ประกอบของปัจจัยด้านผลกระทบจากการเล่นเกมของวัยรุ่นประกอบไปด้วย 4 องค์ประกอบดังนี้ ปัจจัยด้านการเงินและความสัมพันธ์ในครอบครัวรวมทั้งกลุ่มเพื่อน ปัจจัยด้านการศึกษาและสติปัญญา ปัจจัยด้านสุขภาพร่างกาย และ ปัจจัยด้านอารมณ์และความรู้สึก

คำสำคัญ                : พฤติกรรมการเล่นเกมกระดาน, องค์ประกอบปัจจัยด้านผลกระทบ, การเล่นเกมของวัยรุ่น

Abstract              :  The survey research focused on the behavior of board games and components of effective factors for teenagers of game playing in Bangkok area. The data was collected from 400 samples of 13-15 years-old teenagers totally. The research result indicated that most of the samples play a board game for entertainment, enjoyableness and relaxation. The overall impacts of board games playing are at medium level, in term of health; finance; education and intelligence, relationship of family and friends. Emotional impact can divide into two dimensions as followed: Positively, the educational and intelligent factors are that playing board games supports brain development; the creative, thinking and decision-making ability and the learning concentration. For the emotional factors are that the players are released from tension; cheerful; emotion controlling and relationship development. Negatively, the game players suffered from physical health likes back pains and other illness. Economic effect was over expense. Finally, it also affected to worse relation in family and friends.

Keywords           : Behaviors of playing board games, component of effective factors, playing games of teenagers


Publication        : วารสารวิจัยสังคม ปีที่ 40 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม 2560  Journal of Social Research)  Vol.40 No.2  Jul-Dec 2017

Link to Publication:   https://www.tci-thaijo.org/index.php/socialresearchjournal/article/view/90922

Bibliography    :  วราภรณ์ ลิ้มเปรมวัฒนา และ กันตภณ ธรรมวัฒนา. (2560). พฤติกรรมในการเล่นเกมกระดาน และองค์ประกอบของปัจจัยทางด้านผลกระทบ จากการเล่นเกมของวัยรุ่นในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยสังคม, 40(2), 107-132.


Quick View

รายวิชา 135-305: การจัดการการส่งออกและนำเข้า

Title:  รายวิชา 135-305: การจัดการการส่งออกและนำเข้า 

อาจารย์ผู้สอน:   อาจารย์ อรนุช อินทวงศ์


[dflip id="7795"][/dflip]

Bibliography :   อรนุช อินทวงศ์. (2564). การจัดการการส่งออกและนำเข้า (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.


 

Quick View
วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์-ปีที่9-ฉบับที่2-กค-ธค-2557

รูปแบบการบริการที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา วิเคราะห์ และค้นหารูปแบบการบริการที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลเอกชน ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560 โดยใช้เทคนิค Ethnographic Delphi Future Research กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดและการบอกต่อของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหาร โรงพยาบาลเอกชน ซึ่งเป็นระดับผู้บริหาร จำนวน 3 คน 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการพยาบาล ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่าย การพยาบาล จำนวน 5 คน 3) ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารธุรการ ซึ่งเป็นหัวหน้าฝ่ายธุรการ จำนวน 4 คน 4) ผู้เชี่ยวชาญ ด้านปฏิบัติการพยาบาล ซึ่งเป็นพยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 5 คน และ 5) ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา พยาบาล ซึ่งเป็นอาจารย์พยาบาลที่สอนระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 3 คน รวมทั้งหมด 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย รอบที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์ ส่วนรอบที่ 2 และ 3 เป็นแบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล

ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริการที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ปี พ.ศ.2560 ประกอบ ด้วย 4 หมวด ดังนี้

1. การบริการของแพทย์และนางพยาบาล ประกอบด้วย 4 ด้านย่อย ได้แก่ 1) การจัดการทั่วไป 2) การจัดการ ทรัพยากรมนุษย์ 3) การจัดการความรู้ และ 4) การจัดการงบประมาณ

2. การบริการวินิจฉัยโรค ประกอบด้วย 2 ด้านย่อย ได้แก่ 1) รูปแบบการบริการวินิจฉัยโรค และ 2) คุณภาพ การบริการและการพัฒนาคุณภาพการให้บริการ

3. การบริการของพนักงานต้อนรับ ประกอบด้วย 2 ด้านย่อย ได้แก่ 1) สมรรถนะทั่วไป และ 2) สมรรถนะเฉพาะ ตำแหน่งผู้นำพนักงานต้อนรับและผู้ปฏิบัติงานต้อนรับ

4. การบริการของพนักงานรับชำระเงิน ประกอบด้วย 2 ด้านย่อย ได้แก่ 1) สมรรถนะทั่วไป และ 2) สมรรถนะ เฉพาะตำแหน่งผู้นำพนักงานรับชำระเงินและผู้ปฏิบัติงานชำระเงิน

คำสำคัญ : การบริการที่เป็นเลิศ, คุณภาพการบริการ, โรงพยาบาลเอกชน

ABSTRACT

The purpose of this research was to study find and analyze model of an excellent service of private hospitals in Thailand at 2017. An Ethnographic Delphi Future Research (EDFR) technique was applied. Twenty experts including 3 private hospital administrators, 5 members from nursing organizations, 4 Staff from administration, 5 operation nursing and 3 nursing instructors were participated in this study. The study instruments were: 1) an interview guide for asking the experts to describe the excellent nursing service department, and 2) a questionnaire developed from the interview contents to ask a prior panel of experts for confirming the previous opinion. Study data were analyzed by using median and inter-quartile range to summarize the characteristics of excellent nursing service department.

The results revealed that the excellent service of private hospitals was classified into 4 categories:

1. Physician and nursing service, consisting of 4 subcategories: 1) General management 2) Human resources management 3) Applying knowledge management, and 4) Budgeting management.

2. Diagnostic service, consisting of 2 subcategories: 1) A variety of diagnostic models and 2) Effective quality of diagnostic and continuous of quality improvement.

3. Receptionist staff service consisting of 2 subcategories: 1) Basic competency and 2) Specific competency of receptionist staff.

4. Cashier staff service consisting of 2 subcategories: 1) Basic competency and 2) Specific competency of cashier staff.

Keywords :  Excellent service, service quality, private hospitals


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). รูปแบบการบริการที่เป็นเลิศของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์บูรพาปริทัศน์, 9(2), 54-67.

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-Silpakorn-University-Journal-Thai- Vol34-No3 Sep-Dec-2014

รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน (2) เพื่อค้นหารูปแบบความสัมพันธ์ปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม (Questionnaire) ระยะการทำวิจัยตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 – เมษายน พ.ศ. 2557 กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยนอกที่ใช้บริการในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน จำนวน 880 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) สถิติที่ทดสอบสมมติฐานประกอบด้วยสถิติวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และสถิติวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลการวิจัยพบว่า (1) รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชนประกอบด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ และปัจจัยการต้อนรับของแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน โดยปัจจัยการบริการสุขภาพที่มีผลมากที่สุด คือ ปัจจัยการต้อนรับของแผนก อายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน รองลงมา ได้แก่ ปัจจัยการบริการทางการแพทย์ ตามลำดับ (2) ปัจจัยความพึงพอใจของผู้ป่วย ในแผนกอายุรกรรมกลุ่มโรงพยาบาลเอกชนในด้านการกลับมาใช้บริการซ้ำมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการแนะนำบอกต่อลูกค้ารายอื่น

KEYWORDS: การบริการสุขภาพ, ความพึงพอใจ, แผนกอายุรกรรม


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2557). รูปแบบการบริการสุขภาพที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ป่วยในแผนกอายุรกรรมโรงพยาบาลเอกชน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับภาษาไทย สาขาสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปะ, 34(3), 151-170.

 By Rungroje Songsraboon

Quick View

รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย

 

Title              :  รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย: THE STRUCTURAL EQUATION MODEL OF CAUSAL FACTORS INFLUENCING PERFORMANCE OF FIVE STAR HOTELS IN THAILAND

Researcher       :  ดร. พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก Dr. Pichet Musikapodok
Department      :  Faculty of Business, Siam University, Bangkok, Thailand

E-mail                 :  pichmus@yahoo.com

Abstract            :  วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาว ในประเทศไทย และศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านคุณภาพบริการโดยรวม การมุ่งเน้นตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เจ้าหน้าที่บริหารโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย จำนวน 280 ตัวอย่าง การศึกษาครั้งนี้ใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของไลเคิร์ท จำนวน 64 ข้อ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนสถิติที่ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล (Path Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) โดยรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตลอดจนมีความสามารถในการพยากรณ์ได้ระดับดีและเป็นที่ยอมรับคิดเป็นร้อยละ 63.2 และความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุพบว่า ปัจจัยคุณภาพบริการโดยรวม การมุ่งเน้นตลาด และนวัตกรรมทางการตลาดมีความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Key words         :  รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุการดำเนินงานโรงแรม 5 ดาว ในประเทศไทย


Publication        : วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ ปีที่ 5 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2559

                               Journal of Business Administration The Association of Private Higher Education Institutions of Thailand  Vol.5 No.2 Jul-Dec 2016

Link to Publication:    http://www.vu.ac.th/apheitvu/journal_v5n2.html

Download PDF  : รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย


Bibliography     :  พิเชษฐ์ มุสิกะโปดก. (2559). รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินงานของโรงแรม 5 ดาวในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยฯ,  5(2), 134-145. 


Quick View
วารสารกระแสวัฒนธรรม-มหาวิทยาลัยสยาม-ปีที่14-ฉบับที่26-มค-มิย2556

วิถีชีวิตนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร

บทความวิจัย

[mfn]สมพร ปานยินดี. (2556). วิถีชีวิตนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร. กระแสวัฒนธรรม, 14(26), 3-29.[/mfn]   วิถีชีวิตนักดนตรีตาบอดในสังคมไทย : กรณีศึกษา กรุงเทพมหานคร
สมพร ปานยินดี


 

Quick View
วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร-VOL 38 NO 1 (2561)

สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีวิทยาแบบการสร้างทฤษฎีฐานรากซึ่งเป็นวิธีวิทยาหนึ่งของกระบวนทัศน์ทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยใช้แนวคำถามการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และวิธีการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผู้ให้ข้อมูลหลักจากความคิดเห็นของ 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มผู้ประกอบการ 2) กลุ่มผู้บริหารในสถานประกอบการ และ 3) กลุ่มศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาและทำงานแล้ว รวม 15 คน ผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับความหมายของสมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป ประกอบด้วย 1) มีความรู้ตรงกับงานที่ทำ 2) มีทักษะในการสังเกต 3) มีการวางแผนธุรกิจได้ดี 4) สามารถใช้โปรแกรมสำเร็จรูปได้ดี 5) มีการสื่อสารที่ดี 6) มีความซื่อสัตย์และมีคุณธรรม

คำสำคัญ: สมรรถนะ, บัณฑิต, คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป


Abstract

The research aimed to study essential professional competencies required of graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration. This study was a qualitative research and used the grounded theory methodology. This methodology was a part of an alternative paradigm. Data were collected, using in-depth interview with semi-structured questions in the interview and non-participant observation. 15 key informants were from 3 groups: 1) entrepreneur 2) company’s administrators, and 3) graduated alumni. Data analysis based on in-depth interview indicated that professional competencies which were required of the graduates from the Department of General Management, Faculty of Business Administration, consisted of 1) knowledge directly relevant to the job, 2) observation skills, 3) efficient business planning, 4) ability to use the software program, 5) effective communication, and 6) honesty and ethics.

KEYWORDS: Essential competencies, Graduates, Department of General Management, Faculty of Business Administration


งานที่อ้างถึง

รุ่งโรจน์ สงสระบุญ. (2561). สมรรถนะที่จำเป็นต่อการประกอบวิชาชีพของบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการจัดการทั่วไป. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 38(6), 136-154.

Essential professional competencies required of graduates from the department of general management, Faculty of Business Administration

Quick View