การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ
Title : การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ : Analysis and Design Techniques of Charge Pump Circuits
Researcher : ปิติกันต์ รักราชการ
Department : ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 38 ถนนเพชรเกษม แขวงบางหว้า เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160 เบอร์โทรศัพท์ 02-4570068 ต่อ 140
E-mail : pitikan@siam.edu
บทคัดย่อ : ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านอิเล็กทรอนิกส์และการสื่อสารในปัจจุบัน ทำให้เครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันนี้มีขนาดเล็กลงและต้องประหยัดพลังงานมากขึ้น จึงเป็นเหตุผลให้ต้องมีการพัฒนาแหล่งจ่ายพลังงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น วงจรอัดประจุเป็นวงจรหนึ่งที่ถูกนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง เนื่องจากวงจรดังกล่าวสามารถเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้แหล่งจ่ายแรงดันระดับต่ำได้ ทั้งยังมีการสูญเสียต่ำ บทความนี้ได้กล่าวถึง หลักการทำงานเบื้องต้นของวงจรอัดประจุ คุณสมบัติและพฤติกรรมของวงจร พารามิเตอร์และแบบจำลอง เทคนิคและกลยุทธ์ในการออกแบบวงจร และการหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม วงจรแบบดิกสัน รวมถึงแนะนำเทคนิคในการออกแบบวงจรอัดประจุที่มีใช้กันอยู่ในปัจจุบัน
คําสําคัญ : การประหยัดพลังงาน แหล่งจ่ายพลังงาน วงจรอัดประจุ
Abstract : The technological advances in electronics and communication today. The consumer electronics today required smaller and more energy saving. These are the reason for the need of development of power supply to even higher levels of efficiency. Charge pump is a circuit that is used widely. Since such circuits can be increased by using high voltage as low voltage source and lossless. This article has discussed on basic operation of the pump charge circuit, the properties and behavior of the circuit, parameters and models, techniques and strategies in the design cycle and searching the appropriate parameters. Diskson Circuits and tricks of the design is applied in the present.
Keywords : Energy savings, Power supply, Charge Pump
Download PDF: การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ
Publication : วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ปีที่ 5 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2559 APHEIT JOURNAL SCIENCE TECHNOLOGY Vol.5 No.1 Jan-Jun 2016
Link to Publication: http://apheit.bu.ac.th/index.php/read-science?id=156
Bibliography : ปิติกันต์ รักราชการ. (2559). การวิเคราะห์และเทคนิคการออกแบบวงจรอัดประจุ. วารสารวิชาการ ฉบับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 5(1), 112-125.
การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ
Title : การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ: The study of learning achievement in physics on sound and hearing of the first year nursing students, Siam University by audio-visual material of instruction method and regular classroom method.
Researcher : เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา
Department : ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
E-mail : aue-aree.kan@siam.edu
บทคัดย่อ : การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสยาม ก่อนเรียนและหลังเรียนจากการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุและจากการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอยั่งที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะพยาบาลศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาฟิสิกส์ทางการพยาบาล ในปีการศึกษา 2558 จํานวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบทดสอบก่อนเรียน-หลังเรียน เรื่องเสียงและการได้ยิน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการแจงแจงแบบที ผลการศึกษาพบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (2) ผลสัมฤทธิ์หลังเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่สอนแบบปกติสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุสูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
คำสำคัญ : การสอนโดยใชโสตทัศนวัสดุการสอนแบบปกติผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Abstract : The purposes of this research were to study the pre and post physics learning achievement, sound and hearing, of first year nursing students who were taught by audio-visual material of instruction method and regular classroom method. The samples were 102 of the first year nursing students who enrolled Physics for nurses in 2015 academic year. Instrument using for the research was pretest-posttest about sound and hearing. The statistics using for analysis were arithmetic mean, standard deviation, and t-test. The results of the study show that (1) post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by audio-visual material of instruction method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. (2) Post physics learning achievement, sound and hearing, of students who were taught by regular classroom method was higher than pre learning achievement at the 0.01 level of significance. And (3) physics learning achievement, sound and hearing, of audio-visual material of instruction method was higher than learning achievement of regular classroom method at the 0.01 level of significance.
Keywords : Audio-visual material of instruction method, Regular classroom method, Learning achievement
Proceeding : การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 วันที่ 26 พฤษภาคม 2559 มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ APHEIT Conference 2016
Link to Proceeding: http://apheitconference.siam.edu/index.php/en/proceedings-2012-2016
Bibliography : เอื้ออารี กัลวทานนท์ และ สรัญญา ชมฉัยยา. (2559). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาฟิสิกส์ เรื่องเสียงและการได้ยิน ของนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยสยาม ที่ได้รับการสอนโดยใช้โสตทัศนวัสดุ กับการสอนแบบปกติ. ใน รายงานการประชุม การประชุมวิชาการระดับชาติ สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ประจำปี 2559 (หน้า 116-117). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.